ท่าอากาศยานตรัง

ท่าอากาศยานนานาชาติตรัง[2] (IATA: TSTICAO: VTST) ตั้งอยู่ที่ ถนนตรัง-ปะเหลียน ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ห่างจากตัวเมืองไปทางใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[3] และได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542[4] อาคารผู้โดยสารปัจจุบันเป็นอาคาร 2 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอย 3,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 300 คนต่อชั่วโมง[5] และมีสายการบินให้บริการอยู่ 3 สายการบิน คือ นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย และ ไทยไลอ้อนแอร์

ท่าอากาศยานนานาชาติตรัง
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ (ศุลกากร)
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดตรัง จังหวัดสตูล จังหวัดพัทลุง[1]
สถานที่ตั้งเลขที่ 170 หมู่ที่ 12 ถนนตรัง-ปะเหลียน ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
วันที่เปิดใช้งานพ.ศ. 2497 (ประกาศเป็นสนามบินอนุญาต)
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล20 เมตร / 67 ฟุต
พิกัด07°30′31″N 099°36′59″E / 7.50861°N 99.61639°E / 7.50861; 99.61639พิกัดภูมิศาสตร์: 07°30′31″N 099°36′59″E / 7.50861°N 99.61639°E / 7.50861; 99.61639
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/trang/
แผนที่
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
TST
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในประเทศไทย
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
TST
TST (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
08/26 2,100 6,890 ยางมะตอย
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร488,338
เที่ยวบิน3,866
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ประวัติ แก้

ท่าอากาศยานตรังก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บนที่ดินของกองทัพอากาศและที่ของราชพัสดุ ซึ่งเดิมหน่วยราชการได้สงวนบริเวณที่เป็นท่าอากาศยานไว้สำหรับทำการปศุสัตว์โดยมีชื่อว่า “ทุ่งนางหวัง” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้ปรับปรุงทุ่งหญ้าดังกล่าวให้เป็นทางวิ่งสำหรับการขึ้น-ลงชั่วคราวของอากาศยาน เพื่อการดำเนินภารกิจของกองทัพญี่ปุ่น ต่อมาเมื่อสงครามสิ้นสุดลงกองทัพอากาศได้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ขึ้น-ลง ของอากาศยานทางทหาร โดยมีชื่อเรียกว่า “สนามบินทุ่งนางหวัง” ซึ่งได้มีการปรับปรุงเรื่อยมาจนกลายเป็นสนามบินพาณิชย์ประจำจังหวัดตรัง

ปี พ.ศ. 2497 กระทรวงคมนาคม ได้มีประกาศที่ 2/2497 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ให้สนามบินดังกล่าวเป็นสนามบินอนุญาต

ปี พ.ศ. 2498 กรมการบินพาณิชย์ ได้ดำเนินการบูรณะท่าอากาศยาน เพื่อให้อากาศยานของเดินอากาศไทยทำการบินรับส่งผู้โดยสาร สินค้า ไปรษณีย์ เส้นทาง ตรัง-กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง โดยทำการปรับปรุงทางวิ่งให้เป็นพื้นผิวลาดยาง มีความยาว 1,175 เมตร ความกว้าง 30 เมตร และปรับทางวิ่งเผื่อขนาด 30 x 60 เมตร ทั้งสองด้านซึ่งเป็นลูกรังอัดแน่น พร้อมกับก่อสร้างอาคารสถานีการบิน ซึ่งเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ประกอบด้วยที่ทำการท่าอากาศยาน ที่ทำการบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด หอควบคุมจราจรทางอากาศและสถานีสื่อสารการบินรวมอยู่ในแห่งเดียวกัน โดยเดินอากาศไทยใช้อากาศยานแบบดักลาส ดีซี-3 ให้บริการผู้โดยสารแต่เปิดบริการได้ไม่นาน ก็จำเป็นต้องหยุดให้ดำเนินการไป แต่ยังคงมีอากาศยานของทางการทหารทำการบินขึ้น - ลงตลอดเวลา

ปี พ.ศ. 2507 กรมการบินพาณิชย์ (สำนักงานการบินพลเรือน) ได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมทางวิ่งเพื่อให้เดินอากาศไทยสามารถเปิดให้บริการผู้โดยสารได้อีกครั้ง โดยใช้เครื่องบินแบบ แอฟโร่ 748 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทางวิ่งที่ใช้งานได้จริงมีขนาดน้อยกว่ามาตรฐานที่กำหนด กล่าวคือ กว้าง 20 เมตร ยาว 800 เมตร เท่านั้น ทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยขึ้น ดังนั้นเดินอากาศไทยจึงต้องหยุดดำเนินการอีกครั้ง อย่างไรก็ตามอากาศยานของทางการทหารยังคงทำการบินขึ้น - ลง ตลอดเวลาเช่นเดิม

ปี พ.ศ. 2537 ได้มีการปรับปรุงท่าอากาศยานตรังอีกครั้ง เพื่อรองรับปริมาณการขนส่งทางอากาศ และจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ซึ่งประกอบด้วย

  • การก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ พื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางเมตร
  • การก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่งจากเดิมให้เป็น 1,500 เมตร และความกว้างเป็น 45 เมตร การก่อสร้างไหล่ทางวิ่ง พื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างและยาว 60 เมตร ทางขับขนาดกว้าง 23 เมตร และยาว 145 เมตร
  • การขยายถนนทางเข้า และการก่อสร้างลานจอดรถยนต์บางส่วน

ปี พ.ศ. 2541 ได้ย้ายที่ทำการท่าอากาศยานมาที่อาคารที่พักผู้โดยสารใหม่และได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542[5]

อาคารสถานที่ แก้

อาคารผู้โดยสาร แก้

อาคารผู้โดยสารปัจจุบันเป็นอาคาร 2 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอย 3,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 300 คนต่อชั่วโมง มีช่องทางขึ้นเครื่องบิน 2 ช่องทาง[5]

ลานจอดเครื่องบินมีพื้นที่ 7,800 ตารางเมตร ซึ่งสามารถรองรับอากาศยานขนาดกลางได้ 2 ลำในเวลาเดียวกัน[5] และจะมีการขยายลานจอดเครื่องบินให้สามารถรองรับได้ 10 ลำพร้อมกัน โดยใช้งบประมาณปี 2563[6]

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์) แก้

ท่าอากาศยานตรังมีทางวิ่ง 1 เส้น ความยาว 2,100 เมตร และกว้าง 45 เมตร[5] โดยมีโครงการที่จะขยายความยาวทางวิ่งเป็น 2,990 เมตรในงบประมาณปี 2564-2567 และซื้อที่ดิน 600 ไร่ เพื่อขยายแขตรันเวย์ไปทางตะวันตก ข้ามเส้นทางรถไฟ บรรจุในแผนงบประมาณ 2565[7]

แผนการพัฒนาท่าอากาศยาน แก้

สำหรับอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ตามแผน มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 30,000 ตารางเมตร ออกแบบโดยใช้ศิลปะไทยพื้นเมืองประยุกต์ ผสมผสานศิลปะแบบมลายูและจีน โดยเน้นความเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ นำมาผสมผสานกับความทันสมัย และรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น หลังคาเป็นแบบมัสยิดตะโละมาเนาะ (จ.นราธิวาส) ซึ่งเป็นศาสนสถานเก่าแก่ในศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ยังมีการนำลวดลายของหนังตะลุงและมโนราห์ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นของภาคใต้ มาตกแต่งส่วนต่าง ๆ ภายในอาคาร รวมทั้งบริเวณโดยรอบอาคารจะจัดเป็นพื้นที่สีเขียว ปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างความร่มรื่น และให้ความร่มเงาด้วย ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2565 โดยจะเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจากเดิม 1.7 ล้านคนต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 3.4 ล้านคนต่อปี[6]

รายชื่อสายการบิน แก้

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
ไทยสมายล์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ เริ่มบิน 25 กุมภาพันธ์ 2565[8] (ปัจจุบันได้ยกเลิกการให้บริการแล้ว)

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่
เดินอากาศไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภูเก็ต
โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง

สถิติ แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[9]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 78,150 1,023 490.12
2545 75,465   3.44% 1,040 664.44
2546 79,173   4.91% 1,044 665.38
2547 90,977   14.91% 1,037 652.13
2548 80,512   11.50% 1,009 677.07
2549 89,627   11.32% 795 308.84
2550 105,221   17.40% 949 181.52
2551 105,512   0.277% 877 149.38
2552 143,560   36.06% 1,391 158.77
2553 202,422   20.57% 1,718 288.25
2554 253,077    25.02% 1,997 376.60
2555 374,798    48.10% 2,765 326.65
2556 504,476   34.60% 3,602 337.43
2557 529,365    4.93% 3,619 420.03
2558 612,019    15.61% 4,076 440.96
2559 648,979    6.04% 4,302 426.34
2560 799,277    23.16% 5,176 406.30
2561 691,270   13.51% 4,412 291.36
2562 679,298   1.73% 4,380 302.06
2563 488,338   28.11% 3,866 229.85

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน แก้

ท่าอากาศยานตรังตั้งอยู่ริมถนนตรัง-ปะเหลียน (ทางหลวงชนบทตรังสาย ตง.3005) ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ห่างจากตัวเมืองไปทางใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร มีที่จอดรถยนต์ความจุประมาณ 185 คัน

อุบัติเหตุ แก้

  • 10 สิงหาคม 2545 เครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เที่ยวบิน TG 251 เส้นทางบินกรุงเทพฯ-ตรัง เกิดอุบัติเหตุขณะนำเครื่องบินร่อนลงทางวิ่ง เครื่องบินได้ลื่นไถลลงเลยทางวิ่ง ณ ท่าอากาศยานตรัง
  • 25 กันยายน 2554 นกแอร์เที่ยวบินที่ DD7400 กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) – ตรัง เครื่องโบอิ้ง 737-400 ทะเบียน HS-DDL(นกเขียวหวาน) มีผู้โดยสาร 162 ชีวิต พร้อมลูกเรือจำนวน 6 คน มีกำหนดลงจอดที่ท่าอากาศยานตรังเวลา 08.25 น.โดยปลอดภัย แต่เครื่องบินเกิดเสียไม่สามารถทำการบินและจอดขวางรันเวย์ ทางทิศตะวันออกสนามบินตรัง เนื่องจากระบบเบรกที่ขัดข้อง (ระบบ Thrust Reverse ไม่พับเก็บหลังจากกัปตันได้นำเครื่องลงจอดที่สนามบิน จ.ตรัง)ทำให้เครื่องบินของสายการบินโอเรียนท์ไทย เที่ยวบิน OX 8251 DMK-TST ที่มีกำหนดเวลาลง 8.40 น. ไม่สามารถทำการลงจอดได้เนื่องจากมีเครื่องบินของสายการบินนกแอร์จอดขวางรันเวย์ กับตันจึงนำเครื่องบินลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ส่งผลให้เที่ยวบินมีความล่าช้าถึง 4 ชม.
  • 6 สิงหาคม 2556 เครื่องนกแอร์ตกรันเวย์ที่ตรัง-เหตุลื่นน้ำขังทางวิ่ง เมื่อเวลา 17.30 น. เครื่องบินของสายการบินนกแอร์ รุ่นโบอิ้ง 737-800 ทะเบียน HS-DBM เที่ยวบิน DD7411 ได้เกิดอุบัติเหตุ ไถลออกนอกรันเวย์ ระหว่างเตรียมนำเครื่องขึ้นจากท่าอากาศยานตรัง โดยมีจุดหมายปลายทางที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เบื้องต้น ผู้โดยสารและลูกเรือกว่า 100 คน ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด โดยหลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่สนามบินได้นำรถบันไดไปนำผู้โดยสารออกจากสนามบิน ได้มีการปิดสนามบินชั่วคราว เพื่อรอการเคลื่อนย้ายเครื่องบินออกจากรันเวย์ ขณะที่ นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 17.25 น. วันที่ 6 ส.ค. เที่ยวบิน ดีดี 7411 ของนกแอร์ ที่จะออกเดินทางจากจ.ตรังมายังดอนเมือง ได้เกิดเหตุระหว่างที่เครื่องแท็กซี่กำลังเทกออฟขึ้นเหนือพื้นดิน นักบินพบว่าสภาพอากาศไม่ดี เพราะขณะนั้นมีฝนตก ทำให้มีน้ำขังมีอยู่บนรันเวย์จำนวนมาก กัปตันจึงตัดสินใจยกเลิกทำการบิน โดยตามขั้นตอนการยกเลิกการเทกออฟ นักบินจะต้องทำการเบรกเพื่อหยุดครื่อง แต่ระหว่างที่เบรก เนื่องจากพื้นรันเวย์เปียก ทำให้ล้อเครื่องบินลื่นไถลออกนอกรันเวย์ไปที่สนามหญ้า และมีหญ้าเข้าพันล้อ จึงต้องปิดรันเวย์สนามบินตรัง แต่ยืนยันไม่ได้ส่งผลกระทบทำให้ต้องปิดสนามบิน เนื่องจากเป็นเที่ยวบินสุดท้ายของวัน ส่วนผู้โดยสารจำนวน 142 คน ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ และได้นำรถมาขนถ่ายไปยังอาคารผู้โดยสาร ซึ่งสายการบินได้โอนผู้โดยสารจำนวน 69 คน เดินทางไปยังสนามบินหาดใหญ่ ส่วนอีก 44 คนเดินทางไปจ.นครศรีธรรมาราช เพื่อขึ้นเครื่องนกแอร์กลับดอนเมืองในวันเดียวกัน ส่วนอีก 23 คนที่เหลือได้ขอเปลี่ยนเวลาการเดินทางเป็นวันที่ 7 ส.ค.โดยจะเดินทางจากจ.ตรังกลับดอนเมืองด้วยเที่ยวบิน ดีดี 7401 ในเวลา 09.20 น. นายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บ.พ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานเบื้องต้นว่า เครื่องบินนกแอร์จากตรัง-ดอนเมือง ลื่นไถลขณะกลับลำบนทางวิ่ง ส่งผลให้เครื่องสไลด์ตกทางวิ่ง ต้องลำเลียงผู้โดยสารกว่า 100 คนลงจากเครื่อง และปิดรันเวย์สนามบินตรัง เมื่อเวลาประมาณ 17.30 น.เพื่อยกเครื่องบิน คาดจะแล้วเสร็จเวลาประมาณ 22.00 น. สำหรับผู้โดยสารไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ และได้เดินทางไปขึ้นเครื่องที่สนามบินหาดใหญ่เพื่อเดินทางมายังสนามบินดอนเมือง

อ้างอิง แก้

  1. "ขยายสนามบินตรังฉลุย 2ผู้รับเหมาสร้างต่อแล้ว". ฐานเศรษฐกิจ. 17 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบิน เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๒ สนามบินตรัง ในท้องที่อำเภอเมืองตรัง อำเภอนาโยง อำเภอกันตัง และอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
  3. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากร". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "ประวัติท่าอากาศยานตรัง". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 "เปิดภาพ "เทอร์มินัลใหม่ สนามบินตรัง" สวยเก๋ เน้นเอกลักษณ์ใต้ ผสานความทันสมัย-รักษาสิ่งแวดล้อม". ผู้จัดการออนไลน์. 23 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "หอฯตรังจี้กรมท่าอากาศยานกำชับ งานอัพเกรดสนามบินเสร็จตามแผน". ฐานเศรษฐกิจ. 5 มีนาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. Thai Smile Airways. "เส้นทางบินใหม่ กรุงเทพฯ สู่ ตรัง". ไทยสมายล์เปิดเส้นทางบินใหม่! พร้อมให้บริการ 25 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-21. สืบค้นเมื่อ 2022-03-30.
  9. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้