วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผลมาจากการประชุมวิชาการเรื่อง "โครงการบริหารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 และเรื่อง "บัณฑิตศึกษาเชิงสหวิทยาการ" ซึ่งจัดขึ้นโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 12-13 กันยายน พ.ศ. 2536 เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพวิชาที่เปิดสอนอยู่แล้วและผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ เพื่อไปรับใช้ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
College of Management, Mahidol University
ชื่อย่อCMMU
คติพจน์เพื่อเป็นปัญญาแห่งแผ่นดินของการศึกษาด้านการจัดการ
สถาปนา1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 (28 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
คณบดีวิชิตา รักธรรม
ที่อยู่
69 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10400
สี   สีน้ำเงิน-สีส้ม[1]
เว็บไซต์www.cmmu.mahidol.ac.th/cmmu/

ประวัติ

แก้

มูลเหตุในการจัดตั้งวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น มาจากผลการประชุมวิชาการเรื่อง "โครงการบริหารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 และเรื่อง "บัณฑิตศึกษาเชิงสหวิทยาการ" ซึ่งจัดขึ้นโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 12-13 กันยายน พ.ศ. 2536 โดยผลจากการประชุมวิชาการทำให้ได้ผลสรุปว่า สาขาการบริหารจัดการ เป็นสาขาหนึ่งที่มหาวิทยาลัยมหิดลสมควรดำเนินการจัดตั้งให้มีขึ้น เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพวิชาที่เปิดสอนอยู่แล้ว เช่น ให้มีวิชาเลือกทางสาขาการจัดการให้กับนักศึกษาสายการแพทย์และวิทยาศาสตร์เป็นต้น และผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ เพื่อไปรับใช้และช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต

โครงการวิทยาลัยการจัดการประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โอม หุวะนันทน์ เป็นผู้อำนวยการ และเริ่มเปิดดำเนินการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 ในระดับปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ (นานาชาติ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยและทบวงมหาวิทยาลัยให้เปลี่ยนชื่อหลักสูตร และชื่อปริญญาจาก ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ เป็นหลักสูตร การจัดการมหาบัณฑิต นอกจากนี้วิทยาลัยยังได้ขยายสาขาการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มหลักสูตรปริญญาโทการจัดการมหาบัณฑิต (ภาคภาษาไทย) และหลักสูตรการจัดการบัณฑิต (ปริญญาตรี) ที่มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตกาญจนบุรีและมหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตนครสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2552 วิทยาลัยการจัดการได้โอนหลักสูตรการจัดการบัณฑิตซึ่งประกอบด้วย 3 สาขาวิชา คือ สาขาการจัดการทั่วไป สาขาการเป็นผู้ประกอบการและสาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มาให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น (พ.ศ. 2538-2542) ได้ให้แนวนโยบายเมื่อเข้ามาตรวจเยี่ยมและรับฟังบรรยายสรุปการดำเนินงานของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลว่า นอกจากวิทยาลัยการจัดการจะเป็นสถานการศึกษาที่รวบรวมองค์ความรู้ด้านการจัดการทั้งหลายที่เกิดจาการวิจัย การจัดการเรียนการสอน การให้บริการวิชาการแก่สังคม รวมทั้งแนวคิด แนวปฏิบัติด้านการจัดการ เพื่อใช้ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกมาช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติแล้ว องค์ความรู้ด้านการจัดการที่ได้เกิดขึ้นจากสถาบันการศึกษาแห่งนี้นั้น จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยของปวงชนอย่างแท้จริง

รายนามผู้อำนวยการ/คณบดี

แก้

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มีรายนามผู้อำนวยการ/คณบดี ดังนี้

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามผู้อำนวยการ/คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โอม หุวะนันทน์ ตุลาคม พ.ศ. 2539 - สิงหาคม พ.ศ. 2546
2. ศาสตราจารย์ ดร. เลียงชัย ลิ้มล้อมวงศ์ สิงหาคม พ.ศ. 2546 - กันยายน พ.ศ. 2550
3. ศาสตราจารย์ ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช ตุลาคม พ.ศ. 2550 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
4. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. พรชัย มาตังคสมบัติ (รักษาการ) มีนาคม พ.ศ. 2552 - เมษายน พ.ศ. 2552
5. Dr. Hermann Gruenwald พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - มกราคม พ.ศ. 2553
6. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.ประสิทธิ์ วัฒนาภา มกราคม พ.ศ. 2553 - มีนาคม พ.ศ. 2554
7. ศาสตราจารย์ ดร.รัศมีดารา หุ่นสวัสดิ์ 1 เมษายน พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555
8. รองศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ ตันละมัย 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559
9. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ (รักษาการ) 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 31 มกราคม พ.ศ. 2560
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร อาภาศิลป์ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - 31 มกราคม พ.ศ. 2564
11. รองศาสตราจารย์ ดร. วิชิตา รักธรรม 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

หลักสูตร

แก้

วิทยาลัยการจัดการได้ดำเนินการเปิดสอนการจัดการ หลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ

ปริญญาเอก

แก้
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (หลักสูตรนานาชาติ) Ph.D. in Management (International Program)
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ) Ph.D. in Sustainable Leadership (International Program)

ปริญญาตรี - โท เร่งรัด

แก้
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต(การจัดการธุรกิจ) รับนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในชั้นปีที่ 2 เทอม 2 หรือปี 3
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ) และ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (การตลาด) รับนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปริญญาโท

แก้

ประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูง

แก้
  • สาขาการจัดการ

รางวัลของวิทยาลัย

แก้
  1. สีประจำวิทยาลัย, เข้าถึงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

รางวัลที่วิทยาลัยการจัดการได้รับในระดับนานาชาติมีมากมาย

2023 Innovations that Inspire by AACSB

PRME Global Champions (Responsible Business Schools)


แหล่งข้อมูลอื่น

แก้