เทศบาลนครตรัง

เทศบาลนครในจังหวัดตรัง ประเทศไทย

ตรัง เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดตรัง มีพื้นที่ 14.77 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตตำบลทับเที่ยง ซึ่งอาจเรียกตัวเมืองตรังได้อีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองทับเที่ยง"[2] มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 59,894 คน[1]

เทศบาลนครตรัง
จากบนสุด ซ้ายไปขวา: ศาลากลางจังหวัดตรัง , สถานีรถไฟตรัง, วัดคลองน้ำเจ็ด, ถํ้าเขาช้างหาย, หอนาฬิกาตรัง, รถตุ๊ก ๆ หัวกบ และอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์
ธงของเทศบาลนครตรัง
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครตรัง
ตรา
สมญา: 
เมืองทับเที่ยง
คำขวัญ: 
เมืองผู้นำยางพารา เทิดรัษฎานุประดิษฐ์ เมืองมิตรวัฒนธรรม หมูย่างติ่มซำรสเลิศ เปิดประตูสู่อันดามัน สวรรค์นักท่องเที่ยว
แผนที่ของอำเภอเมืองตรัง
แผนที่ของอำเภอเมืองตรัง
ทน.ตรังตั้งอยู่ในจังหวัดตรัง
ทน.ตรัง
ทน.ตรัง
ที่ตั้งของเทศบาลนครตรัง
ทน.ตรังตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.ตรัง
ทน.ตรัง
ทน.ตรัง (ประเทศไทย)
พิกัด: 7°33′30″N 99°36′36″E / 7.55833°N 99.61000°E / 7.55833; 99.61000
ประเทศ ไทย
จังหวัดตรัง
อำเภอเมืองตรัง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสัญญา ศรีวิเชียร
พื้นที่
 • ทั้งหมด14.77 ตร.กม. (5.70 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด59,894 คน
 • ความหนาแน่น4,100 คน/ตร.กม. (11,000 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03920102
สนามบินท่าอากาศยานตรัง
ทางหลวง ตง.5036
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครตรัง 103 ถนนวิเศษกุล ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง 92000
โทรศัพท์0 7521 8014
โทรสาร0 7521 8014
เว็บไซต์www.trangcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

เทศบาลนครตรัง เดิมเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบสุขาภิบาล ซึ่งสุขาภิบาลเมืองตรังได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2474 สมัยรัชกาลที่ 7 ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัติระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 สุขาภิบาลเมืองตรังได้รับการยกฐานะมาเป็นเทศบาลเมืองตรัง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองตรัง ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ซึ่งได้เปิดดำเนินการครั้งแรกโดยใช้ที่ทำการสุขาภิบาลเมืองตรังเดิมเป็นสำนักงานเทศบาลเมืองตรัง ตั้งอยู่ถนนวิเศษกุล ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งสิ้น 6.86 ตารางกิโลเมตร และในปี พ.ศ. 2484 เทศบาลได้ทำการก่อสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลเมืองตรังขึ้นมาใหม่ในที่เดิม โดยสร้างเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวแล้วดำเนินการเรื่อยมา

จากนั้นในปี พ.ศ. 2511 เทศบาลได้มีการขยายอาณาเขตเทศบาลออกไปอีก 7.91 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2511 รวมเป็นพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 14.77 ตารางกิโลเมตร หลังจากนั้นมาเทศบาลนครตรังเจริญขึ้นตลอดเวลา ประกอบกับอาคารสำนักงานเทศบาลเดิมสภาพคับแคบและทรุดโทรม จึงได้ทำการก่อสร้างสำนักงานเทศบาลขึ้นใหม่ ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2521 และได้ทำพิธีเปิดดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2522 และได้รับการประกาศให้เป็นเทศบาลนครตรัง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 110 ก เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครตรัง
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 35.6
(96.1)
37.6
(99.7)
38.6
(101.5)
39.2
(102.6)
38.4
(101.1)
35.6
(96.1)
35.2
(95.4)
34.9
(94.8)
34.8
(94.6)
35.6
(96.1)
34.6
(94.3)
34.7
(94.5)
39.2
(102.6)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.9
(89.4)
34.0
(93.2)
35.2
(95.4)
35.2
(95.4)
33.0
(91.4)
32.1
(89.8)
31.6
(88.9)
31.5
(88.7)
31.2
(88.2)
31.4
(88.5)
30.8
(87.4)
30.7
(87.3)
32.38
(90.29)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.5
(79.7)
27.5
(81.5)
28.4
(83.1)
28.6
(83.5)
27.6
(81.7)
27.3
(81.1)
26.9
(80.4)
26.9
(80.4)
26.5
(79.7)
26.4
(79.5)
26.1
(79)
26.2
(79.2)
27.08
(80.74)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 21.2
(70.2)
21.2
(70.2)
22.0
(71.6)
23.1
(73.6)
23.5
(74.3)
23.3
(73.9)
23.0
(73.4)
23.1
(73.6)
23.0
(73.4)
22.9
(73.2)
22.7
(72.9)
22.3
(72.1)
22.61
(72.7)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 15.9
(60.6)
15.0
(59)
17.0
(62.6)
18.7
(65.7)
19.2
(66.6)
20.2
(68.4)
19.0
(66.2)
19.5
(67.1)
20.0
(68)
20.2
(68.4)
19.0
(66.2)
17.4
(63.3)
15
(59)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 46
(1.81)
21
(0.83)
49
(1.93)
118
(4.65)
249
(9.8)
221
(8.7)
273
(10.75)
266
(10.47)
352
(13.86)
279
(10.98)
208
(8.19)
106
(4.17)
2,188
(86.14)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 3 2 4 10 17 15 16 17 19 19 15 9 146
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[3]

การขนส่ง

แก้

ถนนสายหลักที่ผ่านตัวเมืองตรัง คือ ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมจากจังหวัดกระบี่ผ่านจังหวัดตรังต่อไปยังจังหวัดพัทลุง

เมืองตรังมีสถานีรถไฟตรังในเส้นทางรถไฟสายอันดามัน ซึ่งเป็นทางแยกจากสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง และมีปลายทางที่สถานีรถไฟกันตัง

นอกจากนี้ ยังมีท่าอากาศยานตรัง ตั้งอยู่ในตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง ซึ่งห่างจากตัวเมืองไปทางใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร มี 3 สายการบินให้บริการคือ ไทยแอร์เอเชีย ไทยไลอ้อนแอร์ และนกแอร์

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครตรัง ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. “ทับเที่ยง” เล่าเรื่องเมืองร้อยปี..(ตอนที่ 1) / จำนง ศรีนคร ผู้จัดการออนไลน์
  3. "Climate Normals for Trang". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 8 February 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้