จิระนันท์ พิตรปรีชา

จิระนันท์ ประเสริฐกุล หรือเป็นที่รู้จักในชื่อสกุลเดิมว่า จิระนันท์ พิตรปรีชา (เกิด 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) เป็นอดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา ปัจจุบันเป็นนักเขียน และผู้จัดทำบทบรรยายภาพยนตร์ ได้รับรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2532 จากกวีนิพนธ์เรื่อง ใบไม้ที่หายไป

จิระนันท์ พิตรปรีชา
จิระนันท์ พิตรปรีชา ในพิธีเปิดกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 38 พ.ศ. 2552
เกิดจิระนันท์ พิตรปรีชา
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 (69 ปี)
จังหวัดตรัง ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยคอร์แนล
อาชีพนักเขียน, ผู้จัดทำบทบรรยายภาพยนตร์
มีชื่อเสียงจากอดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
คู่สมรสเสกสรรค์ ประเสริฐกุล
บุตร2 คน

ประวัติ

แก้

จิระนันท์ มีชื่อเล่นว่า "จี๊ด" เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ที่ตำบลนาบินหลา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง มีความสนใจในการประพันธ์ตั้งแต่เด็ก จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง และจบการศึกษาระดับมัธยมตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นศึกษาต่อที่คณะวิทยาศาสตร์ แผนกเตรียมเภสัช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเลือกให้เป็นดาวจุฬา พ.ศ. 2515

การเคลื่อนไหวทางการเมือง

แก้

ใน พ.ศ. 2516 เป็นหนึ่งในผู้นำนักศึกษาที่ร่วมโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยของศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย (ศสป.) ซึ่งรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ ตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยการดูแลของทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐมนตรี ทั้งนี้ได้รับการชักชวนจากวิรัติ ศักดิ์จิรภาพงศ์ ผู้นำนักศึกษาที่เป็นนิสิตจุฬาฯ รุ่นพี่ กิจกรรมแรก คือ การจัดอบรมอาสาสมัครส่งเสริมประชาธิปไตยที่จิตตภาวันวิทยาลัย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2517 หลังจากนั้นเธอได้มีบทบาทในการแต่งคำประพันธ์เพื่ออ่านบนเวทีการชุมนุมเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานและกลุ่มสตรีต่างๆ ในยุคที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน และต้องหนีเข้าป่าไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหลังจากเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จิระนันท์มีชื่อจัดตั้งในป่าว่า สหายใบไม้ โดยมีที่มาจากชื่อเล่น (พยาธิใบไม้ หรือ พยาธิตัวจี๊ด)

หลังจากออกจากป่าในปี พ.ศ. 2523 จิระนันท์ได้ไปศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา โดยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยม ปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ และปริญญาเอก สาขาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชีวิตครอบครัว

แก้

ชีวิตครอบครัว สมรสกับ รองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล หรือ สหายไท อดีตผู้นำนักศึกษาที่ร่วมต่อสู้มาด้วยกันตั้งแต่อยู่ในป่า ทั้งคู่มีบุตรชาย 2 คน ชื่อ แทนไท ประเสริฐกุล และ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล[1]

นอกจากนี้เรื่องราวของเธอกับสามีได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง 14 ตุลา สงครามประชาชน เมื่อปี พ.ศ. 2544 และเรื่อง ฟ้าใสใจชื่นบาน พ.ศ. 2552

ผลงานหนังสือ

แก้
  • ใบไม้ที่หายไป, สำนักพิมพ์อ่านไทย, เมษายน พ.ศ. 2532 (รางวัลซีไรต์)

หนังสือเกี่ยวกับการแปลบทบรรยายภาพยนตร์

แก้

มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการจัดทำบทแปล และการใช้ภาษาอังกฤษ

  • ชะโงกดูเงา, แพรวเอนเตอร์เทน, พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม พ.ศ. 2541

ชุดหม้อแกงลิง

  • หม้อแกงลิง “คำให้การของคนให้คำ”, แพรวเอนเตอร์เทน, กันยายน พ.ศ. 2541
  • หม้อแกงลิง (2) “จารึกขอบจอ”, เอ.อาร์.บิซิเนส เพรส, พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
  • หม้อแกงลิง (3) “รำพึงถึงบทหนัง” , เอ.อาร์.บิซิเนส เพรส, ธันวาคม พ.ศ. 2546

ผลงานอื่นๆ

แก้

ได้รับเชิญมาเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันขับเสภา ในรายการคุณพระช่วย ช่วงศิลปินเสภาวายุภักดิ์[2]

ผลงานภาพยนตร์

บ้านฉัน..ตลกไว้ก่อน (พ่อสอนไว้) รับบทเป็นแม่หมอน้ำแข็ง

อ้างอิง

แก้