เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ด้านเรื่องสั้น สารคดี นวนิยาย กวีนิพนธ์[1] อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 นักเขียน "รางวัลศรีบูรพา" ในปี พ.ศ. 2546 เคยเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 โดยมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายไท" ในช่วง พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2523 เสกสรรค์มีความเห็นขัดแย้งหลายประการกับกรรมการกลางของพรรคฯ และต่อมาได้แยกตัวออกจากพรรค ฯ และได้รับนิรโทษกรรมในเวลาต่อมาจากคำสั่งที่ 66/2523 ในขณะที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังได้รับรางวัล "ศิษย์เก่าดีเด่นของคณะรัฐศาสตร์" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล | |
---|---|
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ในปี พ.ศ. 2552 | |
เกิด | 28 มีนาคม พ.ศ. 2492 จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
มีชื่อเสียงจาก | อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 |
คู่สมรส | จิระนันท์ พิตรปรีชา |
บุตร | 2 คน |
ประวัติ
แก้เสกสรรค์ ประเสริฐกุล หรือ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล สมรสกับจิระนันท์ พิตรปรีชา (อดีต ภรรยา)[2] ปัจจุบันทั้ง 2 ยังเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ความรักของคนทั้งสองเกิดขึ้นระหว่างการปราศรัยทางการเมืองในช่วง ตุลาคม มีบุตรชาย 2 คนคือ แทนไท ประเสริฐกุล(บุตรชายคนแรก) และ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล(บุตรคนสุดท้อง)
เสกสรรค์ จบมัธยมปลายจากโรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ. 2510 แล้วสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทุนอเมริกันฟีลด์เซอร์วิสไปศึกษาในโรงเรียนมัธยมและอยู่ร่วมกับครอบครัวอเมริกัน โดยหลังจากนั้น 1 ปี ได้เดินทางกลับมาประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2511 และศึกษาต่อที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รุ่นเดียวกับ สุรินทร์ พิศสุวรรณ) และเป็นผู้นำนักศึกษาในการเรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 แต่ก็ได้รับการศึกษาจนจบในระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2517 แล้วได้ทำการศึกษาต่อจนจบในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ในปี พ.ศ. 2526[3] หลังจากนั้นเสกสรรค์ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยเพื่อทำงานวิจัยต่อในการศึกษาระดับปริญญาเอก และจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2530[4]
การทำงานและผลงาน
แก้- ผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516
- นักรบปฏิวัติ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2523
- อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณบดีคณะรัฐศาสตร์ พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538
- งานเขียนบทความ เรื่องสั้น สารคดี
- รางวัลวิจัยปรีดี พนมยงค์ คนแรก จากมูลนิธิ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545[5]
- รางวัลศรีบูรพา (พ.ศ. 2546) ร่วมกับ ธีรยุทธ บุญมี
- บทภาพยนตร์ 14 ตุลา สงครามประชาชน พ.ศ. 2544[6] กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล, โดยอิงเนื้อเรื่องจากหนังสือคนล่าจันทร์ ซึ่งเขียนร่วมกับคนอื่น
การทำงานในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
แก้ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาความอยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ [7]
การเคลื่อนไหวทางการเมือง
แก้ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ขณะนั้นเป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 เป็นหนึ่งในแกนนำของนักศึกษาที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญ และขอให้รัฐบาลลาออก โดยในการเดินขบวน เสกสรรค์รับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมฝูงชน เมื่อแกนนำของผู้ชุมนุมได้เข้าเจรจากับฝ่ายรัฐบาล และบางส่วนได้เข้าเฝ้า ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เสกสรรค์เป็นผู้ควบคุมฝูงชนรอคำตอบอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า จนกระทั่งถึงเวลาค่ำ ซึ่งนับว่าผ่านไปหลายชั่วโมงแล้ว ก็ยังไม่ทราบผลการเจรจา เมื่อเข้ากลางดึก ฝูงชนก็เริ่มกระสับกระส่าย และเริ่มไม่ไว้ใจกันเอง บ้างถึงขนาดว่าแกนนำเหล่านั้นหักหลังพวกเดียวกันเองเสียแล้ว เสกสรรค์ก็ได้ตัดสินใจโดยพลการ นำพาฝูงชนเคลื่อนสู่หน้าพระตำหนัก ฯ เพื่อขอพึ่งพระบารมี และถึงแม้ว่าจะได้พบกับ ธีรยุทธ บุญมี ซึ่งเป็นแกนนำผู้ชุมนุมอีกคนที่ได้เข้าเฝ้า ฯ ทั้ง 2 ได้พูดคุยทำความเข้าใจกัน และขอให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมโดยสงบ แต่ถึงขณะนั้นอารมณ์ของผู้ชุมนุมก็ไม่อาจควบคุมความสงบไว้ได้แล้ว จนนำไปสู่การนองเลือดในรุ่งเช้าของวันรุ่งขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ เสกสรรค์และจิระนันท์ พิตรปรีชา ซึ่งเป็นคู่รักกันก็ได้หลบหนีเข้าป่า เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2523 โดยมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายไท" ในช่วง พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2523 เสกสรรค์มีความเห็นขัดแย้งหลายประการกับกรรมการกลางของพรรคฯ และต่อมาได้แยกตัวออกจากพรรค ฯ และเดินทางกลับเข้าเมืองและได้รับนิรโทษกรรมในเวลาต่อมาจากคำสั่งที่ 66/2523 ในขณะที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี[8]
เกียรติยศแห่งการเชิดชูเกียรติ
แก้ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ[9] สาขาวรรณศิลป์ ด้านเรื่องสั้น สารคดี นวนิยาย กวีนิพนธ์ ประจำปี พุทธศักราช 2552 ในปี พ.ศ. 2552 โดยในปีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นปีที่มีการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติจากคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ละเอียดที่สุด[10] เนื่องจากมีผู้ที่เข้าเกณฑ์การได้รับคัดเลือกและได้มีการเสนอชื่อผู้ควรได้รับการเชิดชูเกียรติจำนวนมาก โดยศิลปินแห่งชาติทั้ง 9 ท่านในศิลปะในทุกสาขาและได้เข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 ก.พ. พ.ศ. 2553 เนื่องในวันศิลปินแห่งชาติ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ผลงานบางส่วน
แก้ผลงานเกียรติยศเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ
แก้- "ฤดูกาล (หนังสือ)" : เรื่องสั้นเรื่องแรก เขียนในป่า พิมพ์ครั้งที่ 1. จำนวน 126 หน้า, กรุงเทพฯ : สามัญชน, มีนาคม 2555. ISBN 9789749748992.[11]
- "ฟองเวลา" : กาพย์กลอนและคำรำพึง พิมพ์ครั้งที่ 2. จำนวน 96 หน้า, กรุงเทพฯ : สามัญชน, สนพ. 2540. ISBN 9749748344.[12]
- "ดอกไผ่" : เรื่องสั้น ละครชีวิตบนเวทีกระดาษ จำนวน 127 หน้า, กรุงเทพฯ : สามัญชน, มีนาคม 2555. ISBN 9786167474021. [13] [14]
ผลงานคัดสรรจากหน้าหนังสือพิมพ์
แก้- "การผ่านพ้นของยุคสมัย" : รวมข้อเขียนคัดสรรจากหน้าหนังสือพิมพ์เล่มแรก คนเดือนตุลาคม สำนักพิมพ์สามัญชน ISBN 9749748050.[15][16]
- "ผู้ชายที่กำลังสูญพันธุ์" : รวมข้อเขียนคัดสรรจากหน้าหนังสือพิมพ์เล่มสอง ISBN 9749748069.[17]
- "จลาจลทางปัญญา" : รวมบทความจากคอลัมน์หนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2543 - 2545 ISBN 9747607484. [18]
- "ถ้าหากไม่มีวันนั้น" : รวมข้อเขียนคัดสรรจากหน้าหนังสือพิมพ์เล่มสี่ ISBN 9749748220. [19][20]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ชีวประวัติเสกสรรค์
- ↑ ชีวิตคู่เสกสรรค์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
- ↑ เสกสรรค์กลับมาศึกษาต่อปริญญาเอกในประเทศไทย
- ↑ รางวัลวิจัยปรีดี พนมยงค์ คนแรก จากมูลนิธิ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ IMDb, 14 tula, songkram prachachon, The Internet Movie Database
- ↑ "เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
- ↑ ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1
- ↑ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พุทธศักราช 2552 โดยได้รับการประกาศรายชื่อการเชิดชูเกียรติในฐานะ 1 ใน 9 ของศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2552
- ↑ ประกาศผลแล้ว"เสกสรรค์-ปรีชา-มัณฑนา" เป็นศิลปินแห่งชาติปี 52 ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2553
- ↑ "เรื่องสั้นเรื่องแรก เขียนในป่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-21. สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
- ↑ กาพย์กลอนและคำรำพึง
- ↑ ละครชีวิตบนเวทีกระดาษ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ดอกไผ่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-06. สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
- ↑ การผ่านพ้นของยุคสมัย (อ้างอิง1), สำนักพิมพ์สามัญชน
- ↑ การผ่านพ้นของยุคสมัย(อ้างอิง2), สำนักพิมพ์สามัญชน
- ↑ ผู้ชายที่กำลังสูญพันธุ์
- ↑ จลาจลทางปัญญา[ลิงก์เสีย]
- ↑ ถ้าหากไม่มีวันนั้น
- ↑ จากหนังสือพิมพ์เล่ม 4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ หน้า ๑๔๕
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Waymagazine, 60 ปี เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
- คลังปัญญาชนสยาม, ชีวประวัติ เสกสรรค์ ประเสิรฐกุล