พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2472) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ระนอง ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และสมุทรสงคราม

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

ประวัติ แก้

สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา จบการศึกษาจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ จากนั้นเริ่มรับราชการในตำแหน่งเสมียนในกรมบัญชาการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เสมียนกองตระเวน นายเวรสารวัตรตรวจในกรมพระคลังมหาสมบัติ ปลัดจังหวัดระนอง,ปลัดจังหวัดสตูล มหาดไทยมณฑลภูเก็ต ผู้ว่าราชการจังหวัดตะกั่วป่า ผู้ว่าราชการการจังหวัดตรัง ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนศุภธนสวามิภักดิ์ หลวงโยธีพิทักษ์ พระโยธีพิทักษ์ พระตรังคบุรีศรีสมุทรเขต และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์เมื่อ เดือนกันยายน พ.ศ. 2458

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2472 อายุ 54 ปี[1]

ยศและบรรดาศักดิ์ แก้

  • 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 ขุนศุภธนสวามิภักดิ์ ถือศักดินา ๕๐๐[2]
  • 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 หลวงโยธีพิทักษ์ ถือศักดินา ๑๐๐๐[3]
  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 รองอำมาตย์เอก[4]
  • 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 พระโยธีพิทักษ์ คงถือศักดินา ๑๐๐๐[5]
  • 5 ตุลาคม พ.ศ. 2457 พระตรังคบุรี ศรีสมุทเขตร ถือศักดินา ๓๐๐๐[6]
  • 5 ตุลาคม พ.ศ. 2457 อำมาตย์ตรี[7]
  • 9 กันยายน พ.ศ. 2458 พระยารัษฎานุประดิษฐ์ คงถือศักดินา ๓๐๐๐[8]
  • 9 กันยายน พ.ศ. 2458 อำมาตย์โท[9]

ตำแหน่ง แก้

  • พนักงานคลังเมืองตรัง
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2447 ปลัดเมืองระนอง[10]
  • ปลัดเมืองสตูล
  • ข้าหลวงมหาดไทยมณฑลภูเก็ต
  • 19 ธันวาคม พ.ศ. 2455 รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการ เมืองตะกั่วป่า[11]
  • 29 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่า[12]
  • พ.ศ. 2457 ผู้ว่าราชการเมืองตรัง[13]
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม[14]
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ข่าวตาย (หน้า ๓๖๐๙-๑๐)
  2. พระราชทานสัญญาบัตร
  3. ส่งสัญญาบัตรขุนนางไปพระราชทาน
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย (หน้า ๙๘๒)
  5. ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์ (หน้า ๑๙๕๘)
  6. ตั้งบรรดาศักดิ์
  7. พระราชทานยศและเลื่อนยศ (หน้า ๑๕๐๘)
  8. พระราชทานเลื่อนและตั้งบรรดาศักดิ์
  9. พระราชทานยศพลเรือน และเลื่อนยศ (หน้า ๑๒๘๒)
  10. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  11. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  12. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้พระโยธีพิทักษ์เป็นผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่า
  13. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งตำแหน่งเกณฑ์เมืองรั้งในกระทรวงมหาดไทย
  14. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  15. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๐๕, ๑ มกราคม ๒๔๖๗
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๗๗, ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๕๘
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๕, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐

แหล่งข้อมูล แก้

  • ดนัย ไชยโยธา. นามานุกรมประวัติศาสตร์. [ม.ป.ท.] : โอเดียนสโตร์, 2548. ISBN 974-971-297-8