นครหนานโถว

นครในเทศมณฑลหนานโถว ประเทศไต้หวัน

นครหนานโถว (จีน: 南投市; พินอิน: Nántóu Shì; เป่อ่วยยี: Lâm-tâu-chhī) เป็นเมืองที่มีสถานะเป็นนครภายใต้เทศมณฑล ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑลหนานโถว ประเทศไต้หวัน ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาปา-กว้าและแม่น้ำเมาหลัว[1] และเป็นเมืองหลวงของเทศมณฑลหนานโถว ชื่อของหนานโถว ( "ใต้") สอดคล้องกับชื่อของเขตเป่ย์โถว ( "เหนือ) ซึ่งเป็นเขตหนึ่งในนครไทเป[2]

นครหนานโถว

南投市

นันโต
สถานที่ต่าง ๆ ในนครหนานโถว
ตราอย่างเป็นทางการของนครหนานโถว
โลโก้
ที่ตั้งของนครหนานโถวในเทศมณฑลหนานโถว
ที่ตั้งของนครหนานโถวในเทศมณฑลหนานโถว
พิกัด: 23°55′N 120°41′E / 23.917°N 120.683°E / 23.917; 120.683
ประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
มณฑลไต้หวัน
เทศมณฑลเทศมณฑลหนานโถว
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีซ่ง ฮฺหวายหลิน (宋懷琳)
พื้นที่
 • ทั้งหมด71.2063 ตร.กม. (27.4929 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ธันวาคม 2014)
 • ทั้งหมด102,314 คน
เขตเวลาUTC+8 (CST)
เว็บไซต์http://www.ntc.gov.tw/
นครหนานโถว
ภาษาจีน南投
สภาเทศมณฑลหนานโถว

ประวัติศาสตร์

แก้

ราชวงศ์ชิง

แก้

ชาวจีนฮั่นเริ่มอพยพเข้ามาในพื้นที่ในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง สมาชิกของตระกูลจางจากจางโจว รวมทั้งตระกูลเจี่ยน (), ตระกูลหลิน และตระกูลเซียว จากอำเภอหนานจิ้งในจางโจว เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน หยาเหมิน (ที่ทำการปกครอง) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1759 ใกล้กับโรงเรียนประถมศึกษาหนานโถวในปัจจุบัน และได้มีการจัดตั้งหนานโถวจวิ้น (หรือจังหวัดหนานโถว[หมายเหตุ 1]) ในปี 1898

จักรวรรดิญี่ปุ่น

แก้
 
แผนที่หนานโถว (ในแผนที่เขียนว่า Nantō) และพื้นที่โดยรอบ (1944)

ในปี 1901 ระหว่างอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ได้มีการจัดตั้งนันโตโช (南投廳, Nanto Chō) ซึ่งเป็นหนึ่งในยี่สิบสำนักงานการปกครองท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นโดยญี่ปุ่น ต่อมาในปี 1909 ส่วนหนึ่งของโทรูกุโช (斗六廳, Toroku Chō) ถูกรวมเข้ากับนันโตโช และในปี 1920 เมืองนันโตได้อยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอนันโต จังหวัดไทชู

สาธารณรัฐจีน

แก้

หลังจากญี่ปุ่นส่งมอบไต้หวันให้แก่สาธารณรัฐจีนในปี 1945 เทศมณฑลหนานโถวได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยแยกออกมาจากเทศมณฑลไถจงในปี 1950 และในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน เมืองหนานโถวก็ได้รับการจัดตั้งให้เป็นที่ตั้งของศาลาว่าการเทศมณฑล เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1957 ศาลาว่าการมณฑลไต้หวันได้ย้ายไปที่หมู่บ้านใหม่จงซิง (中興新村) ทำให้หนานโถวเป็นที่ตั้งของศาลาว่าการมณฑล ต่อมาวันที่ 25 ธันวาคม 1981 หนานโถวได้รับการยกฐานะขึ้นจากก่อนหน้านี้เป็นเมืองให้กลายเป็นนครภายใต้เทศมณฑล[1] ในปี 1999 หนานโถวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ 921 เนื่องจากตั้งอยู่ริมรอยเลื่อนเชอหลงปู้ (車籠埔)[3] ทำให้มีผู้เสียชีวิต 92 ราย[4] และอาคารกว่า 1,000 หลังได้รับความเสียหาย[5]

เขตการปกครอง

แก้

นครหนานโถวในปัจจุบันมีทั้งหมด 34 หมู่บ้านในเมือง (里 หลี่) และ 810 ละแวก (鄰 หลิน) ซึ่งสามารถแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็น 5 เขต ตามการพัฒนาผังเมืองและสภาพทางภูมิศาสตร์

  • หนานโถว (南投)
    • หมู่บ้านหนานโถว (南投里)
    • หมู่บ้านหลงเฉวียน (龍泉里)
    • หมู่บ้านคังโช่ว (康壽里)
    • หมู่บ้านซานหมิน (三民里)
    • หมู่บ้านเหรินเหอ (仁和里)
    • หมู่บ้านฉงเหวิน (崇文里)
    • หมู่บ้านจางเหริน (彰仁里)
    • หมู่บ้านผิงเหอ (平和里)
    • หมู่บ้านเจิ้นซิง (振興里)
    • หมู่บ้านเชียนชิว (千秋里)
    • หมู่บ้านซานเหอ (三和里)
    • หมู่บ้านซานซิง (三興里)
    • หมู่บ้านเจียเหอ (嘉和里)
    • หมู่บ้านเจียซิง (嘉興里)
    • หมู่บ้านจางเหอ (漳和里)
    • หมู่บ้านจางซิง (漳興里)
  • หมู่บ้านใหม่จงซิง (中興新村)
    • หมู่บ้านกวางหมิง (光明里)
    • หมู่บ้านกวางฮฺหวา (光華里)
    • หมู่บ้านกวางหรง (光榮里)
    • หมู่บ้านกวางฮุย (光輝里)
    • หมู่บ้านเน่ย์ซิน (內新里)
    • หมู่บ้านเน่ย์ซิง (內興里)
    • หมู่บ้านหยิงหนาน (營南里)
    • หมู่บ้านหยิงเป่ย์ (營北里)
  • หนานก่าง (南崗)
    • หมู่บ้านฝูซิง (福興里)
    • หมู่บ้านหย่งเฟิง (永豐里)
    • หมู่บ้านซินซิง (新興里)
    • หมู่บ้านผิงชาน (平山里)
  • ปา-กว้าไถตี้ (八卦台地)
    • หมู่บ้านเฟิ่งชาน (鳳山里)
    • หมู่บ้านเฟิ่งหมิง (鳳鳴里)
    • หมู่บ้านฝูชาน (福山里)
    • หมู่บ้านหย่งซิง (永興里)
  • จวินกงเหลียว (軍功寮)
    • หมู่บ้านจวินกง (軍功里)
    • หมู่บ้านตงชาน (東山里)

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

การขนส่ง

แก้
 
สถานีขนส่งหนานโถว

นครหนานโถวมีทางด่วนหมายเลข 3 หรือทางด่วนฟอร์โมซา พาดผ่านตัวเมือง[6]

สถานีขนส่งในเมืองคือ สถานีขนส่งหนานโถว ซึ่งดำเนินการโดยจางฮว่าบัส (Changhua Bus)

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. จวิ้น (郡) เป็นเขตการปกครองในสมัยก่อนที่เทียบเท่ากับจังหวัด

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 南投市簡介 [Brief introduction to Nantou city] (ภาษาจีนตัวย่อ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-29. สืบค้นเมื่อ 2007-02-09.
  2. 地名解說集錦 [Collection of the best place name explanations] (ภาษาจีนตัวย่อ). สืบค้นเมื่อ 2007-02-09.[ลิงก์เสีย]
  3. "Event Report Chi-Chi, Taiwan Earthquake" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2009-02-27. สืบค้นเมื่อ 2021-11-23.
  4. "Mortality of the 921 Earthquake in Nantou and Taichung Counties" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ September 28, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-02-13.
  5. Tsai, K.C.; Chiang Pi Hsiao; Michel Bruneau (March 2000). "Overview of Building Damages in 921 Chi-Chi Earthquake" (PDF). Earthquake Engineering and Engineering Seismology. 2 (1): 93–108. สืบค้นเมื่อ 2007-02-13.
  6. "Freeway No. 3". สืบค้นเมื่อ 2007-06-05.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้