อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช
อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช (รหัส OR03 (สายสีส้ม), RWS03 (สายสีแดงอ่อน)) เป็นโครงการพัฒนาอาคารศูนย์การแพทย์รวมแห่งใหม่ที่จะใช้ทดแทนอาคารผู้ป่วยนอกเดิมของโรงพยาบาลศิริราช และยังเป็นโครงการสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ซึ่งมีแนวเส้นทางพาดผ่านตัวโรงพยาบาลศิริราชโดยตรง
ศิริราช Siriraj | ||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร | |||||||||||||||||||||||||
พิกัด | 13°45′38″N 100°29′6″E / 13.76056°N 100.48500°E | |||||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | |||||||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. (สายสีแดงอ่อน) ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) (สายสีส้ม) | |||||||||||||||||||||||||
สาย | สายสีแดงอ่อน (โครงการ) สายสีส้ม (กำลังก่อสร้าง) | |||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | ท่ารถไฟ | |||||||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | ||||||||||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน (สายนครวิถี) ใต้ดิน (สายสีส้ม) | |||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | ||||||||||||||||||||||||||
สถานะ | โครงการ (สายสีแดงอ่อน) กำลังก่อสร้าง (สายสีส้ม) | |||||||||||||||||||||||||
รหัสสถานี | RWS03 (สายนครวิถี) OR03 (สายสีส้ม) | |||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | ||||||||||||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | พ.ศ. 2571 (สายสีแดงอ่อน) พ.ศ. 2573 (สายสีส้ม) | |||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | ||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||
|
จุดที่ตั้งสถานีแห่งนี้มีความสำคัญมากในด้านประวัติศาสตร์ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับกรุงธนบุรีในอดีต และในพื้นที่ใกล้เคียงยังมีสถานีรถไฟธนบุรี ซึ่งเคยเป็นต้นทางของทางรถไฟสายใต้ และทางรถไฟสายมรณะ ไทย-พม่า ที่กองทัพญี่ปุ่นสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
ประวัติ
แก้ใน พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2554 ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพักรักษาอาการประชวรที่โรงพยาบาลศิริราช พระองค์ได้ทรงเห็นถึงปัญหาในการจราจรโดยรอบพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช พระองค์จึงทรงรับสั่งให้ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ อธิการบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผู้นำถวายการรักษาและคณะแพทย์ที่ร่วมถวายการรักษาในขณะนั้น รวบรวมปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น และสั่งจัดทำแผนบรรเทาและแก้ไขปัญหาการจราจรฝั่งธนบุรี ตั้งแต่ในพื้นที่โรงพยาบาลฯ นอกพื้นที่โรงพยาบาลฯ ตลอดจนพื้นที่โดยรอบ จนในที่สุดคณะแพทย์ร่วมกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำแผนโครงการแก้ไขปัญหาการจราจรโดยรอบโรงพยาบาลศิริราชในพระราชดำริจำนวน 8 โครงการ คือการก่อสร้างสะพานลอยฟ้า ถนนลอยฟ้า ถนนโลคัลโรดโดยรอบโรงพยาบาลศิริราช การขยายถนนอรุณอัมรินทร์ การเปลี่ยนเส้นทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มจากเส้นทางเดิมให้มาลอดผ่านโรงพยาบาลศิริราช และการร่างเส้นทางแยกช่วงตลิ่งชัน - ธนบุรี-ศิริราช ของโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน เป็นต้น[1]
ต่อมาใน พ.ศ. 2560 โรงพยาบาลศิริราชได้มีแนวคิดที่จะก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกแห่งใหม่เพื่อใช้ทดแทนอาคารผู้ป่วยนอกเดิมที่ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก และเริ่มมีสภาพทรุดโทรมตามเวลา ทางโรงพยาบาลจึงได้ประสานไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อขอให้มีการย้ายตำแหน่งทั้งสองสถานีมาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และพัฒนาโครงการในรูปแบบบูรณาการให้เป็นสถานีแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทยตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงเล็งเห็นให้มีการเชื่อมต่อการรักษาเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยของโรงพยาบาลสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาการเดินทาง และลดความแออัดของผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลได้ โดยกระทรวงคมนาคมมีแผนเห็นชอบ และให้เจ้าของโครงการทั้งสองหน่วยงานคือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ออกแบบการเชื่อมต่อสถานีร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกสูงสุดให้ผู้ป่วยเท่าที่จะเป็นไปได้
ทั้งสามหน่วยงานได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจในการก่อสร้างโครงการร่วมกันเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดย หน่วยงานร่วมของ รฟม. และ รฟท. จะเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างสถานีรถไฟร่วม คือสถานีรถไฟใต้ดิน และสถานีรถไฟระดับดิน รวมถึงก่อสร้างฐานอาคารทั้งหมดตั้งแต่ชั้น B3 ถึงชั้น 2 เมื่อการก่อสร้างในส่วนของรถไฟฟ้าแล้วเสร็จประมาณ 80% แล้ว โรงพยาบาลจะเข้าก่อสร้างอาคารส่วนที่เหลือทั้งหมดจนแล้วเสร็จทั้งโครงการ ทั้งนี้โรงพยาบาลคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ทุกส่วนภายใน พ.ศ. 2566 พร้อม ๆ กับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง[2] ต่อมาในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการ รฟท. ได้อนุมัติให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รับสิทธิ์เช่าช่วงพื้นที่สถานีรถไฟธนบุรีเพื่อก่อสร้างอาคารดังกล่าว โดยให้สิทธิ์การเช่าช่วง 30 ปี และคิดอัตราค่าเช่าพื้นที่เป็นตารางเมตร ปรับเพิ่ม 5% ทุกปี ตามระเบียบการเช่าที่ราชพัสดุของการรถไฟแห่งประเทศไทย[3]
ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการดำเนินโครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช โดยใช้งบประมาณ 3,851.27 ล้านบาท แบ่งเป็นงบลงทุนค่าก่อสร้าง 2,338.27 ล้านบาท ครุภัณฑ์การแพทย์ 1,400 ล้านบาท และงบบุคลากร 113.01 ล้านบาท[4]
ที่ตั้ง
แก้อยู่ในพื้นที่ของโรงพยาบาลศิริราช บริเวณสถานีรถไฟธนบุรีเดิม ติดกับอาคารโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ในพื้นที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
แผนผังอาคาร
แก้9-15 หอผู้ป่วยใน |
หอผู้ป่วยใน, จุดบริการผู้ป่วย | |
4-8 ศูนย์การแพทย์รวม |
ศูนย์การแพทย์รวม, จุดบริการผู้ป่วย | |
3 จุดคัดกรองผู้ป่วย |
จุดคัดกรองผู้ป่วยนอก, จุดให้บริการรวมโรงพยาบาล, กองอำนวยการ ลิฟต์ไปยังสถานีสายสีแดงอ่อน และสายสีส้ม | |
2 ชั้นลอย |
ชั้นห้องเครื่อง และสำนักงานสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ทางเดินเชื่อมโรงพยาบาลศิริราช ฝั่งถนนอรุณอมรินทร์ และโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ลิฟต์ไปยังสถานีสายสีแดงอ่อน และสายสีส้ม | |
G สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน |
ชานชาลา 1 | สายสีแดงอ่อน มุ่งหน้า สถานีตลิ่งชัน |
ทางลงชานชาลาสายสีส้ม | ||
ชานชาลา 2 | สายสีแดงอ่อน มุ่งหน้า สถานีตลิ่งชัน | |
โถงต้อนรับ | ทางขึ้นจุดคัดกรองผู้ป่วย, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร ทางเดินเชื่อมท่าวังหลัง (ศิริราช) | |
B1 ลานจอดรถ |
ลานจอดรถ | |
B2 ลานจอดรถ |
ลานจอดรถ | |
B3 สถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางขึ้นไปจุดคัดกรองผู้ป่วย, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร ทางขึ้นชานชาลาสายสีแดงอ่อน |
B4 ชานชาลา |
ชานชาลา 2 | สายสีส้ม มุ่งหน้า สถานีแยกร่มเกล้า |
B5 ห้องเครื่อง |
ชั้น Plant | ชั้นห้องเครื่อง |
B6 ชานชาลา |
ชานชาลา 1 | สายสีส้ม มุ่งหน้า สถานีบางขุนนนท์ |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
แก้จุดเชื่อมต่อการเดินทาง
แก้- เรือด่วนเจ้าพระยา เชื่อมต่อที่ ท่ารถไฟ
อ้างอิง
แก้- ↑ พระเมตตา ‘ในหลวง’ รัชกาลที่ 9 ศิริราชมิรู้ลืม
- ↑ “ศิริราช” ทุ่ม 2 พันล้าน ผุดตึกผู้ป่วยนอกสูง 15 ชั้นบนสถานีรถไฟฟ้าสีแดง-สีส้ม สร้าง 3 ปีเสร็จ
- ↑ บอร์ด รฟท.ไฟเขียวตั้งรองผู้ว่าฯ-เตรียมเวนคืน 1.8 หมื่นไร่สร้างทางคู่สายใหม่ “บ้านไผ่-นครพนม”
- ↑ "อนุมัติ 3.85 พันล้าน เชื่อมสถานี รพ.ศิริราช-รถไฟฟ้าสีแดงอ่อน-ส้ม". Thai PBS.