สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นส่วนงานระดับคณะของมหาวิทยาลัย ทำหน้าที่วิจัย พัฒนาสาธารณสุขมูลฐานของประเทศไทยและอาเซียน อีกทั้งยังเป็นสถาบันที่ให้การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาอีกด้วย

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
ASEAN Institute for Health Development, Mahidol University
สถาบันหลักมหาวิทยาลัยมหิดล
สถาปนา23 กรกฎาคม พ.ศ. 2526; 41 ปีก่อน (2526-07-23)
ผู้อำนวยการภูดิท เตชาติวัฒน์
ชื่อเดิมศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน
ที่อยู่999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
เว็บไซต์www.aihd.mahidol.ac.th

ประวัติ

แก้

สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน เดิมคือ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน ก่อตั้งและเริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2525 เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธาณสุขมูลฐานแห่งอาเซียน โดยความร่วมมือกันของมหาวิทยาลัยมหิดล กับกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนการก่อตั้งโดยองค์การ JICA ประเทศญี่ปุ่น [1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้เริ่มดำเนินการหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติ สาขาการบริหารงานพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานเป็นหลักสูตรแรกของโลก ซึ่งมีบทบาทต่อการถ่ายทอดประสบการณ์การพัฒนาโดยกลวิธีการสาธารณสุขมูลฐานของประเทศไทยให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วทั่วโลก และวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ได้ยกฐานะเป็น สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน ดำเนินงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง [2]

และเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียนได้ปรับเปลี่ยน ชื่อเป็น "สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน" ตามประกาศของ สภามหาวิทยาลัยมหิดล [3]


การศึกษา

แก้

ระดับบัณฑิตศึกษา [4]

  • การจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการเสพติด) (ศศ.ม.(วิทยาการเสพติด))
  • การบริหารงานสาธารณสุขระดับสูง (Mini Master of Management in Health)


อ้างอิง

แก้
  1. "ความเป็นมาเกี่ยวกับสถาบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-12. สืบค้นเมื่อ 2016-11-25.
  2. ราชกิจจานุเบกษา , พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาการธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2531 , 11 ตุลาคม พ.ศ. 2531
  3. เกี่ยวกับสถาบัน
  4. "หลักสูตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-12. สืบค้นเมื่อ 2016-11-25.


แหล่งข้อมูลอื่น

แก้