มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (อังกฤษ: National Research University) หรือ โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ได้ก่อตั้งขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 โดยจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษา การวิจัยของมหาวิทยาลัยไทยและเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยเมื่อเทียบกับระดับโลก โดยมหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เงินสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นเวลา 3 ปี จำนวนเงิน 9,450 ล้านบาทเพื่อเป็นทุนในการวิจัยและพัฒนาอาจารย์และบุคคลากรในมหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือก [1]
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศรายชื่อ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จำนวน 9 แห่ง จาก มหาวิทยาลัย 15 แห่ง ที่ได้รับการเสนอชื่อ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี [2]
รายชื่อมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
แก้ลำดับ | ตรา | รายชื่อ | อักษรย่อ | วันที่สถาปนา | สี | สถานที่ตั้ง (วิทยาเขตหลัก) |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | จฬ./CU | 26 มีนาคม พ.ศ. 2459[3] | กรุงเทพมหานคร | ||
2 | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | มธ./TU | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477[4] | กรุงเทพมหานคร | ||
3 | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | มก./KU | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486[5] | กรุงเทพมหานคร | ||
4 | มหาวิทยาลัยมหิดล | มม./MU | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486[6] | จังหวัดนครปฐม | ||
5 | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | มช./CMU | 21 มกราคม พ.ศ. 2507[7] | จังหวัดเชียงใหม่ | ||
6 | ไฟล์:Khon Kaen University Logo.svg | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | มข./KKU | 25 มกราคม พ.ศ. 2509[8] | จังหวัดขอนแก่น | |
7 | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | ม.อ./PSU | 12 มีนาคม พ.ศ. 2511[9] | จังหวัดสงขลา | ||
8 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี | มจธ./KMUTT | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 [10] | กรุงเทพมหานคร | ||
9 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี | มทส./SUT | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533[11] | จังหวัดนครราชสีมา |
เกณฑ์ในการคัดเลือก
แก้- กลุ่มที่ 1 ต้องติดลำดับ 1 ใน 500 มหาวิทยาลัยโลก ซึ่งมีมหาวิทยาลัยผ่านเกณฑ์ 7 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- กลุ่มที่ 2 ถ้าหากไม่อยู่เกณฑ์นี้จะต้องเข้าเกณฑ์ 3 ข้อดังต่อไปนี้[12][13]
- มีผลงานวิจัยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาอย่างน้อย 500 เรื่อง
- จากงานวิจัย 500 เรื่องต้องมี 5 สาขาวิชาหลัก และมีความโดดเด่นเฉพาะด้านอย่างน้อย 2 ใน 5 สาขาวิชาดังกล่าว
- อาจารย์ในมหาวิทยาลัยดังกล่าว ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกอย่างน้อย 40 % จากจำนวนคณาจารย์ทั้งหมด
ซึ่งมีมหาวิทยาลัยผ่านเกณฑ์ 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อย่างไรก็ตามโครงการนี้ประสบกับปัญหาเรื่องงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลที่ถูกปรับลดลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากประเทศประสบกับปัญหาน้ำท่วมในปีพ.ศ. 2554[14][15] การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจากเหตุการณ์รัฐประหาร มีแนวโน้มว่ารัฐบาลทหารอาจจะยกเลิกโครงการดังกล่าว และเปลี่ยนมาเป็นโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยโลกแทน [16] [17]
อ้างอิง
แก้- ↑ รายระเอียดโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ[ลิงก์เสีย], สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 15 เมษายน 2557
- ↑ ศธ.เผย9ม.วิจัยแห่งชาติปี53 เก็บถาวร 2016-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คม ชัด ลึก, 15 เมษายน 2557
- ↑ ประกาศ ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโอนไปขึ้นอยู่ในกระทรวงธรรมการ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๖๐ เล่ม ๓๔ หน้า ๒๐
- ↑ จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2566 พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช ๒๔๗๖, ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๔๗๖ เล่ม ๕๐ หน้า ๑๐๐๗
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช 2486 เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2486 เล่ม 228 หน้า 60 ตอนที่ 7
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พุทธศักราช 2486, ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2486 หน้า 212 เล่ม 60 ตอนที่ 7
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๐๗, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๗ หน้า ๒๕ ๒๑ มกราคม ๒๕๐๗
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๐๘, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๘ หน้า ๖๒ ๒๕ มกราคม ๒๕๐๙
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๑๑, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๔ หน้า ๑๒๗ ๑๒ มีนาคม ๒๕๑๑
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2541, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 11ก หน้า 1 6 มีนาคม 2541
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. ๒๕๓๓, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๓๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๙๓ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๓๓
- ↑ https://www.gotoknow.org/posts/293212
- ↑ http://www.moe.go.th/mobile1/viewNews.php?nCatId=news11&moe_mod_news_ID=14279[ลิงก์เสีย]
- ↑ อธิการบดีม.สุรนารี โอด “ช่างดูว้าเหว่” ฟังรัฐทุ่มงบฯ ติด TOP มหาวิทยาลัยโลก, อิศรา, 15 เมษายน 2557
- ↑ "มหา'ลัยวิจัย"ฝันค้างชวดงบฯอีก[ลิงก์เสีย], ไทยโพสต์, 15 เมษายน 2557
- ↑ http://www.dailynews.co.th/education/306293
- ↑ http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000028368[ลิงก์เสีย]