อำเภอกันตัง

อำเภอในจังหวัดตรัง ประเทศไทย

กันตัง เป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งในจังหวัดตรัง คำว่า "กันตัง" สันนิษฐานว่าเป็นคำในภาษามลายู

อำเภอกันตัง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kantang
ตัวอำเภอกันตัง ภาพถ่ายเรือลากจูงประเภท Freeder ให้บริการเส้นทางกันตัง-ปีนัง-กันตัง สัปดาห์ละสองเที่ยว
ตัวอำเภอกันตัง ภาพถ่ายเรือลากจูงประเภท Freeder ให้บริการเส้นทางกันตัง-ปีนัง-กันตัง สัปดาห์ละสองเที่ยว
คำขวัญ: 
กันตังเมืองสะอาด ธรรมชาติริมฝั่งน้ำ
สง่างามตำหนักจันทน์ พิพิธภัณฑ์
พระยารัษฎา ท่าเทียบเรือต่างประเทศ
เขตกำเนิดยางพารา
แผนที่จังหวัดตรัง เน้นอำเภอกันตัง
แผนที่จังหวัดตรัง เน้นอำเภอกันตัง
พิกัด: 7°24′20″N 99°30′55″E / 7.40556°N 99.51528°E / 7.40556; 99.51528
ประเทศ ไทย
จังหวัดตรัง
พื้นที่
 • ทั้งหมด468.20 ตร.กม. (180.77 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด86,751 คน
 • ความหนาแน่น185.29 คน/ตร.กม. (479.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 92110
รหัสภูมิศาสตร์9202
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกันตัง ถนนตรังคภูมิ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 92110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้ไข

 
ภาพถ่ายเก่า ท่าเทียบเรือกันตังในอดีต
 
ภาพถ่ายเก่า เรือขนถ่าน
 
ตัวอำเภอกันตัง ภาพถ่ายจากบริเวณ ท่าเรือกันตัง ซึ่งเป็นท่าที่ใช้ขนถ่ายสินค้าไปต่างประเทศมาตั้งแต่โบราณ

กันตัง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตรัง ห่างจากตัวเมืองตรังเพียง 24 กิโลเมตร ในอดีตกันตังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำสำคัญมาแต่โบราณ เมื่อพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดีมารับตำแหน่งใน พ.ศ. 2433 ได้ดำเนินการพัฒนาเมืองตรัง (กันตัง) ทุกด้าน โดยมีจุดมุ่งหมายจะทำให้เป็นเมืองค้าขาย เริ่มจากการย้ายเมืองจากตำบลควนธานีไปตั้งที่ตำบลกันตัง และสร้างความเจริญแก่เมืองตรัง (กันตัง) อย่างมาก การพัฒนาในสมัยพระยารัษฎาฯ ที่จะนำไปสู่ความเป็นเมืองท่าค้าขายมีอยู่หลายด้าน เริ่มจากการแก้ปัญหาความไม่สงบเรื่องโจรผู้ร้ายและการส่งเสริมอาชีพพื้นฐานคือการเกษตร เริ่มต้นจากเกษตรยังชีพในครัวเรือน และขยายเป็นเกษตรเพื่อการค้า โดยใช้กุศโลบายต่าง ๆ และระบบกลไกของรัฐ เช่น การยกเว้นเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์แรงงานแก่ผู้บุกเบิกทำนา จนสามารถส่งข้าวขายปีนังได้ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ชาวเมืองขาดแคลนข้าว ต้องซื้อจากปีนังอยู่เสมอ การสร้างถนนและสะพานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าในท้องถิ่น และส่งขายต่างประเทศทางท่าเรือกันตัง พระยารัษฎาฯ ส่งเสริมบริษัทตัวแทนซื้อขายสินค้าที่ท่าเรือกันตัง สินค้าสำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ เป็ด ไก่ สุกร โค กระบือ พริกไทย ข้าว ตับจาก ไม้เคี่ยม ไม้โปรง เป็นต้น

การพัฒนาของพระยารัษฎาฯ สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในส่วนกลางที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูประบบราชการ และนำพาชาติเข้าสู่การพัฒนาให้เทียบทันอารยประเทศ การก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ที่กำหนดให้มีทางแยกจากทุ่งสงมุ่งสู่ท่าเรือกันตังเริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2444 ส่วนในสายแยกตั้งแต่ทุ่งสงถึงกันตัง เปิดการโดยสารระหว่างกันตัง-ห้วยยอด วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 และต่อมา เปิดการโดยสารระหว่างห้วยยอด-ทุ่งสง ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2446 (นับปีแบบเก่า ขึ้นศักราชใหม่เดือนเมษายน เดือนมกราคมเป็นเดือนที่ 10 ของปี) เส้นทางรถไฟนี้ส่งเสริมนโยบายเมืองท่าค้าขายของพระยารัษฎาฯ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ พระยารัษฎาฯ ยังได้มองการณ์ไกล ที่จะทำให้กันตังเป็นท่าเรือค้ากับต่างประเทศได้เต็มศักยภาพ โดยเสนอทางรัฐบาลจัดสร้างท่าเรือน้ำลึก แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนใน พ.ศ. 2435 ซึ่งเป็นปีที่สถาปนากระทรวงมหาดไทย และเริ่มการปกครองระบบมณฑลขึ้นเป็นครั้งแรก หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกเดิมเปลี่ยนเป็นมณฑลภูเก็ต เมืองตรังเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภูเก็ต

ในปี พ.ศ. 2434 ทางการได้ยุบเมืองปะเหลียนรวมกับเมืองตรัง ต่อมามีประกาศข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ.115 (พ.ศ. 2439) แบ่งท้องที่การปกครองเป็นอำเภอ จังหวัดตรังมี 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (กันตัง) อำเภอบางรัก อำเภอเขาขาว (ห้วยยอด) อำเภอสิเกา และอำเภอปะเหลียน มีตำบลรวม 109 ตำบล

ต่อมา พ.ศ. 2444 พระยารัษฎาฯ ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต มีผู้ว่าราชการเมืองตรังต่อจากพระยารัษฎาฯ 5 คน พอถึง พ.ศ. 2457 สมัยที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้ว่าราชการเมือง มหาอำมาตย์โท พระยาสุรินทรราชา (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์ฯ) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เห็นว่าเมืองที่กันตังอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม เนื่องจากตอนสงครามโลกครั้งที่ 1 เรือลาดตระเวนของเยอรมันชื่อเอ็มเด็น(SMS Emden) ได้ลอยลำยิงถล่มปีนัง หากมีสงครามเกิดขึ้นอีก เมืองตรังอาจจะถูกยิงเช่นปีนัง รวมทั้งพื้นที่ลุ่ม และมีโรคระบาด หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เมืองตรัง พ.ศ. 2458 แล้ว จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตย้ายเมืองไปตั้งที่อำเภอบางรัก และได้ย้ายไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2458

ปัจจุบันกันตังยังคงเป็นเมืองท่าที่สำคัญของจังหวัดตรัง โดยมีการส่งสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าเทียบเรือกันตังโดยใช้เรือลากจูง ให้บริการระหว่างเส้นทางกันตัง-ปีนัง-กันตัง สัปดาห์ละ 2 เที่ยว โดยสินค้าที่ส่งผ่านท่าเรือกันตังจะเป็นยางพาราและไม้ยางพาราแปรรูป นอกจากนี้แล้วยังมีสินค้าเทกองประเภทแร่ยิปซัมและถ่านหิน

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้ไข

อำเภอกันตังตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติการตั้งตำบลต่างๆ แก้ไข

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมือง จังหวัดตรัง มณฑลภูเก็ต เป็น อำเภอกันตัง[1]
  • วันที่ 14 มีนาคม 2480 จัดตั้งเทศบาลตำบลกันตัง ในท้องที่บางส่วนของตำบลกันตัง[2]
  • วันที่ 30 กันยายน 2490 ตั้งตำบลกันตังใต้ แยกออกจากตำบลกันตัง ตั้งตำบลทุ่งกระบือ แยกออกจากตำบลทุ่งค่าย และตำบลย่านตาขาว ตั้งตำบลบางสัก แยกออกจากตำบลบ่อน้ำร้อน ตั้งตำบลบางเป้า แยกออกจากตำบลวังวน ตั้งตำบลคลองลุ แยกออกจากตำบลย่านซื่อ[3]
  • วันที่ 9 ธันวาคม 2490 แยกพื้นที่ตำบลย่านตาขาว ตำบลหนองบ่อ ตำบลทุ่งค่าย อำเภอกันตัง ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอเมืองตรัง และตำบลในควน ตำบลโพรงจระเข้ อำเภอปะเหลียน มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอย่านตาขาว ขึ้นตรงกับอำเภอกันตัง[4]
  • วันที่ 30 ธันวาคม 2490 ตั้งตำบลเกาะเปียะ แยกออกจากตำบลทุ่งค่าย และตำบลหนองบ่อ[5]
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอย่านตาขาว อำเภอกันตัง เป็น อำเภอย่านตาขาว[6]
  • วันที่ 17 มิถุนายน 2512 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลกันตัง เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น โดยให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกันตังทั้งตำบล[7]
  • วันที่ 20 สิงหาคม 2530 ตั้งตำบลคลองชีล้อม แยกออกจากตำบลวังวน[8]
  • วันที่ 24 กันยายน 2538 เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลกันตัง เป็น เทศบาลเมืองกันตัง[9]
  • วันที่ 1 มกราคม 2545 กำหนดเขตตำบลในท้องที่ในอำเภอกันตัง โดยให้ตำบลบางสัก มีเขตการปกครองรวม 6 หมู่บ้าน และให้ตำบลโคกยาง มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน[10]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางเป้า เป็นเทศบาลตำบลบางเป้า[11] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลควนธานี เป็นเทศบาลตำบลควนธานี[12]

ประชากร แก้ไข

ชาวกันตังเป็นอำเภอที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์แห่งหนึ่ง โดยมีทั้งชาวไทยถิ่นใต้ ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยเชื้อสายมลายู ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันมายาวนานด้วยกันอย่างสันติสุข และแต่ละเชื้อชาติก็จะมีมีประเพณีที่สำคัญแตกต่างกันไป

  • ศาสนา ชาวกันตังส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 70.46 ศาสนาอิสลามร้อยละ 28.64 ส่วนที่เหลือนับถือศาสนาอื่นๆ โดยที่กันตังไม่มีความขัดแย้งทางศาสนา

การแบ่งเขตการปกครอง แก้ไข

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้ไข

อำเภอกันตังแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 83 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[13]
แผนที่
1. กันตัง Kantang
11,485
  
2. ควนธานี Khuan Thani
6
4,532
3. บางหมาก Bang Mak
6
5,801
4. บางเป้า Bang Pao
7
9,928
5. วังวน Wang Won
5
4,182
6. กันตังใต้ Kantang Tai
6
6,897
7. โคกยาง Khok Yang
8
4,668
8. คลองลุ Khlong Lu
7
4,335
9. ย่านซื่อ Yan Sue
4
2,299
10. บ่อน้ำร้อน Bo Nam Ron
9
9,565
11. บางสัก Bang Sak
6
6,413
12. นาเกลือ Na Kluea
6
4,292
13. เกาะลิบง Ko Libong
8
7,493
14. คลองชีล้อม Khlong Chi Lom
5
4,636

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้ไข

ท้องที่อำเภอกันตังประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองกันตัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกันตังทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลควนธานี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนธานีทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางเป้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเป้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหมากทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกันตังใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองลุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองลุทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่านซื่อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อน้ำร้อนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสักทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกลือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเกลือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลิบง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะลิบงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองชีล้อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองชีล้อมทั้งตำบล

สถานที่น่าสนใจ แก้ไข

อำเภอกันตังเป็นอีกหนึ่งอำเภอที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน จึงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจดังนี้

  • สวนสาธารณะควนตำหนักจันทร์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่บริเวณถนนป่าไม้ อันเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติควนกันตัง สถานที่นี้ถือกำเนิดชื่อมาจากการเป็นตำหนักเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นบนเนินเขาเตี้ย ๆ (ควน) ในการรับเสร็จรัชการที่ 6 ครั้งเสร็จประพาสเมืองกันตังเมื่อ ปี 2452 เมื่อครั้งยังทรงพระอริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอราธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาภายหลังใช้เป็นเรือนรับรองสโมสรข้าราชการ
     
    สนามเพลาะสมัยสงครามโลกครั้งที่2

ในสมันสงครามโลกครั้งที่ 2 ควนตำหนักจันทร์ได้ใช้เป็นที่ตั้งทัพของกองกำลังทหารญี่ปุ่น หลังจากสิ้นสุดสงครามอาคารต่าง ๆ ได้ถูกรื้อถอนจนไม่เหลือร่องรอย ต่อมาได้ใช้พื้นที่นี้ส่วนหนึ่งสร้างโรงเรียนกันตังพิทยา ส่วนเนินเขาถูกปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นที่ออกกำลังกายของชาวเมืองกันตัง มีไม้ดอกไม้พันธ์หลายชนิด บนยอดสามารถมองเห็นทิวทัศน์ตัวเมืองกันตังและแม่น้ำกันตังได้อย่างชัดเจน

  • สถานีรถไฟกันตัง ตามบันทึกการรถไฟ สถานีรถไฟกันตัง ตั้งอยู่ใกล้กับตึกแถวเก่าแบบจีน-โปรตุเกสในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ซึ่งเดิมกันตังเคยเป็นเมืองสำคัญที่พระยารัษฏานุประดิษฐ์ต้องการให้เป็นเมืองท่าค้าขาย มีการสร้างทางรถไฟเพื่อรับส่งสินค้าถึงท่าเรือกันตัง เพื่อรับส่งสินค้าจากสิงคโปร์และมลายู จึงได้สร้างและเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการจากสถานีรถไฟทุ่งสง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 โดยตัวอาคารเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา มาด้วยสีเหลืองมัสตาร์ด ด้านหน้ามีมุขยื่น ตกแต่งมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุ ประตูเป็นประตูไม้บานเฟี้ยมแบบเก่า
  • ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย

นอกจากนี้แล้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น

  • อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
  • บ่อน้ำพุร้อนควนแดง
  • หาดยาว
  • หาดหยงหลิง
  • หาดปากเมง
  • เกาะมุก
  • ถ้ำมรกต
  • เกาะกระดาน
  • เกาะเชือก
  • เกาะลิบง

สถานศึกษาในอำเภอกันตัง แก้ไข

  1. วิทยาลัยการอาชีพกันตัง (ปวช 1-3, ปวส 1-2)
  2. วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร (ปวช 1-3, ปวส 1-2)
  3. โรงเรียนกันตังพิทยากร (ม.1-ม.6)
  4. โรงเรียนกันตังรัษฎาศึกษา (ม.1-ม.6)
  5. โรงเรียนจุ๋งฮัวโซะเซียว (อ.1-ม.6)
  6. โรงเรียนสายธารวิทยา (อ.1-ม.6)
  7. โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี (ท.๒) (อ.1-ม.3)
  8. โรงเรียนประชาวิทยา (อ.1-ม.3)
  9. โรงเรียนบ้านโคกยาง ( อ.1-ม.3)
  10. โรงเรียนบ้านบางเป้า (อ.1-ม.3)
  11. โรงเรียนบ้านหนองเสม็ด (อ.1-ม.3)
  12. โรงเรียนบ้านนาเกลือ (อ.1-ม.3)
  13. โรงเรียนบ้านบางหมาก (อ.1-ม.3)
  14. โรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ (อ.1-ม.3)
  15. โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม (อ.1-ม.3)
  16. โรงเรียนบ้านเกาะมุกต์ (อ.1-ม.3)
  17. โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส (ท.๑) (อ.1-ป.6)
  18. โรงเรียนวิเศษกาญจน์ (อ.1-ป.6)
  19. โรงเรียนอนุบาลกันตังศึกษา (อ.1-ป.6)
  20. โรงเรียนบ้านตะเคียนหลบฟ้า (อ.1-ป.6)
  21. โรงเรียนวัดสีหราษฎร์ศรัทธา (อ.1-ป.6)
  22. โรงเรียนบ้านไร่ใหญ่ (อ.1-ป.6)
  23. โรงเรียนบ้านป่าเตียว(อ.1-ป.6)
  24. โรงเรียนบ้านปาเต (อ.1-ป.6)
  25. โรงเรียนบ้านแหลม (อ.1-ป.6)
  26. โรงเรียนบ้านจุปะ (อ.1-ป.6)
  27. โรงเรียนบ้านแตะหรำ (อ.1-ป.6)
  28. โรงเรียนบ้านน้ำฉา (อ.1-ป.6)
  29. โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ (อ.1-ป.6)
  30. โรงเรียนบ้านบางหมากน้อย (อ.1-ป.6)
  31. โรงเรียนบ้านบางเตา (อ.1-ป.6)
  32. โรงเรียนบ้านนาเหนือ (อ.1-ป.6)
  33. โรงเรียนบ้านย่านซื่อ (อ.1-ป.6)
  34. โรงเรียนบ้านท่าส้ม (อ.1-ป.6)
  35. โรงเรียนบ้านท่าปาบ (อ.1-ป.6)
  36. โรงเรียนบ้านบางสัก (อ.1-ป.6)
  37. โรงเรียนบ้านควนตุ้งกู (อ.1-ป.6)
  38. โรงเรียนบ้านท่าโต๊ะเมฆ (อ.1-ป.6)
  39. โรงเรียนบ้านมดตะนอย (อ.1-ป.6)
  40. โรงเรียนบ้านหาดยาว (อ.1-ป.6)
  41. โรงเรียนวัดวารีวง (อ.1-ป.6)
  42. โรงเรียนบ้านกันตังใต้ (อ.1-ป.6)
  43. โรงเรียนบ้านคลองชีล้อม (อ.1-ป.6)
  44. โรงเรียนบ้านควนธานี (อ.1-ป.6)
  45. โรงเรียนบ้านน้ำราบ (อ.1-ป.6)
  46. โรงเรียนบ้านพระม่วง (อ.1-ป.6)
  47. โรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ สาขาบ้านหลังเขา (อ.1-ป.6)
  48. โรงเรียนบ้านคลองลุ (อ.1-ป.6)

งานเทศกาลประจำปี แก้ไข

  • งานประเพณีลอยกระทง กันตังจะจัดอย่างยิ่งใหญ่10วัน10คืน เนื่องจากกันตังเป็นอำเภอปากแม่น้ำตรังจึงเหมาะแก่การลอยกระทง
  • งานประเพณีชักพระ มีการประกวดเรือพระวัดในอำเภอจะตกแต่งเรือพระและลากมาจากวัดของตนมาประชันกันในงาน
  • งานประเพณีสารทเดือนสิบ ชาวบ้านเรียก"ชิงเปรต"มีการจัดสำรับขนมเดือนสิบหรือที่เรียกว่า"หมรับ-"มาถวายแด่วัดที่อยู่ใกล้บ้าน
  • งานของดีเมืองกันตัง ในงานจะมีของดีแต่ละชุมชนมาออกร้านกันมากมาย

การเดินทาง แก้ไข

การเดินทางจากอำเภอกันตังไปอำเภอใกล้เคียงในจังหวัดตรังวัดเป็นระยะทางโดยประมาณดังนี้

อ้างอิง แก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 7°23′57″N 99°28′23″E / 7.39929°N 99.47296°E / 7.39929; 99.47296

อ้างอิง แก้ไข

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
  2. "พระราชกฤษฎีกาาจัดตั้งเทศบาลตำบลกันตัง จังหวัดตรัง พุทธศักราช ๒๔๘๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 1899–1902. 14 มีนาคม 2480.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. 30 กันยายน 2490.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (60 ง): 3188–3193. 9 ธันวาคม 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและตั้งตำบลใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (64 ง): 3554–3557. 30 ธันวาคม 2490.
  6. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (46 ง): 657–661. 5 มิถุนายน 2499. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลกันตัง จังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (55 ก): 620–634. 17 มิถุนายน 2512.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกันตัง และอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (165 ง): 5901–5906. 20 สิงหาคม 2530.
  9. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองกันตัง จังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (40 ก): 49–51. 24 กันยายน 2538.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (1 ง): 65–71. 1 มกราคม 2545. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-10-22. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางเป้า อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นเทศบาลตำบลบางเป้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (ตอนพิเศษ 172 ง): 11–12. 29 กรกฎาคม 2563.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นเทศบาลตำบลควนธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (ตอนพิเศษ 172 ง): 13–14. 29 กรกฎาคม 2563.
  13. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.