กลุ่มภาษากัม-ไท

กลุ่มภาษากัม-ไท (อังกฤษ: Kam–Tai languages), ต้ง-ไท (จีน: 侗台语支) หรือ จ้วง-ต้ง (จีน: 壮侗语族) เป็นสาขาภาษาหลักที่มีการเสนอให้จัดแบ่งขึ้นในตระกูลภาษาขร้า-ไท ประกอบด้วยภาษาของชนชาติต่าง ๆ ในจีนตอนใต้และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณกว่าร้อยละ 80 ของภาษาทั้งหมดในตระกูลดังกล่าว[2]

กลุ่มภาษากัม-ไท
ต้ง-ไท
จ้วง-ต้ง
ภูมิภาค:จีนตอนใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, มณฑลไหหลำ
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
ขร้า-ไท
  • กลุ่มภาษากัม-ไท
ภาษาดั้งเดิม:กัม–ไทดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
กลอตโตลอก:kamt1241[1]

Edmondson & Solnit (1988).[3][4] Hansell (1988)[5] ยอมรับการแบ่งกลุ่มภาษากัม-ไทที่แบ่งเป็นกัม-ฉุ่ยกับไท เพราะเบเป็นพี่น้องของสาขาไทที่มีคำศัพท์คล้ายกัน และเสนอกลุ่ม เบ–ไท ในกลุ่มกัม–ไท Norquest (2015) ก็ยอมรับการจัดแบบนี้ด้วย[6]

อย่างไรก็ตาม Ostapirat (2005)[7] และนักภาษาศาสตร์กลุ่มอื่นไม่ใช้การจัดกลุ่มกัม–ไท

ระวัติ

แก้

Liang & Zhang (1996:18)[8] ประมาณการว่าสาขากัม-ฉุ่ย, ไท และ Hlai เริ่มมีรูปร่างขึอนในประมาณ 5,000 ปีก่อนปัจจุบัน

คำจำกัดความ

แก้

คำว่ากลุ่มภาษาจ้วง-ต้งนิยมใช้ในหมู่นักวิชาการจีนทั้งในด้านภาษาศาสตร์และวัฒนธรรม ในจีน ภาษานี้ใช้พูดโดยชนกลุ่มน้อย เช่น ชาวจ้วง, ปู้อี, กัม (ต้ง), ไท, ฉุ่ย, มูลัม เหมาหนาน และไหล แต่ก็รวมภาษาของชาวไทย, ลาว, ไทใหญ่, นุง, ต่า, โทในเวียดนามและชนกลุ่มอื่น ๆ ที่พบในไทย ลาว พม่า เวียดนาม นักวิชาการจีนให้กลุ่มภาษาจ้วง-ตั้งอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า สาขาแม้ว-เย้า [ต้องการอ้างอิง] นักวิชาการบางส่วนในปัจจุบันใช้คำว่าไท-กะไดแทน และถือว่ากลุ่มภาษานี้ไม่มีความสัมพันธ์ทางพันธุศาสตร์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่น่าจะมีความสัมพันธ์ทางพันธุศาสตร์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และเกิดสมมติฐานออสโตร-ไทขึ้น

ประชากรและการแพร่กระจาย

แก้

ในจีนผู้พูดกลุ่มภาษากัม-ไทพบในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มณฑลกุ้ยโจว หูหนาน ยูนนาน กวางตุ้ง และไหหลำ ทางภาคใต้ของจีน ใน พ.ศ. 2533 มีผู้พูดในภาษาในกลุ่มนี้ทั้งหมด 23,262,000 คน ดังต่อไปนี้

  • ภาษาจ้วง เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด และชาวจ้วงเป็นชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาขร้า-ไทที่ใหญ่ที่สุดของจีนด้วย มีประชากรประมาณ 15,489,630 คน ส่วนใหญ่อยู่ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เขตปกครองตนเองเวนชาน-จ้วงและแม้วในมณฑลยูนนาน รวมทั้งเขตปกครองตนเองเหลียนชาน จ้วง-เย้าในมณพลกวางตุ้ง เขตปกครองตนเองเกวียนตัวหนาน แม้วและต้งในมณฑลกุ้ยโจว และเขตปกครองตนเองเจียงหัว เย้าในมณฑลหูหนาน
  • ภาษาปูยี เป็นภาษาของกลุ่มชนที่พบทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลกุ้ยโจว และยังมีในมณฑลยูนนานและเสฉวน ชาวปูยีมีทั้งหมดประมาณ 2,545,059 คน
  • ภาษากัมหรือภาษาต้ง มีผู้พูดภาษานี้กระจายอยู่ในกุ้ยโจว หูหนาน หูเป่ย และเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มีประมาณ 2,514,014 คน
  • ภาษาไหลหรือภาษาหลี มีประมาณ 1,110,900 คน ส่วนใหญ่พบในเกาะไหหลำ
  • ภาษาไท ส่วนใหญ่พบในมณฑลยูนนาน โดยเฉพาะในสิบสองปันนาและเขตปกครองตนเองเต๋อหงไทและจิงผ่อ
  • ภาษาฉุ่ย ส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลกุ้ยโจวและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มีประมาณ 345,993 คน
  • ภาษามู่หลามหรือภาษามู่เหลา ส่วนใหญ่อยู่ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มีประมาณ 159,328 คน
  • ภาษาเหมาหนาน ส่วนใหญ่อยูในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและมณฑลกุ้ยโจว มีประมาณ 71,968 คน
  • ภาษาลินเกา อยู่ในเกาะไหหลำ

จุดกำเนิด ประวัติ และลักษณะทั่วไป

แก้

ขอบเขตการแพร่กระจายของภาษาในกลุ่มนี้เริ่มจากทางตะวันตกของยูนนานไปจนถึงกวางตุ้งและเกาะไหหลำ ผู้พูดส่วนใหญ่รวมตัวเป็นกลุ่มก้อนท่ามกลางชาวจีนฮั่นหรือชนกลุ่มน้อยอื่นๆ มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สืบทอดมาด้วยภาษาของตนเองซึ่งน่าจะเริ่มต้นมาจากภาษากัม-ไทดั้งเดิม ชาวเยว่ที่เคยแพร่หลายทางตอนใต้ของจีนสมัยโบราณมีภาษาที่มีบรรพบุรุษเดียวกับภาษาในกลุ่มนี้

เยว่เป็นชื่อทั่วไปที่ใช้เรียกกลุ่มชนที่มีความสัมพันธ์กับชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ที่อยู่ในจีนตอนใต้มาเป็นเวลานาน เนื่องจากมีหลายสาขา เยว่จึงเคยมีชื่อเรียกว่าไป่เยว่ (เยว่ร้อยจำพวก) ในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยโบราณของจีนซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่มาก ชนกลุ่มเยว่ในบริเวณต่างกันมีชื่อเรียกต่างกันตั้งแต่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีนไปจนถึงตะวันออกเฉียงเหนือในพม่ามีชาวเยว่หลายกลุ่ม เช่น หวู่เยว่ (Wuyue 吳越), ยูเยว่ (Yuyue 於越), โอวเยว่หรือเยว่ตะวันออก (Ouyue 甌越), หนานเยว่ (Nanyue 南越/南粵), ซีโอว (Xi'ou 西甌), หลัวเยว่ (Luoyue 雒越/駱越), หยางเยว่ (Yangyue 揚越), หมิ่นเยว่ (Minyue 閩越), ชานเยว่ (Shanyue 山越), กุยเยว่ และเตียนเยว่ (Dianyue 滇越)

ในช่วงสมัยราชวงศ์ฉินจนถึงราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในหมู่ชาวไป่เยว่ในจีนตอนใต้ซึ่งเกิดจากการสู้รบระหว่างชาวไป่เยว่กับรัฐบาลกลางทำให้มีการจัดการปกครองขึ้นใหม่ มีการอพยพของทหารจีนจากตอนเหนือเข้ามา ชาวเยว่เริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มแยกต่างหากจากผู้อพยพเข้ามาใหม่ เกิดการใช้ชื่อเรียกชาวเยว่ในแต่ละที่เป็นการเฉพาะ คำว่าเยว่จึงหายไปจากประวัติศาสตร์จีน

หลังจากยุคราชวงศ์ฮั่นประมาณพุทธศตวรรษที่ 8 มีชื่อใหม่ เช่น วูฮู ลื้อ และลาวเกิดขึ้น เพื่อใช้เรียกกลุ่มชาวไป่เยว่ที่แตกต่างกัน มีความเห็นที่แตกต่างกันมากในหมู่นักประวัติศาสตร์จีนเกี่ยวกับต้นกำเนิดของคำว่าวูฮู คำว่าลื้อและลาวเริ่มใช้ในพุทธศตวรรษที่ 8-11 ใช้เรียกชาวเยว่ที่อยู่ทางตะวัตกเฉียงใต้ของจีน ในสมัยราชวงศ์ถังมีชื่อของกลุ่มชนลาวกว่า 20 ชื่อ เช่นลาวนานผิง ลาวเจียนนาน ลาววูฮู ลาวปาโจว ลาวอี้โจว ลาวกุ้ยโจว และลาวฉาน

คำว่าจ้วงปรากฏครั้งแรกในหนังสือ A History of the Local Administration in Guangxi เขียนโดย Fan Chengda ในสมัยราชวงศ์ซ้องใต้ แต่โดยมากมักใช้ปะปนกับคำว่าลาว ในกว่างซี คำว่าจ้วงใช้เรียกปนกับพวกลื้อจนถึงสมัยราชวงศ์หมิง ต่อมาจึงใช้คำว่าจ้วงเรียกลูกหลานของกลุ่มชนปู้จ้วงที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกวางสี ทางใต้ของกุ้ยโจวและตะวันตกของกวางตุ้ง

อ้างอิง

แก้
  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Kam–Tai". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. Ethnologue.com
  3. Edmondson, Jerold A. and David B. Solnit, editors. 1988. Comparative Kadai: Linguistic studies beyond Tai. Summer Institute of Linguistics and the University of Texas at Arlington Publications in Linguistics, 86. Dallas: Summer Institute of Linguistics and the University of Texas at Arlington. vii, 374 p.
  4. Edmondson, Jerold A. and David B. Solnit, editors. 1997. Comparative Kadai: the Tai branch. Summer Institute of Linguistics and the University of Texas at Arlington Publications in Linguistics, 124. Dallas: Summer Institute of Linguistics and the University of Texas at Arlington. vi, 382 p.
  5. Hansell, Mark. 1988. The Relation of Be to Tai: Evidence from Tones and Initials. In Comparative Kadai: Linguistic studies beyond Tai. Edited by Jerold A. Edmondson and David B. Solnit. Summer Institute of Linguistics and The University of Texas at Arlington Publications in Linguistics No. 86: 239-288.
  6. Norquest, Peter. 2015. A Phonological Reconstruction of Proto-Hlai. Leiden: Brill.
  7. Ostapirat, Weera [วีระ โอสถาภิรัตน์]. (2005). "Kra–Dai and Austronesian: Notes on phonological correspondences and vocabulary distribution", pp. 107–131 in Sagart, Laurent, Blench, Roger & Sanchez-Mazas, Alicia (eds.), The Peopling of East Asia: Putting Together Archaeology, Linguistics and Genetics. London/New York: Routledge-Curzon.
  8. Liang Min 梁敏 & Zhang Junru 张均如. 1996. Dongtai yuzu gailun 侗台语族概论 / An introduction to the Kam–Tai languages. Beijing: China Social Sciences Academy Press 中国社会科学出版社. ISBN 9787500416814
  • Edmondson, J. A., & Solnit, D. B. (eds.) (1988). Comparative Kadai: linguistic studies beyond Tai. Summer Institute of Linguistics publications in linguistics, no. 86. Arlington, TX: Summer Institute of Linguistics. ISBN 0-88312-066-6
  • Liang Min 梁敏 & Zhang Junru 张均如. 1996. Dongtai yuzu gailun 侗台语族概论 / An introduction to the Kam–Tai languages. Beijing: China Social Sciences Academy Press 中国社会科学出版社. ISBN 9787500416814
  • Ni Dabai 倪大白. 1990. Dongtai yu gailun 侗台语概论 / An introduction to the Kam-Tai languages. Beijing: Central Nationalities Research Institute Press 中央民族学院出版社.