เทศมณฑล (ไต้หวัน)

เทศมณฑล[หมายเหตุ 1] หรือในรัฐธรรมนูญเรียกว่า hsien (เซี่ยน)[1] เป็นหน่วยการปกครองประเภทหนึ่งในสาธารณรัฐจีน (ประเทศไต้หวัน) ตามโครงสร้างการบริหารของไต้หวัน เทศมณฑลอยู่ในระดับเดียวกับนครภายใต้มณฑล

เทศมณฑล
[หมายเหตุ 1]
เทศมณฑลแสดงด้วยพื้นที่สีเขียว
หมวดหมู่นครปกครองโดยตรง เทศมณฑล และนครภายใต้มณฑล
ที่ตั้งพื้นที่เสรีของสาธารณรัฐจีน
จำนวน13
ประชากร13,089–1,272,939 คน
พื้นที่29–4629 ตร.กม.
การปกครอง
  • องค์การบริหารเทศมณฑล
  • สภาเทศมณฑล
หน่วยการปกครองนคร/เมือง/ตำบล
เทศมณฑล
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ

เทศมณฑลเคยอยู่ภายใต้การปกครองของมณฑล แต่ในปี 1998 หน่วยงานการบริหารของมณฑลก็ได้รับการปรับปรุงให้คล่องตัวขึ้นและลดขนาดให้เป็นองค์กรที่ไม่มีอำนาจปกครองตนเอง จนปี 2018 หน่วยงานการบริหารของมณฑลทั้งหมดก็ได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ[2][3] ทำให้ในปัจจุบัน เทศมณฑล และนครภายใต้มณฑล (ซึ่งเปลี่ยนชื่อเรียกให้สั้นลงเป็น "นคร") ถือเป็นเขตการปกครองระดับบนสุดที่กำกับโดยรัฐบาลกลางของไต้หวัน

ประวัติ แก้

เขตการปกครองที่เรียกว่า เซี่ยน () ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 1661 โดยราชอาณาจักรตงหนิง ต่อมาจักรวรรดิชิงที่เข้ามาปกครองไต้หวัน ก็ได้รับเขตการปกครองประเภทนี้มาใช้ ด้วยจำนวนชาวจีนฮั่นที่เพิ่มขึ้นในไต้หวัน จำนวนเทศมณฑลก็เพิ่มขึ้นตามเวลาด้วยเช่นกัน เมื่อสิ้นสุดยุคจักรวรรดิชิง ขณะนั้นในไต้หวันมีเทศมณฑลจำนวน 11 แห่ง มิชชันนารีโปรเตสแตนต์ในจีนเริ่มใช้คำว่า hien เป็นอักษรโรมัน[4]

ไต้หวันถูกญี่ปุ่นยึดครองตามสนธิสัญญาชิโมโนเซกิในปี 1895 ทำให้ในช่วงที่ไต้หวันอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ต้องเปลี่ยนระบบการแบ่งเขตการปกครองไปเป็นระบบของญี่ปุ่น เดือนกันยายน 1945 ไต้หวันแบ่งออกเป็น 8 จังหวัด ( และ )

หลังจากที่ญี่ปุ่นคืนไต้หวันให้กับจีนเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1945 จังหวัดต่าง ๆ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น 8 เทศมณฑล () โดยใช้ชื่อเดิม และอยู่ภายใต้มณฑลไต้หวันของสาธารณรัฐจีน[5] การอ่านชื่อของเทศมณฑลต่าง ๆ ได้เปลี่ยนจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาจีนกลาง โดยยังคงตัวอักษรจีนของญี่ปุ่นไว้ อนึ่ง นครที่อยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดในสมัยที่ญี่ปุ่นปกครอง ส่วนใหญ่ได้รับการเปลี่ยนแปลงเป็นนครภายใต้มณฑล ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑลใด ๆ

การเปลี่ยนแปลงของเทศมณฑลระหว่างปี 1945 กับ 1950
จังหวัดของญี่ปุ่น
(ก่อนปี 1945)
เทศมณฑล
(1945–1950)
เทศมณฑลในปี 1950
คีวจิไต โรมาจิ ทับศัพท์ อักษรจีน เวด-ไจลส์ ทับศัพท์
臺北州 Taihoku ไทโฮกุ 臺北縣 Taipei ไถเป่ย์ ไทเป, อี๋หลาน
新竹州 Shinchiku ชินจิกุ 新竹縣 Hsinchu ซินจู๋ ซินจู๋, เหมียวลี่, เถาหยวน
臺中州 Taichū ไทจู 臺中縣 Taichung ไถจง จางฮว่า, หนานโถว, ไถจง
臺南州 Tainan ไทนัง 臺南縣 Tainan ไถหนาน เจียอี้, ไถหนาน, ยฺหวินหลิน
高雄州 Takao ทากาโอะ 高雄縣 Kaohsiung เกาสฺยง เกาสฺยง, ผิงตง
花蓮港廳 Karenkō คาเร็งโก 花蓮縣 Hualien ฮวาเหลียน ฮวาเหลียน
臺東廳 Taitō ไทโต 臺東縣 Taitung ไถตง ไถตง
澎湖廳 Hōko โฮโกะ 澎湖縣 Penghu เผิงหู เผิงหู

ปลายปี 1949 รัฐบาลสาธารณรัฐจีนแพ้สงครามกลางเมืองจีนและย้ายที่ตั้งรัฐบาลไปที่ไทเป ไต้หวัน ต่อมาปี 1950 เทศมณฑลในไต้หวันได้มีการจัดระเบียบใหม่ เทศมณฑลทางตะวันตกของไต้หวันที่มีประชากรหนาแน่นบางเทศมณฑลได้ถูกแบ่งออกเป็นสองถึงสามเทศมณฑล ส่งผลให้จำนวนเทศมณฑลเพิ่มขึ้นเป็น 16 แห่ง หลังจบสงคราม รัฐบาลสาธารณรัฐจีนได้ควบคุมเกาะนอกชายฝั่งของจีนแผ่นดินใหญ่เพียงไม่กี่เกาะเท่านั้น ซึ่งดินแดนเหล่านี้ได้รับการจัดระเบียบใหม่เป็นสองเทศมณฑล ได้แก่ จินเหมิน และเหลียนเจียง ซึ่งขึ้นกับมณฑลฝูเจี้ยน จำนวนเทศมณฑลที่อยู่ภายใต้มณฑลไต้หวัน 16 แห่ง และมณฑลฝูเจี้ยน 2 แห่ง ยังคงมีจำนวนเท่าเดิมจนถึงต้นทศวรรษ 1990

รายชื่อเทศมณฑลตั้งแต่ปี 1955 ถึง 2010
ชื่อ อักษรจีน ชื่อ อักษรจีน ชื่อ อักษรจีน
จางฮว่า 彰化縣 เหลียนเจียง 連江縣 ไถหนาน 臺南縣
เจียอี้ 嘉義縣 เหมียวลี่ 苗栗縣 ไทเป 臺北縣
ซินจู๋ 新竹縣 หนานโถว 南投縣 ไถตง 臺東縣
ฮวาเหลียน 花蓮縣 เผิงหู 澎湖縣 เถาหยวน 桃園縣
เกาสฺยง 高雄縣 ผิงตง 屏東縣 อี๋หลาน 宜蘭縣
จินเหมิน 金門縣 ไถจง 臺中縣 ยฺหวินหลิน 雲林縣

หลังการปฏิรูปประชาธิปไตยในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ได้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับข้อเสนอการปฏิรูปฝ่ายบริหารมากขึ้น และทำให้เทศมณฑลที่มีประชากรหนาแน่นบางแห่งได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นนครปกครองโดยตรง (หรือเทศบาลพิเศษ) ในปี 2010 และ 2014 ซึ่งเทศมณฑลดังกล่าวมีดังนี้

ปัจจุบัน มีการจัดตั้งเทศมณฑลตาม รัฐบัญญัติการปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทยไต้หวัน รัฐบัญญัตินี้ยังมีมาตราพิเศษที่ให้เทศมณฑลที่มีประชากรมากกว่าสองล้านคน มีสิทธิพิเศษบางประการในการปกครองท้องถิ่นที่ออกแบบมาสำหรับนครปกครองโดยตรง มักเรียกเทศมณฑลประเภทนี้ว่า กึ่งนครปกครองโดยตรง (準直轄市) โดยคำนี้ใช้กับซินเป่ย์และเถาหยวนก่อนที่จะยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรง

เทศมณฑลในปัจจุบัน แก้

ปัจจุบันมี 13 เทศมณฑล ดังนี้[6]

ชื่อ อักษรจีน ฮั่นยฺหวี่
พินอิน
เวด-ไจลส์ ทงย่ง
พินอิน
เป่อ่วยจี
ภาษาฮกเกี้ยน
พักฟ้าซื้อ
ภาษาฮากกา
ที่ตั้งศาลาว่าการ มณฑล
(ในนาม)
จางฮว่า 彰化縣 Zhānghuà Chang¹-hua⁴ Jhanghuà Chiang-hòa หรือ
Chiong-hòa
Chông-fa นครจางฮว่า 彰化市 มณฑลไต้หวัน
เจียอี้ 嘉義縣 Jiāyì Chia¹-i⁴ Jiayì Ka-gī Kâ-ngi นครไท่เป่า 太保市 มณฑลไต้หวัน
ซินจู๋ 新竹縣 Xīnzhú Hsin¹-chu² Sinjhú Sin-tek Sîn-chuk นครจู๋เป่ย์ 竹北市 มณฑลไต้หวัน
ฮวาเหลียน 花蓮縣 Huālián Hua¹-lien² Hualián Hoa-lian หรือ
Hoa-liân
Fâ-lièn นครฮวาเหลียน 花蓮市 มณฑลไต้หวัน
จินเหมิน 金門縣 Jīnmén Chin¹-mên² Jinmén Kim-mn̂g Kîm-mùn เมืองจินเฉิง 金城鎮 มณฑลฝูเจี้ยน
เหลียนเจียง 連江縣 Liánjiāng Lien²-chiang¹ Liánjiang Liân-kang Lièn-kông ตำบลหนานกัน 南竿鄉 มณฑลฝูเจี้ยน
เหมียวลี่ 苗栗縣 Miáolì Miao²-li⁴ Miáolì Biâu-le̍k หรือ
Miâu-le̍k
Mèu-li̍t นครเหมียวลี่ 苗栗市 มณฑลไต้หวัน
หนานโถว 南投縣 Nántóu Nan²-tʻou² Nántóu Lâm-tâu Nàm-thèu นครหนานโถว 南投市 มณฑลไต้หวัน
เผิงหู 澎湖縣 Pénghú Pʻêng²-hu² Pénghú Phîⁿ-ô͘  หรือ
Phêⁿ-ô͘
Phàng-fù นครหม่ากง 馬公市 มณฑลไต้หวัน
ผิงตง 屏東縣 Píngdōng Pʻing²-tung¹ Píngdong Pîn-tong Phìn-tûng นครผิงตง 屏東市 มณฑลไต้หวัน
ไถตง 臺東縣 Táidōng Tʻai²-tung¹ Táidong Tâi-tang Thòi-tûng นครไถตง 臺東市 มณฑลไต้หวัน
อี๋หลาน 宜蘭縣 Yílán I²-lan² Yílán Gî-lân Ngì-làn นครอี๋หลาน 宜蘭市 มณฑลไต้หวัน
ยฺหวินหลิน 雲林縣 Yúnlín Yün²-lin² Yúnlín Hûn-lîm Yùn-lìm นครโตวลิ่ว 斗六市 มณฑลไต้หวัน

จากมาตรา 9 ในบทบัญญัติเพิ่มเติมของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีน ซึ่งวางระเบียบโดยรัฐบัญญัติการปกครองท้องถิ่น แต่ละเทศมณฑลจะมีคณะบริหารที่นำโดยผู้ว่าการเทศมณฑลที่มาจากเลือกตั้ง และสภาเทศมณฑลที่มาจากเลือกตั้งซึ่งทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ[7]

ดูเพิ่ม แก้

ภาพรวมของเขตการปกครองของสาธารณรัฐจีน
สาธารณรัฐจีน
พื้นที่เสรี[ก] แผ่นดินใหญ่[ข]
นครปกครองโดยตรง[ค][ง] มณฑล[จ] ไม่ได้ปกครอง[ฉ]
นคร[ค][ง][ช] เทศมณฑล[ค]
เขต[ซ] เขต
ชนพื้นเมือง
ภูเขา
[ค]
เขต[ซ] นคร
ภายใต้
เทศมณฑล
[ค][ง]
เมือง[ค][ซ] ตำบล[ค][ซ] ตำบล
ชนพื้นเมือง
ภูเขา
[ค][ซ]
หมู่บ้านในเมือง[ด] หมู่บ้านชนบท[ด]
ละแวก
หมายเหตุ
  1. เรียกอีกอย่างว่า พื้นที่ไต้หวัน หรือ พื้นที่ไถ-หมิ่น (จีน: 臺閩地區; แปลตรงตัว: "เขตไต้หวัน–ฝูเจี้ยน")
  2. แผ่นดินใหญ่ในที่นี้ประกอบด้วย จีนแผ่นดินใหญ่ ทิเบต และมองโกเลียนอก (ก่อนหน้านี้)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 มีฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมาจากการเลือกตั้ง
  4. 4.0 4.1 4.2 นครปกครองโดยตรง, นคร, และนครภายใต้เทศมณฑล ทั้งหมดนี้ในภาษาจีนเรียกว่า ชื่อ (จีน: ; พินอิน: shì; แปลตรงตัว: "นคร")
  5. ปัจจุบันเป็นมณฑลในนาม การปกครองระดับมณฑลได้ถูกยกเลิกแล้ว
  6. จากรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีน พื้นที่แผ่นดินใหญ่มีโครงสร้างการปกครองเดียวกันกับพื้นที่เสรี ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยมีโครงสร้างที่แตกต่างกับของสาธารณรัฐจีน
  7. บางครั้งก็เรียกว่า นครภายใต้มณฑล (จีน: 省轄市) เพื่อที่จะแยกความแตกต่างจาก นครปกครองโดยตรง และนครภายใต้เทศมณฑล
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 มีผู้อำนวยการเขตที่มาจากการแต่งตั้ง เพื่อบริหารจัดการกิจการท้องถิ่น และดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานที่สูงกว่า
  9. 9.0 9.1 มีผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อบริหารจัดการกิจการท้องถิ่น และดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานที่สูงกว่า

อ้างอิง แก้

  1. "Laws & Regulations Database of The Republic of China". law.moj.gov.tw. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2019.
  2. "Local governments". Office of the President Republic of China (Taiwan). สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2020.
  3. Sarah Shair-Rosenfield (พฤศจิกายน 2020). "Taiwan combined" (PDF). The University of North Carolina at Chapel Hill. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2021.
  4. Davidson, James W. (1903). The Island of Formosa, Past and Present: History, People, Resources, and Commercial Prospects: Tea, Camphor, Sugar, Gold, Coal, Sulphur, Economical Plants, and Other Productions. London and New York: Macmillan & Co. p. 93. OL 6931635M.
  5. "Rezoning Taiwan". Taiwan Today. 1 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2020.
  6. "Government organizations : Local governments". Office of the President (Taiwan) (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2017.
  7. "ROC introduction: Government organizations: Local governments: County (City) Level". Office of the President (Taiwan). สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2021.

หมายเหตุ แก้

คำในภาษาพื้นเมือง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้