ไถจง
นครไถจง (จีนตัวย่อ: 台中市; จีนตัวเต็ม: 臺中市; อังกฤษ: Taichung City) เป็นนครปกครองโดยตรงในภาคกลางของไต้หวัน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 มีประชากรราว 2.8 ล้านคน นับเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่สองของไต้หวัน[6] ทั้งเป็นแกนกลางของเขตมหานครไถจง–จางฮว่า (台中彰化都會區) ซึ่งเป็นเขตมหานครที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ นครในปัจจุบันนั้นตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2010 ด้วยการรวมเทศมณฑลไถจง (臺中縣) เข้ากับนครไถจงเดิมเพื่อเป็นนครปกครองโดยตรงแห่งใหม่[7]
นครไถจง 臺中市[a] | |
---|---|
ตามเข็มนาฬิกาจากบน: ทิวทัศน์เมืองไถจง, สถานีรถไฟไถจง, สนามกีฬาเบสบอลไถจงอินเตอร์คอนติเนนตัล, ทิวเขาหนานหู, ฟาร์มกังหันลมในไถจง, โบสถ์น้อยลูซเมโมเรียล, พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ | |
ที่มาของชื่อ: ญี่ปุ่น: 台中 , โรมาจิ:Taichū ความหมาย: ไต้หวันกลาง | |
สมญา: เมืองแห่งวัฒนธรรม (文化城) | |
พิกัด: 24°09′N 120°40′E / 24.150°N 120.667°E | |
รัฐ | สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) |
จัดตั้งเป็นนครปกครองโดยตรง | พ.ศ. 2553 (ปีสาธารณรัฐที่ 99) |
ที่ตั้งศาลาว่าการ | อำเภอซีถุน |
อำเภอ | |
การปกครอง | |
• องค์กร | |
• นายกเทศมนตรี | หลู เซี่ยวเยี่ยน (盧秀燕) (ก๊กมินตั๋ง) |
พื้นที่[1][2] | |
• นครปกครองโดยตรง | 2,214.90 ตร.กม. (855.18 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 492 ตร.กม. (190 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | 6 จาก 22 |
ประชากร (มกราคม 2023)[3] | |
• นครปกครองโดยตรง | 2,819,798 คน |
• อันดับ | 2 จาก 22 |
• ความหนาแน่น | 1,300 คน/ตร.กม. (3,300 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง[4] | 2,635,000 คน |
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 5,400 คน/ตร.กม. (14,000 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานไต้หวัน (國家標準時間)) |
รหัสไปรษณีย์ | 400-439 |
รหัสพื้นที่ | (0)4 |
รหัส ISO 3166 | TW-TXG |
นกสัญลักษณ์ | นกหางรำแก้มขาว (白耳画眉 , Heterophasia auricularis)[5] |
ดอกไม้สัญลักษณ์ | เชอร์รีญี่ปุ่น (山樱花 , Prunus serrulata)[5] |
ต้นไม้สัญลักษณ์ | สนขาวไต้หวัน (台湾五叶松 , Pinus morrisonicola)[5] |
เว็บไซต์ | english.taichung.gov.tw |
นครไถจง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 臺中市 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 台中市 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "Tai[wan] Central" | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คันจิ | 台中市 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คีวจิไต | 臺中市 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คานะ | たいちゅうし | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
นครไถจงตั้งอยู่ ณ แอ่งไถจง (臺中盆地) ชื่อ "ไถจง" อันแปลว่า "ไต้หวันกลาง" นั้นตั้งขึ้นในช่วงที่ญี่ปุ่นครองไต้หวัน นครนี้ยังมีสมญาว่า "เกียวโตแห่งฟอร์โมซา" (Kyoto of Formosa) เพราะสงบเงียบและงดงามดั่งนครเกียวโตของญี่ปุ่น[8] เดิมนครไถจงประกอบด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งกระจัดกระจาย แต่ญี่ปุ่นตั้งใจจะรวมเข้าเป็นนครเพื่อพัฒนา ทำให้ท้องที่นี้กลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมหลักในเวลาต่อมา[9] นครนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานที่ทางวัฒนธรรมหลายแห่ง รวมถึงพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ (國立自然科學博物館), พิพิธภัณฑ์ศิลปากรแห่งชาติไต้หวัน (國立臺灣美術館), โรงละครแห่งชาติไถจง (台中國家歌劇院), หอสมุดข้อมูลข่าวสารสาธารณะแห่งชาติ (國立公共資訊圖書館), วงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งชาติไต้หวัน (國立臺灣交響樂團), สวนสาธารณะไถจง (臺中公園), บ้านสวนอู้เฟิงหลิน (霧峰林家宅園), และวัดมากมาย
เขิงอรรถ
แก้ชื่อในสำเนียงท้องถิ่น
แก้- ↑ • อักษรจีน: 臺中市
- ฮั่นยฺหวี่พินอิน: Táizhōng Shì
- ฮกเกี้ยนสำเนียงไต้หวัน: Tâi-tiong Tshī
- ฮักกาสำเนียงซื่อเสี่ยน: Tǒi-zóng Sii
- ฮักกาสำเนียงไห่ลู่: Toi-zhùng Shi+
อ้างอิง
แก้- ↑ "《中華民國統計資訊網》縣市重要統計指標查詢系統網" (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2016. สืบค้นเมื่อ 11 June 2016.
- ↑ "Demographia World Urban Areas PDF (April 2016)" (PDF). Demographia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 11 June 2016.
- ↑ 各區人口結構 [Population structure by district]. demographics.taichung.gov.tw (ภาษาจีนตัวเต็ม). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-30. สืบค้นเมื่อ 2019-08-08.
- ↑ "Demographia World Urban Areas PDF" (PDF). Demographia. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-03. สืบค้นเมื่อ 2019-11-30.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "市樹、花、鳥介紹" (ภาษาจีน). 臺中市: 臺中市政府農業局. 2014-06-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
- ↑ "民國106年7月戶口統計資料分析". Ministry of the Interior, ROC. 2017-08-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-13. สืบค้นเมื่อ 2018-12-20.
- ↑ "臺中市政府全球資訊網-認識臺中-歷史沿革". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-01-22.
- ↑ 南進台湾. Documentary dated in 1940 (โรมาจิ: Nanshin Taiwan) – via Youtube.
- ↑ Taichung History Map Walk, publish by Center for Digital Cultures,Academia Sinica,2017,p.23. ISBN 9789860546279.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ นครไถจง
- คู่มือการท่องเที่ยว Taichung จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Taichung City Government official website – ในภาษาจีน