โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°27′59.05″N 100°06′58.26″E / 14.4664028°N 100.1161833°E / 14.4664028; 100.1161833

โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ขนาด 634 เตียง เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2469 ชื่อของโรงพยาบาลมาจากชื่อของ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ผู้บริจาคเงินสร้างโรงพยาบาล โดยตั้งติดกับบ้านยะมะรัชโช บ้านของท่านเจ้าพระยายมราช

โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
Chaophraya Yommarat Hospital
Map
ประเภทรัฐ (โรงพยาบาลศูนย์ ระดับ A)
ที่ตั้งเลขที่ 950 ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2469
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้อำนวยการนายแพทย์อิทธิพล จรัสโอฬาร
จำนวนเตียง721 เตียง[1]
แพทย์102 คน
บุคลากร1582 คน
เว็บไซต์http://www.yrh.moph.go.th

ประวัติแก้ไข

ปี พ.ศ. 2469 ท่านเจ้าพระยายมราช ได้บริจาคเงินจำนวนเงิน 40,000 บาท สร้างอาคารเจ้าพระยายมราชบริเวณใกล้เทศบาลเมืองสุพรรณบุรีในปัจจุบัน โดยหันไปทางแม่น้ำท่าจีน โดยด้านหลังเป็นถนนจึงรับบริการได้เป็นอย่างดีทางน้ำและทางบก

ปี พ.ศ. 2478 มีนายแพทย์ท่านแรกประจำคือ นายแพทย์เคียน พานิช

ปี พ.ศ. 2485 กระทรวงสาธารณสุขยกระดับโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชเป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีการขยายหอผู้ป่วยอายุรกรรม ศัลยกรรม และสูติกรรม

ปี พ.ศ. 2500 แม่น้ำท่าจีนตื้น โดยเปลี่ยนด้านหน้าโรงพยาบาลเป็นด้านถนนแทน บุตรหลานท่านเจ้าพระยายมราชได้สร้างอนุสาวรีย์ท่านเจ้าพระยายมราชโดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ โดยมีอดีตนายกรัฐมนตรีจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นประธานเปิดอนุสาวรีย์ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นวันโรงพยาบาล

ปี พ.ศ. 2534 โรงพยาบาลมีพื้นที่จำกัดไม่สามารถขยายพื้นได้อีก ทางราชการมอบเงินสร้างอาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน 7 ชั้นจำนวนเงิน 144.34 ล้านบาท

ปี พ.ศ. 2537 อาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน 7 ชั้นเสร็จสิ้น โดยมีห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ห้องผ่าตัดและหอผู้ป่วย

ปี พ.ศ. 2542 การสร้างอาคารพิเศษ 5 ชั้นเสร็จสิ้น โดยกำลังสร้างอาคารอำนวยการแห่งใหม่สูง 11 ชั้น และ อาคารเฉลิมพระบารมี 7 ชั้นโดยงบประมาณจากฯพณฯท่าน บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมตรีคนที่ 21 รวมทั้งการสร้างอาคารบรรหาร แจ่มใสที่ 1-3 เสร็จสิ้น

ปี พ.ศ. 2544 อาคารอำนวยการ 11 ชั้นและอาคารเฉลิมพระบารมี 7 ชั้นเสร็จสิ้น โดยวันที่ 4 กรกฎาคมในปีเดียวกันได้ยกระดับเป็นโรงพยาบาลขนาด 503 เตียง

ปี พ.ศ. 2545 ได้ยกระดับเป็นโรงพยาบาลขนาด 623 เตียง สร้างสำนักงานปฏิบัติการที่ชั้น 4 อาคารอุบัติเหตุ

ปี พ.ศ. 2547 ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเด็กเตาะแตะและผู้สูงอายุ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปี พ.ศ. 2548 ได้เปิดศูนย์พื่งได้ ช่วยเหลือผู้มีความทุกข์จากเหตุการณ์ต่างๆ

ปี พ.ศ. 2550 ปรับปรุงอาคารพิเศษบรรหาร แจ่มใสที่ 2 ให้ทันสมัย โดยชั้น 1 เป็นศูนย์กักกันผู้ติดเชื้ออันตราย เปิดศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุประจำภาคตะวันตก มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ชั้น 1 อาคารอำนวยการเดิม

ปี พ.ศ. 2551 เปิดศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย บริเวณชั้น 4 อาคารอุบัติเหตุ รวมทั้งย้ายศูนย์บริจาคโลหิตไปอยู่ชั้น 4 สร้างห้องส่องกล้องระบบทางเดินหายใจที่ชั้น 3 เริ่มสร้างศูนย์เอกซเรย์คอมพืวเตอร์แห่งใหม่ที่อาคารอำนวยการเดิมชั้น 1 ปรับปรุงการให้บริการทางการแพทย์โดยระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย

ปี พ.ศ. 2552 ได้รับมาตรฐานการบริการ HA

ปี พ.ศ. 2553 การสร้างศูนย์บริจาคโลหิตไปอยู่ชั้น 4 สร้างห้องส่องกล้องระบบทางเดินหายใจที่ชั้น 3 ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แห่งใหม่ที่อาคารอำนวยการเดิมเสร็จสิ้น

ปี พ.ศ. 2559 การก่อสร้างอาคารสนับสนุนบริการเสร็จสิ้น

ปี พ.ศ. 2562 เปิดอาคารผู้ป่วยนอกและศูนย์โรคหัวใจ เริ่มการผ่าตัดหัวใจเป็นครั้งแรก

สถานที่ภายในโรงพยาบาลแก้ไข

อาคารเจ้าพระยายมราชแก้ไข

เป็น ศูนย์แพทย์แผนไทยและพิพิธภัณฑ์เจ้าพระยายมราช

อาคารอำนวยการ 11 ชั้นแก้ไข

ชั้น B ห้องเก็บเวชระเบียน, ศูนย์ข้อมูลการแพ้ยาผู้ป่วย

ชั้น 1 ห้องเวชระเบียน เบอร์ 1, ห้องตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าและฉีดยา เบอร์ 2, ห้องตรวจนอกเวลาราชการ เบอร์ 4, ห้องตรวจอายุรกรรมทั่วไป เบอร์ 3-7, ห้องตรวจประกันสังคม เบอร์ 8, ห้องตรวจแพทย์แผนไทย เบอร์ 9, ห้องจ่ายยา เบอร์ 11, ศูนย์แพ้ยา เบอร์ 11/2, ห้องจ่ายเงิน เบอร์ 12, ห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ เบอร์ 15, ห้องปฏิบัติการผู้ป่วยนอก เบอร์ 18

ชั้น 2 ห้องตรวจสอบสิทธิ์ เบอร์ 20, ห้องตรวจกุมารเวชกรรม เบอร์ 21, ห้องตรวจศัลยกรรมทั่วไปและศัลยกรรมพิเศษ เบอร์ 22-24, ห้องผ่าตัดเล็ก(กลุ่มงานศัลยกรรม) เบอร์ 27, ห้องจ่ายยาชั้น 2 เบอร์ 28, ห้องจ่ายเงินชั้น 2 เบอร์ 29

ชั้น 3 ห้องตรวจทันตกรรมและทันตกรรมนอกเวลาราชการ เบอร์ 32, ห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน (นอนโรงพยาบาล)

ชั้น 4 หอผู้ป่วยอายุกรรมหญิง,หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุกรรม 1 (Intermediate 4) และหอผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit)

ชั้น 5 หอผู้ป่วยอายุกรรมชาย, หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม 2 (Intermediate 5)

ชั้น 6 หอผู้ป่วยตา หู คอ จมูกและพระสงฆ์อาพาต

ชั้น 7 ตึกพิเศษอายุรกรรม

ชั้น 8 ห้องผู้อำนวยการ, สำนักงานเลขานุการ, ห้องรองผู้อำนวยการ, ฝ่ายบริหารทั่วไป, ฝ่ายการเจ้าหน้าที่, ฝ่ายธุรการ, ฝ่ายการเงินและบัญชี, ฝ่ายพัสดุและบำรุงรักษา, กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ, ห้องประชุม 8/1, ห้องประชุม 8/2

ชั้น 9 ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศ, ศูนย์คอมพิวเตอร์และฝ่ายเทคโนโลยี,ฝ่ายโสตและทัศนศึกษา, งานอบรมและพัฒนาบุคลากร, ห้องสมุด, ห้องประชุมขุนช้าง, ห้องประชุมขุนแผน, ห้องประชุมนางพิม

ชั้น 10 ห้องประชุม ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา

อาคารอุบัติเหตุ 7 ชั้นแก้ไข

ชั้น 1 ห้องประชาสัมพันธ์, ห้องเวชระเบียนอาคารอุบัติเหตุ, ห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน, ห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน, ห้องจ่ายเงินผู้ป่วยใน, จุดเจาะเลือดที่ 2, ห้องเอกซเรย์ 107, ห้องอัลตราซาวน์ 111, ศูนย์เปล, ศูนย์ ERT

ชั้น 2 ห้องผ่าตัดใหญ่-วิสัญญี

ชั้น 3 ห้องส่องกระเพาะอาหาร, ห้องส่องระบบทางเดินหายใจ, หน่วยไตเทียม, หออภิบาลผู้ป่วยหนักอายุรกรรม (ICU Med), หออภิบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรม (ICU Sur)

ชั้น 4 ศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติ สำนักงานสุพรรณบุรีและธนาคารเลือด, องค์กรแพทย์, ศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ชั้น 5 หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1-2

ชั้น 6 หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงและเด็ก 1-2

ชั้น 7 หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุชาย, หออภิบาลผู้ป่วยหนักอุบัติเหตุ (ICU Trauma)

อาคารเฉลิมพระบารมี 7 ชั้นแก้ไข

ชั้น 1 ห้องตรวจสูติ-นรีเวช-ANC

ชั้น 2 ห้องคลอด, ห้องผ่าตัดความดันอากาศแรงดันลบ (OR COVID-19)

ชั้น 3 หอผู้ป่วยเด็กแรกเกิด, หออภิบาลผู้ป่วยหนักเด็กแรกเกิด (NICU)

ชั้น 4-5 หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม, หออภิบายผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม (PICU ชั้น 5), ศูนย์โรคไข้เลือดออก(ชั้น 5)

ชั้น 6 หอผู้ป่วยหลังคลอด

ชั้น 7 หอผู้ป่วยนรีเวชกรรม

อาคารออร์โธปิดิกส์แก้ไข

ชั้น 1 ห้องเอกซเรย์ 112, สำนักงานรังสีวิทยา

ชั้น 2 หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ชาย

ชั้น 3 หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์หญิงและเด็ก

ชั้น 4 หอผู้ป่วยเคมีบำบัด

อาคารสนับสนุนบริการทางการแพทย์ (11 ชั้น)แก้ไข

ชั้น 1 กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู, หน่วยฝังเข็ม

ชั้น 2 กลุ่มงานกายภาพบำบัด, หน่วยกายอุปกรณ์

ชั้น 3 กลุ่มงานโภชนาศาสตร์

ชั้น 4 โรงครัว

ชั้น 5 ฝ่ายการพยาบาล, งานควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อ (IC), ศูนย์แสงส่องใจ (Palliative Care), กลุ่มงานวิศวกรรมทางการแพทย์, ศูนย์เครื่องมือแพทย์

ชั้น 6 คลังเวชภัณฑ์กลุ่มงานเภสัชกรรม

ชั้น 7 คลังยาและกลุ่มงานเภสัชกรรม

ชั้น 9 กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม, กลุ่มงานเวชกรรมสังคม, กลุ่มงานสุขศึกษา

อาคารผู้ป่วยนอกและศูนย์โรคหัวใจ (7 ชั้น)แก้ไข

ชั้น 1 ห้องเวชระเบียนผู้ป่วยนอก, ห้องตรวจอายุรกรรมพิเศษ เบอร์ 2-9, ห้องตรวจโรคเลือดและโรคมะเร็ง เบอร์ 10-11, ห้องให้คำปรึกษา เบอร์ 12-13, ห้องศูนย์รับบริจาคอวัยวะ เบอร์ 16, ศูนย์ Admit, งานสังคมสงเคราะห์, สำนักงานมูลนิธิ

ชั้น 2 (ชั้นลอย) งานศูนย์ประกันสุขภาพ, ห้องเวชระเบียนผู้ป่วยใน, คลังยาอาคารผู้ป่วยนอก

ชั้น 3 ห้องตรวจพรีเมี่ยมคลินิก, ห้องตรวจโรคไต, ห้องตรวจจิตเวช

ชั้น 4 ห้องตรวจตา, ห้องตรวจหู คอ จมูก

ชั้น 5 หออภิบาลผู้ป่วหนักโรคหัวใจ (CCU), หออภิบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจ (ISCCU), หอผู้ป่วยกิ่งวิกฤตโรคหัวใจ (ICCU), หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit)

ชั้น 6 ห้องผ่าตัด, ห้องผ่าตัดตา

ชั้น 7 ศูนย์โรคหัวใจ,ห้องตรวจโรคหัวใจ, ห้องปฏิบัติการผ่าตัดสวนหัวใจ

อาคารบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา 2-3-5 ชั้นเป็นตึกพิเศษ (อาคารบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา 2 เป็นหอผู้ป่วยแยกโรค), อาคารหอพักนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, อาคารจอดรถ 7 ชั้น, อาคาร 100 เตียง, บ้านพักเจ้าหน้าที่ (แยกอยู่บริเวณหน้าโรงเรียนสุพรรณภูมิ)

อ้างอิงแก้ไข