สงครามเจ็ดปี (อังกฤษ: Seven Years' War; ค.ศ. 1756 – 1763) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1756 จนถึง 1763 โดยเกี่ยวข้องกับทุกประเทศมหาอำนาจในยุโรป มีการสู้รบเกิดขึ้นในห้าทวีป สงครามเจ็ดปีเป็นสงครามระหว่างสองข้างด้วยกัน ข้างหนึ่งนำโดยบริเตนใหญ่พร้อมด้วยปรัสเซียและนครรัฐเล็กน้อยในเยอรมัน กับอีกข้างหนึ่งที่นำด้วยฝรั่งเศสพร้อมด้วยจักรวรรดิออสเตรีย, จักรวรรดิรัสเซีย, สวีเดน และซัคเซิน โดยรัสเซียเปลี่ยนข้างอยู่ระยะหนึ่งในช่วงปลายของสงคราม

สงครามเจ็ดปี
ทวนเข็มจากบนซ้าย; ยุทธการที่ปลาศี, ยุทธการที่คาริลลอน, ยุทธการที่ซอร์นดอร์ฟ และ ยุทธการที่คูเนอร์สดอฟ
วันที่ค.ศ. 1756–ค.ศ. 1763
สถานที่
ยุโรป, แอฟริกา, อินเดีย, อเมริกาเหนือ, ฟิลิปปินส์
ผล แนวร่วมอังกฤษ-ปรัสเซีย-โปรตุเกสชนะ
สนธิสัญญาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
สนธิสัญญาปารีส
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
สถานะเดิมก่อนสงครามในทวีปยุโรป บริเตนและสเปนยึดอาณานิคมเกือบทั้งหมดของฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาเหนือ การควบคุมดินแดนส่วนใหญ่ของไซลีเซียโดยปรัสเซียยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
คู่สงคราม

สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่

ราชอาณาจักรปรัสเซีย ปรัสเซีย
สหพันธ์อิโรคว็อยซ์
โปรตุเกส โปรตุเกส
เบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
รัฐเฮ็สเซิน เฮ็สเซิน-คาสเซิล
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส[1] ฝรั่งเศส และอาณานิคม
จักรวรรดิออสเตรีย ออสเตรีย
 รัสเซีย
 สวีเดน
 สเปน และอาณานิคม
ซัคเซิน
ซาร์ดีเนีย ซาร์ดิเนีย
จักรวรรดิโมกุล
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ราชอาณาจักรปรัสเซีย พระเจ้าฟรีดริชที่ 2
ราชอาณาจักรปรัสเซีย เจ้าชายไฮน์ริช
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ฟรีดริช วิลเฮล์ม ฟอน เซย์ลิทซ์
สหราชอาณาจักร พระเจ้าจอร์จที่ 2
สหราชอาณาจักร พระเจ้าจอร์จที่ 3
สหราชอาณาจักร ดยุกแห่งเดวอนเชอร์
สหราชอาณาจักร ดยุกแห่งนิวคาสเซิล
สหราชอาณาจักร มาร์ควิสแห่งกรันบี
สหราชอาณาจักร รอเบิร์ด ไคลฟ์
สหราชอาณาจักร เจฟฟรีย์ แอมเฮิร์ส
พระเจ้าฌูเซที่ 1
จังหวัดฮันโนเฟอร์ ดยุกแฟร์ดีนันท์
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส หลุยส์ที่ 15
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส หลุยส์-โจเซฟแห่งมงต์คาล์ม  
จักรวรรดิออสเตรีย เคานท์แห่งดอน
จักรวรรดิออสเตรีย ฟรันซ์ มอริทซ์ ฟอน เลซีย์
จักรวรรดิออสเตรีย ชาร์ลส์ อเล็กซานเดอร์แห่งลอร์แรน
จักรวรรดิออสเตรีย เอิร์นสท์ ฟอน ลอดอน

จักรวรรดิรัสเซีย เอลิซาเบธแห่งรัสเซีย
จักรวรรดิรัสเซีย อะเลคซันดร์ ซูโวรอฟ
ฟรีดิช ออกัสตัสที่ 2
ชาห์ อลัมที่ 2
ชีราช อุดดอลา

ต่อมาโปรตุเกส (ข้างบริเตนใหญ่) และสเปน (ข้างฝรั่งเศส) ถูกดึงเข้าร่วมในสงคราม นอกจากนี้ เนเธอร์แลนด์ที่วางตัวเป็นกลางก็เข้าร่วมสงครามเมื่อนิคมของตนเองในอนุทวีปอินเดียถูกโจมตี เพราะความกว้างขวางของสงครามที่กระจายไปทั่วโลกนี้เองทำให้สงครามเจ็ดปีได้รับการบรรยายว่าเป็น สงครามโลกครั้งที่ศูนย์ (World War Zero) ที่มีผลให้ผู้เสียชีวิต 9 แสนถึง 1.4 ล้านคน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อดุลอำนาจทางการเมืองอย่างมหาศาล

แม้ว่าทวีปยุโรปจะเป็นสนามรบหลักของสงครามในภาพรวม แต่ผลของสงครามก็มิได้ทำให้สถานการณ์ในยุโรปเปลี่ยนไปมากจากก่อนสงครามเท่าใดนัก กลับกลายเป็นว่า สงครามครั้งนี้สร้างผลกระทบในทวีปเอเชียและอเมริกามากกว่าและยาวนานกว่าในทวีปยุโรป สงครามครั้งนี้ยุติความเป็นมหาอำนาจอาณานิคมของชาติฝรั่งเศสในทวีปอเมริกา ประเทศฝรั่งเศสเสียดินแดนเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือและหมู่เกาะเวสต์อินดีสบางส่วน[2] ประเทศปรัสเซียยังคงเป็นมหาอำนาจและยังคงครอบครองบริเวณไซลีเซียที่เดิมเป็นของประเทศออสเตรีย ประเทศบริเตนใหญ่กลายเป็นมหาอำนาจในการเป็นเจ้าของอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ และเป็นผู้มีอำนาจมากกว่าผู้ใดในการครอบครองอาณานิคม

เบื้องหลัง แก้

สงครามเจ็ดปีมักจะถือกันว่าเป็นสงครามที่ต่อเนื่องมาจากสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1740 – 1748 เมื่อพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียได้ดินแดนไซลีเซียมาจากออสเตรีย พระนางเจ้ามาเรีย เทเรซา แห่งออสเตรีย ทรงจำต้องลงพระนามในสนธิสัญญาเอซ์-ลา-ชาเปลเพื่อเป็นการยุติสงคราม และซื้อเวลาในการสร้างเสริมกองทัพออสเตรีย และเสาะหาพันธมิตรทางการทหารใหม่ซึ่งทรงได้รับความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึง แผนที่ทางการเมืองยุโรปถูกร่างใหม่ใน 2-3 ปีหลังออสเตรียยุติการเป็นพันธมิตรกับบริเตนใหญ่ หลังจากที่เป็นมิตรสหายกันมากว่า 25 ปี

มิตรสหายหลักของปรัสเซียก็มีเพียงบริเตนใหญ่ซึ่งครองบัลลังก์ฮันโนเฟอร์ ขณะเดียวกัน บริเตนใหญ่ก็เกรงว่าฝรั่งเศสจะรุกรานฮันโนเฟอร์ เมื่อดูตามสถานการณ์แล้ว การจับคู่ผูกมิตรดังกล่าวก็เป็นคู่ที่เหมาะสมกันอย่างที่สุด บริเตนใหญ่มีราชนาวีที่ทรงแสนยานุภาพที่สุด ขณะที่ปรัสเซียมีกองทัพบกที่ทรงแสนยานุภาพที่สุด การที่ได้ปรัสเซียมาเป็นมิตรสหายทำให้บริเตนใหญ่อุ่นใจมากขึ้นและสามารถจดจ่ออยู่กับการแผ่ขยายอาณานิคมต่างทวีปได้อย่างเต็มที่

หลังจากที่ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คของออสเตรียพ่ายแพ้ในสงครามครั้งก่อนหน้า ก็ได้มีการปฏิรูปกองทัพขึ้นใหม่ตามแบบอย่างกองทัพปรัสเซีย พระนางเจ้ามาเรีย เทเรซา ผู้มีพระปรีชาสามารถทางด้านการทหารไม่น้อยกว่าผู้ใดทรงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความกดดันที่เป็นผลให้เกิดการปฏิรูปกองทัพครั้งนี้ จากความพ่ายแพ้หลายครั้งในสงครามก่อนหน้าประกอบกับไม่พอใจที่ก่อนหน้า บริเตนใหญ่มักช่วยเหลือออสเตรียอย่างไม่เต็มที่และไม่เต็มใจ ออสเตรียจึงตั้งความหวังใหม่ว่าฝรั่งเศสจะมาเป็นมิตรผู้สามารถช่วยกอบกู้ไซลีเซียคืนจากปรัสเซีย และยุติการขยายอำนาจของปรัสเซีย

เหตุการณ์ แก้

 
ฝ่ายในสงครามเจ็ดปี
น้ำเงิน: บริเตนใหญ่, ปรัสเซีย, โปรตุเกส และพันธมิตร
เขียว: ฝรั่งเศส, สเปน, ออสเตรีย, รัสเซีย, สวีเดน และพันธมิตร

สงครามเจ็ดปีปะทุขึ้นในปี 1754–1756 เมื่อบริเตนใหญ่เข้าโจมตีที่มั่นของฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาเหนือและยึดเอาเรือพาณิชย์ของฝรั่งเศสกว่าร้อยลำ ในขณะนั้น มหาอำนาจอย่างปรัสเซียก็กำลังต่อสู้อยู่กับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คแห่งออสเตรียเพื่อแย่งชิงดินแดนทั้งในและนอกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งในปี 1756 ชาติต่างๆก็เกิดการย้ายฝ่ายครั้งใหญ่เรียกว่า "การปฏิวัติทูต" ซึ่งทำให้ดุลอำนาจในยุโรปเปลี่ยนไปอย่างมาก

เมื่อปรัสเซียรู้ดีว่าไม่มีทางหลีกเลี่ยงสงครามได้ จึงรีบบุกครองซัคเซินอย่างรวดเร็วและสร้างความอลหม่านไปทั่วยุโรป เนื่องจากออสเตรียซึ่งเคยเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสในการทวงคืนไซลีเซียนั้นเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามครั้งก่อน และปรัสเซียก็หันไปจับมือกับบริเตนใหญ่ และในการประชุมสภาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งต่อมา แคว้นส่วนใหญ่ในจักรวรรดิฯได้เลือกยืนอยู่ฝ่ายเดียวกับออสเตรีย และบางแคว้นเลือกอยู่กับฝ่ายพันธมิตรบริเตนใหญ่-ปรัสเซีย (โดยเฉพาะฮันโนเฟอร์) สวีเดนซึ่งเกรงว่าภัยจากการขยายดินแดนของปรัสเซียจะมาถึงตน จึงประกาศเข้าร่วมกับฝรั่งเศสในปี 1757 ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องประเทศราชต่างๆในบอลติกของสวีเดน สเปนซึ่งปกครองด้วยราชวงศ์เดียวกับฝรั่งเศสก็เข้าร่วมสงครามด้วยในนามของฝรั่งเศส โดยเข้ารุกรานโปรตุเกสในปี 1762 แต่ไม่สำเร็จ ส่วนจักรวรรดิรัสเซียเป็นพันธมิตรกับออสเตรียอยู่ตั้งแต่ต้น ก็เกิดอาการกลัวว่าปรัสเซียจะเข้ารุกรานเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย ดังนั้นในปี 1762 รัสเซียจึงล้มเลิกความคิดที่จะเอาชนะปรัสเซียและทำสนธิสัญญาสันติภาพกับปรัสเซียแทน ในขณะที่ชาติขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนมากในยุโรป เช่น เดนมาร์ก, ก็มีท่าทีไม่เหมือนกับสงครามครั้งก่อนๆ แม้ว่าจะมีส่วนได้ส่วนเสียกับสงครามครั้งนี้แต่ก็พยายามหลีกเลี่ยงและอยู่ห่างๆจากความขัดแย้งที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น

สงครามยุติด้วยสนธิสัญญาปารีสระหว่างสเปน-ฝรั่งเศส-บริเตนใหญ่ กับสนธิสัญญาฮูแบร์ทุสบวร์คระหว่างซัคเซิน-ออสเตรีย-ปรัสเซีย ในปี 1763

ที่มาของชื่อสงคราม แก้

 
ยุทธนาวีที่อ่าวไควเบิร์น 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1759

ในแคนาดา, ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร คำว่า “สงครามเจ็ดปี” หมายถึงความขัดแย้งในทวีปอเมริกาเหนือ ที่รวมทั้งความขัดแย้งในยุโรปและเอเชียด้วย ความขัดแย้งนี้แม้ว่าจะเรียกว่า “สงครามเจ็ดปี” แต่อันที่จริงแล้วเป็นสงครามที่ยาวเก้าปีเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1754 จนถึงปี ค.ศ. 1763 ในสหรัฐอเมริกาสงครามส่วนที่เกิดขึ้นที่นั่นมักจะเป็นที่รู้จักกันว่า “สงครามฝรั่งเศส-อเมริกันอินเดียน” แต่นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์หลายท่านในสหรัฐอเมริกาเช่นเฟรด แอนเดอร์สันเรียกสงครามนี้ตามที่เรียกกันในประเทศอื่นว่า “สงครามเจ็ดปี” ไม่ว่าสงครามจะเกิดขึ้นที่ใด ในควิเบคความขัดแย้งนี้บางครั้งก็เรียกว่า “La Guerre de la Conquête” ที่แปลว่า “สงครามแห่งการพิชิต” ส่วนในอินเดียก็เรียกว่า “สงครามกรณาฏ” (Carnatic Wars) ขณะที่การต่อสู้ระหว่างปรัสเซียและออสเตรียเรียกว่า “สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3

วินสตัน เชอร์ชิล บรรยายสงครามนี้ว่าเป็น “สงครามโลก[3] เพราะเป็นความขัดแย้งที่นำมาซึ่งสงครามไปทั่วทุกหนทุกแห่งในโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แม้ว่าผู้ที่มีความขัดแย้งกันส่วนใหญ่มาจากยุโรปและจากอาณานิคมโพ้นทะเลที่เป็นของประเทศเหล่านั้น ส่วนหนึ่งของความขัดแย้งเป็นความขัดแย้งระหว่างบริเตนใหญ่และฝรั่งเศสในการขยายจักรวรรดิ สงครามเป็นเหตุการณ์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ของสงครามร้อยปีครั้งที่ 2[4]

อ้างอิง แก้

  1. George Ripley, Charles Anderson Dana, The American Cyclopaedia, New York, 1874, p. 250, "...the standard of France was white, sprinkled with golden fleur de lis...". *[1] เก็บถาวร 2008-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนThe original Banner of France was strewn with fleurs-de-lis. *[2]:on the reverse of this plate it says: "Le pavillon royal était véritablement le drapeau national au dix-huitième siècle...Vue du château d'arrière d'un vaisseau de guerre de haut rang portant le pavillon royal (blanc, avec les armes de France)."[3] from the 1911 Encyclopedia Britannica: "The oriflamme and the Chape de St Martin were succeeded at the end of the 16th century, when Henry III, the last of the house of Valois, came to the throne, by the white standard powdered with fleurs-de-lis. This in turn gave place to the tricolour."
  2. The Treaty of Paris (1763) in Corbett, Julian (1918). England in the Seven Years' War: A Study in Combined Strategy Vol. II (2nd ed.). London: Longman, Green and Co.
  3. Bowen, HV (1998). War and British Society 1688-1815. Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press. p. 7. ISBN 0-521-57645-8.
  4. Tombs, Robert and Isabelle. That Sweet Enemy: The French and the British from the Sun King to the Present. London: William Heinemann, 2006.