การปฏิวัติทูตปี 1756 (อังกฤษ: Diplomatic Revolution of 1756) หรือ การสลับข้างพันธมิตร (เยอรมัน: Renversement des alliances) เป็นเหตุการณ์เมื่อชาติต่างๆในทวีปยุโรปเกิดการย้ายข้างทางการเมืองภายหลังสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียและสงครามเจ็ดปี[1] ออสเตรียเลิกคบบริเตนใหญ่และไปผูกมิตรกับฝรั่งเศสและรัสเซีย ขณะที่ปรัสเซียเข้าผูกมิตรกับบริเตนใหญ่แทน[2] ส่งผลให้ดุลอำนาจเกิดการเปลี่ยนแปลงมหาศาล นักการทูตคนสำคัญที่สุดในเหตุการณ์นี้คือรัฐบุรุษออสเตรีย เว็นเซิล อันโทน ฟ็อน เคานิทซ์-รีทแบร์ค[3]

กลุ่มพันธมิตรทางการเมืองภายหลังการปฏิวัติทูต

แม้การปฏิวัติทูตจะทำให้ยุโรปแบ่งเป็นสองขั้วระหว่าง บริเตน-ปรัสเซีย ปะทะกับ ออสเตรีย-ฝรั่งเศส-รัสเซีย แต่คู่ปรับหลักยังคงเป็น ปรัสเซียปะทะออสเตรีย และอังกฤษปะทะฝรั่งเศสอยู่ อย่างไรก็ตาม พันธมิตรระหว่างบริเตน-ปรัสเซียกลับไม่ได้ยืนยาวนัก ในปีค.ศ. 1762 บริเตนเลิกให้การสนับสนุนทางการเงินและทางทหารแก่ปรัสเซีย ปรัสเซียจึงหันไปผูกมิตรกับรัสเซียแทน และบริเตนตกอยู่ในสถานะไร้พันธมิตรจนเกิดสงครามปฏิวัติอเมริกา

อ้างอิง แก้

  1. D.B. Horn, "The Diplomatic Revolution" in J.O. Lindsay, ed., The New Cambridge Modern History vol. 7, The Old Regime: 1713–63 (1957): pp 449–64.
  2. Jeremy Black, Essay and Reflection: On the 'Old System' and the Diplomatic Revolution' of the Eighteenth Century" International History Review (1990) 12#2 pp. 301–323
  3. Franz A.J. Szabo, "Prince Kaunitz and the Balance of Power." International History Review 1#3 (1979): 399–408. in JSTOR