ภาษาไทดำ มีผู้พูดทั้งหมด 763,700 คน อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำแดงกับแม่น้ำดำ ทางภาคเหนือของประเทศเวียดนาม 699,000 คน (พ.ศ. 2545) อยู่ในแขวงคำม่วน ประเทศลาว 50,000 คน (พ.ศ. 2538) อยู่ในจังหวัดเลย ประเทศไทย 700 คน (พ.ศ. 2547) อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2428 ลาวโซ่งก็คือคนไทดำกลุ่มแรกที่เข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษานี้ในออสเตรเลีย จีน ฝรั่งเศส และสหรัฐ

ภาษาไทดำ
ꪁꪫꪱꪣꪼꪕꪒꪾ
ออกเสียงกวามไตด๋ำ
ประเทศที่มีการพูดเวียดนาม ลาว ไทย, จีน
ชาติพันธุ์ชาวไทดำ
จำนวนผู้พูด699,000 คนในเวียดนาม
50,000 คนในลาว
700 คนในไทย[1]  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรไทเวียด
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
 เวียดนาม
รหัสภาษา
ISO 639-3blt

ภาษาไทดำอยู่ในตระกูลภาษาขร้า-ไท กลุ่มกัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก อัตราการรู้หนังสือภาษาแม่ราวร้อยละ 1-5 เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยที่สำคัญในเวียดนาม

อ้างอิง แก้

  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: Tai Dam

แหล่งข้อมูลอื่น แก้