ทะเลสาบหนองหาน

ทะเลสาบน้ำจืดในจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย

ทะเลสาบหนองหาน หรือ หนองหานหลวง[1] เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ เป็นรองจากบึงบอระเพ็ด[2] ครอบคลุมพื้นที่ถึง 12 ตำบล ได้แก่ ตำบลธาตุเชิงชุม ตำบลท่าแร่ ตำบลเชียงเครือ ตำบลโคกก่อง ตำบลม่วงลาย ตำบลงิ้วด่อน ตำบลดงชน ตำบลธาตุนาเวง ตำบลฮางโฮง ตำบลเหล่าปอแดง ในอำเภอเมืองสกลนคร และตำบลบ้านแป้น ตำบลนาแก้ว ในอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร มีเนื้อที่กว่า 77,000 ไร่ หรือ (123.2 ตารางกิโลเมตร) ความลึกเฉลี่ยประมาณ 2.0 - 10.0 เมตร เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด นกน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทย สันนิษฐานว่าหนองหานเกิดจากการยุบตัวของแผ่นเปลือกโลกอันเนื่องมาจากการถูกชะล้างของชั้นหินเกลือใต้ดินจนเกิดโพรงขนาดใหญ่ และเกิดการพังทลายยุบตัวลงเป็นหนองน้ำในเวลาต่อมา

ทะเลสาบหนองหาน
ทางเดินในหนองหาน
ทะเลสาบหนองหานตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทะเลสาบหนองหาน
ทะเลสาบหนองหาน
ที่ตั้งจังหวัดสกลนคร, ประเทศไทย
พิกัด17°13′N 104°10′E / 17.217°N 104.167°E / 17.217; 104.167
ชนิดทะเลสาบนํ้าจืด
ประเทศในลุ่มน้ำประเทศไทย
พื้นที่พื้นน้ำ125.2 ตารางกิโลเมตร (48.3 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย1.9 เมตร (6.2 ฟุต)
ความลึกสูงสุด10 เมตร (33 ฟุต)
ความสูงของพื้นที่158 เมตร (518 ฟุต)
เมืองจังหวัดสกลนคร

ทะเลสาบหนองหานประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่มากกว่า 30 เกาะ เกาะที่ขนาดใหญ่ที่สุดคือ เกาะดอนสวรรค์ โดยมีพุทธสถานโบราณภายในเกาะ

อ้างอิง

แก้
  1. สุจิตต์ วงษ์เทศ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555). "หนองหาน ไม่ใช่ หนองหาร ยุคสุโขทัย ปลูกเรือนเสาสูง". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 267 พ.ค. 2550 หน้า 172