ปั่งงั่วเจ๋ย์
ปั่งงั่วเจ๋ย์ (Bàng-uâ-cê; IPA: /paŋ²¹ ŋua⁵³ ʒɛi²⁴²/) หรือ ผิงฮว่าจื้อ (จีนตัวย่อ: 平话字; จีนตัวเต็ม: 平話字; พินอิน: píng huà zì) หรือ อักษรโรมันภาษาฮกจิว (Hók-ciŭ-uâ Lò̤-mā-cê; จีนตัวย่อ: 福州话罗马字; จีนตัวเต็ม: 福州話羅馬字) เป็นระบบการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับภาษาฮกจิว (ภาษาหมิ่นตะวันออกมาตรฐาน) ที่ออกแบบโดยมิชชันนารีชาวอังกฤษและอเมริกันที่มาเผยแพร่ศาสนาที่ฝูโจวในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
ปั่งงั่วเจ๋ย์ Bàng-uâ-cê 平话字 | |
---|---|
คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาฮกจิว ตีพิมพ์ในปี 1908 | |
ชนิด | |
ผู้ประดิษฐ์ | โมเสส คลาร์ก ไวต์ |
ช่วงยุค | ค.ศ. 1850 – 1950 โดยประมาณ |
ภาษาพูด | ภาษาฮกจิว |
ระบบการเขียนนี้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งตั้งแต่แผนเริ่มเสนอขึ้นจนถึงการกำหนดมาตรฐาน และได้รับการสรุปในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ถึงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ปั่งงั่วเจ๋ย์เคยใช้กันมากในคริสตจักรในพื้นที่ที่มีการพูดภาษาฮกจิว คัมภีร์ไบเบิล หนังสือเพลงสวด และงานเผยแผ่ศาสนาจำนวนมากล้วนใช้ระบบอักษรนี้เขียน โรงเรียนมิชชันนารีบางแห่งได้บรรจุการเรียนรู้ปั่งงั่วเจ๋ย์ไว้ในหลักสูตรด้วย ในสมัยนั้นมีคนในท้องถิ่นเพียงไม่กี่คนในฝูโจวที่สามารถพูดภาษาจีนกลางและเขียนอักษรจีนได้ ทำให้ปั่งงั่วเจ๋ย์ซึ่งเรียนรู้ค่อนข้างง่ายกลายเป็นตัวเลือกแรกสำหรับผู้ศรัทธาที่จะเขียนในภาษาแม่ของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ปั่งงั่วเจ๋ย์ไม่ได้ถูกนำมาใช้สำหรับชาวบ้านทั่วไปนอกเหนือไปจากวงคริสตจักร และต่อมาก็ได้ถูกลืมเลือนไป
ประวัติศาสตร์
แก้เมื่อสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง สิ้นสุดลง ฝูโจวซึ่งเป็นหนึ่งในท่าเรือตามสนธิสัญญาแห่งแรก ๆ ที่ถูกเปิดขึ้น ได้กลายเป็นสถานที่ที่มิชชันนารีชาวยุโรปและอเมริกาหลั่งไหลเข้ามาจำนวนมาก แต่ในฝูโจวในเวลานั้น ผู้คนไม่ค่อยรู้อักษรจีนหรือภาษาจีนกลาง เพื่อที่จะสอนศาสนาที่นี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาและการเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของผู้สอนศาสนาเหล่านี้ ตัวละครปั่งงั่วเจ๋ย์จึงได้ถูกคิดขึ้นมา
ผู้ออกแบบดั้งเดิมที่สามารถตรวจสอบเอกสารได้คือบาทหลวงโมเสส คลาร์ก ไวต์ (Moses Clark White) ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยล และเป็นหนึ่งในผู้สอนศาสนาคริสต์กลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาในเอเชียตะวันออก เขามาถึงฝูโจวเมื่อวันที่ 7 กันยายน 1847[1] ระบบการออกเสียงเดิมนี้ใช้ตัวอักษรละตินทั้งหมด หน่วยเสียงสระพิเศษแสดงโดยการเพิ่มสัญลักษณ์พิเศษเหนือตัวอักษรสระละติน ตัวอย่างเช่น à แสดงถึง [ɛ] และ ë แสดงถึง [ø][2] และ ö แสดงถึง [ɔ] ส่วน ü หมายถึง [y] เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีเครื่องหมายพิเศษถูกทำเครื่องหมายไว้เหนือตัวอักษร รูปแบบการออกเสียงนี้จึงไม่สามารถใส่เครื่องหมายแสดง วรรณยุกต์ของคำได้ ดังนั้นรอเบิร์ต สเตวาร์ต (Robert Stewart) แองกลิคันชาวไอร์แลนด์ผู้มารับงานต่อได้ทำการปรับเปลี่ยนที่สำคัญ ได้แก่การเขียนสัญลักษณ์พิเศษโดยใช้เป็นจุด 2 จุดวางไว้ด้านล่างสระ และได้เขียนแสดงวรรณยุกต์โดยใชัสัญลักษณ์วางไว้ด้านบน
รูปแบบการสะกด
แก้ในภาษาพูด ภาษาฝูโจวมีการเปลี่ยนแปลงการออกเสียงที่หลากหลาย แต่ปั่งงั่วเจ๋ย์จะถูกเขียนตามการออกเสียงดั้งเดิมเสมอ นั่นทำให้ระบบการเขียนไม่ได้แสดงเสียงอ่านจริงอย่างตรงไปตรงมา
พยัญชนะต้น
แก้ป | |||
พ/ผ | |||
ม | |||
ต | |||
ท/ถ | |||
น | |||
ล | |||
ก | |||
ค/ข | |||
ง | |||
ฮ/ห | |||
จ | |||
ช/ฉ | |||
ซ/ส | |||
อ |
สระ
แก้สระเป็นส่วนที่ระบบการเขียนต่างจากเสียงจริงมากที่สุด เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ผ่านมา ปั่งงั่วเจ๋ย์เขียนเสียงอ่านตามเสียงดั้งเดิมในสมัยก่อน แต่มีความต่างไปจากเสียงอ่านในสมัยนี้
ตารางต่อไปนี้แสดงเสียงสระโดยแสดงทั้งเสียงอ่านเดิมกับเสียงอ่านปัจจุบันเพื่อเปรียบเทียบ
วรรณยุกต์
แก้วรรณยุกต์แสดงโดยการเขียนเครื่องหมายวางไว้ข้างบนตัวสระ แสดงดังตารางนี้
ระดับเสียง | เครื่องหมาย | ตัวอย่างคำ |
55 | ˘ | 君 gŭng |
33 | - | 滾 gūng |
213 | ˊ | 貢 góng |
24 | ˊ | 谷 gók |
53 | ` | 群 gùng |
242 | ^ | 郡 gông |
5 | ˘ | 掘 gŭk |
ตัวอย่างการสะกดคำ
แก้ข้อความภาษาฮกจิวจากใน《戚林八音》
春花香,秋山開,
嘉賓歡歌須金杯,
孤燈光輝燒銀釭。
之東郊,過西橋,
雞聲催初天,
奇梅歪遮溝。
เขียนเป็นปั่งงั่วเจ๋ย์ได้ดังนี้
Chŭng huă hiŏng, chiŭ săng kăi,
Gă bĭng huăng gŏ̤ sṳ̆ gĭng buŏi.
Gŭ dĕng guŏng hŭi siĕu ngṳ̀ng gŏng.
Cĭ dĕ̤ng gău, guó să̤ giò,
Giĕ siăng chŏi chĕ̤ tiĕng,
Kiă muòi uăi ciă gĕu.
อ้างอิง
แก้- ↑ 卫理公会简史 เก็บถาวร 2007-06-03 ที่ archive.today
- ↑ 本來,德語中的[ø]是用字母ö表示的,但怀德牧师卻用ë表示這個音素。這很可能是因爲以英語為母語的人對這個音不敏感,因此把[ø]錯聽成了[ə](schwa)。這個“訛誤”一直影響到後來的平話字方案。在1929年再版的《Dictionary of the Foochow Dialect》一書中有對平話字的詳細介紹,書裡仍然將e̤描述成“her”裡的“e”。
- ↑ 指的是19世紀抑或更早期的讀音,國際音標的推考引自福建師範大學陳澤平教授的論文《十九世紀的福州音系》。
- 陳澤平,《19世紀傳教士研究福州方言的幾種文獻資料》,2002
- 陳澤平,《十九世紀的福州音系》,2002
- 鄭輝,《館藏近代西文福州方言詞典敍錄》,2005