นครฮวาเหลียน
นครฮวาเหลียน (จีน: 花蓮市; พินอิน: Huālián Shì; เวด-ไจลส์: Hua¹-lien² Shih⁴; เป่อ่วยยี: Hoa-lian-chhī หรือ Hoa-liân-chhī) เป็นนครภายใต้เทศมณฑล และศูนย์กลางการปกครองของเทศมณฑลฮวาเหลียน ประเทศไต้หวัน ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของเกาะไต้หวันบนมหาสมุทรแปซิฟิก และมีประชากรจำนวน 106,368 คน[3]
นครฮวาเหลียน 花蓮市 คาเร็งโก | |
---|---|
สถานที่ต่าง ๆ ในนครฮวาเหลียน | |
สมญา: ฮวาชื่อ (花市) | |
ที่ตั้งในเทศมณฑลฮวาเหลียน | |
พิกัด: 23°58′20″N 121°36′23″E / 23.97222°N 121.60639°E | |
ประเทศ | ประเทศไต้หวัน |
มณฑล | มณฑลไต้หวัน |
เทศมณฑล | เทศมณฑลฮวาเหลียน |
การปกครอง | |
• ประเภท | นครภายใต้เทศมณฑล |
• นายกเทศมนตรี | Wei Chia-hsien (ก๊กมินตั๋ง)[1] |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 29.41 ตร.กม. (11.36 ตร.ไมล์) |
ประชากร (ธันวาคม 2014) | |
• ทั้งหมด | 106,368 คน |
• ความหนาแน่น | 3,600 คน/ตร.กม. (9,400 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+8 (CST) |
รหัสไปรษณีย์ | 970 |
เขตการปกครอง | 45 หมู่บ้าน[2] |
เว็บไซต์ | www.hualien.gov.tw |
นครฮวาเหลียน | |||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 花蓮市 | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ชื่อ
แก้จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของเทศมณฑลฮวาเหลียน (花蓮縣志) บันทึกว่าเมืองนี้เดิมเรียก "กีไหล" [Kiray] (จีน: 奇萊; เป่อ่วยยี: Kî-lâi) มาจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งชื่อนี้เกี่ยวข้องกับชาวพื้นเมืองไต้หวันที่ชื่อว่า ชาว Sakiraya[4]
หลังจากที่ไต้หวันตกอยู่ใต้การปกครองของญี่ปุ่นในปี 1895 ผู้สำเร็จราชการไต้หวันได้พยายามเปลี่ยนชื่อเพราะคำว่า "กีไหล" นั้นออกเสียงเหมือนกับคำภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า "ไม่ชอบ" (ญี่ปุ่น: 嫌い; โรมาจิ: kirai) และในท้ายที่สุดก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คาเร็งโก" หรือท่าเรือคาเร็ง (ญี่ปุ่น: 花蓮港; โรมาจิ: Karenkō) ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สาธารณรัฐจีนที่นำโดยก๊กมินตั๋ง ได้รับเอาตัวอักษรคันจิมาใช้เป็นชื่อ แต่ย่อให้สั้นลงเหลือแค่ "คาเร็ง" (ญี่ปุ่น: 花蓮; โรมาจิ: Karen) หรือในภาษาจีนกลางอ่านว่า ฮวาเหลียน
ประวัติศาสตร์
แก้มีชาวสเปนมาสร้างเหมืองทองคำในฮวาเหลียนเมื่อปี 1622 ต่อมาเริ่มมีการตั้งรกรากถาวรเมื่อปี 1851 ชาวนาชาวจีนฮั่นราว 2,200 คนนำโดย หวง อาเฟิ่ง (黃阿鳳) เดินทางจากไทเปมายังเฟิงชวัน (豐川; ปัจจุบันเป็นพื้นที่ใกล้กับสถานีรถไฟฮวาเหลียน) ในปี 1875 มีชาวนาจำนวนที่มากขึ้นซึ่งนำโดย หลิน ชางอัน (林蒼安) เดินทางจากอี๋หลานมาตั้งรกรากที่เฟิงชวัน[ต้องการอ้างอิง]
เมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ได้มีการก่อตั้ง เมืองคาเร็งโก (ญี่ปุ่น: 花蓮港街) ขึ้นในปี 1920[5] ต่อมาในปี 1940 เมืองนี้ก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็น นครคาเร็งโก ขึ้นกับจังหวัดคาเร็งโก
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1945 ญี่ปุ่นได้ส่งมอบไต้หวันให้กับสาธารณรัฐจีนที่อยู่ภายใต้การนำของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ต่อมาในเดือนมกราคม 1946 รัฐบาลก๊กมินตั๋งได้กำหนดให้นครฮวาเหลียนมีฐานะเป็นนครที่อยู่ภายใต้ปกครองของเทศมณฑลฮวาเหลียน และกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการปกครองของเทศมณฑล
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2024 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ใกล้นครฮวาเหลียน[6]
เมืองแฝดและเมืองพี่น้อง
แก้นครฮวาเหลียนเป็นเมืองแฝดกับ[7]
- อุลซัน เกาหลีใต้ (1982)
- โยนากูนิ ญี่ปุ่น (1982)
- แอลบูเคอร์คี (Albuquerque) สหรัฐ (1983)
- เบลวีว (Bellevue) สหรัฐ (1984)
- เอาท์ชอร์น (Oudtshoorn) แอฟริกาใต้ (1985)
นครฮวาเหลียนมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับ[7]
- ทากาจิโฮะ ญี่ปุ่น (2005)
- ไซปัน หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา สหรัฐ (2007)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "KMT's Wei wins Hualien by-election - Taipei Times".
- ↑ "Archived copy" 花蓮市公所-英文版-. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 2014-02-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" 花蓮市公所-英文版-. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-14. สืบค้นเมื่อ 2014-02-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 撒奇萊雅族_認識本族. TAIWAN INDIGENOUS PEOPLES CULTURE PARK (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2015. สืบค้นเมื่อ 3 December 2014.
- ↑ 台灣旅遊景點地圖 - 花蓮縣花蓮市旅遊景點介紹. 旅遊資訊王TravelKing. สืบค้นเมื่อ 17 June 2016.
- ↑ "Taiwan's strongest earthquake in nearly 25 years damages buildings, leaving 4 dead". NPR.
- ↑ 7.0 7.1 "Sister Cities". hualien.gov.tw. Hualien City. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว Hualien จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ นครฮวาเหลียน ที่โอเพินสตรีตแมป