พลตรี รอเบิร์ต ไคลฟ์ บารอนที่ 1 แห่งไคลฟ์ (อังกฤษ: Robert Clive, 1st Baron Clive; 29 กันยายน ค.ศ. 1725 – 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1774) หรือเป็นที่รู้จักในนาม ไคลฟ์แห่งอินเดีย (Clive of India) เป็นหนึ่งในนักการทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษ เขาเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของบริติชอินเดีย เขาสามารถมีชัยในยุทธการที่ปลาศีในปี ค.ศ. 1757 ทำให้แคว้นเบงกอลซึ่งเป็นแคว้นที่ร่ำรวยที่สุดของอินเดียในขณะนั้นตกเป็นดินแดนในบังคับของบริษัทอินเดียตะวันออกโดยสมบูรณ์ สร้างความมั่งคั่งให้กับราชสำนักและรัฐบาลอังกฤษอย่างมาก หลังปกครองเบงกอลแล้ว เขาใช้เบงกอลเป็นฐานอำนาจของอังกฤษในการขยายอิทธิพลเพื่อยึดครองแคว้นและอาณาจักรต่างๆในอนุทวีปอินเดีย นอกจากนี้เขายังเป็นสมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรคทอรี

ท่านลอร์ดไคลฟ์
ข้าหลวงแห่งเขตปกครองฟอร์ตวิลเลียม แคว้นเบงกอล
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1757 – 1760
ก่อนหน้ารอเจอร์ เดรก
ในตำแหน่งประธาน
ถัดไปเฮนรี แวนซิตทาร์ต
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1765 – 1766
ก่อนหน้าเฮนรี แวนซิตทาร์ต
ถัดไปแฮร์รี เวเรลช์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 กันยายน ค.ศ. 1725(1725-09-29)
ชาร์ปเชอร์ ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1774(1774-11-22) (49 ปี)
เวสต์มินสเตอร์, กรุงลอนดอน
เชื้อชาติอังกฤษ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ บริเตนใหญ่ / จักรวรรดิอังกฤษ
สังกัดกองทัพบกบริเตน
ประจำการ1746–1774
ยศพลตรี
หน่วย บริษัทอินเดียตะวันออก
บังคับบัญชาผู้บัญชาการสูงสุดประจำอินเดีย
ผ่านศึกสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย
สงครามคาร์เนติกครั้งที่สอง
สงครามเจ็ดปี
ยุทธการที่ปลาศี

บิดาของไคลฟ์ได้แนะนำให้เขาเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้แทนค้าต่างประจำบริษัทอินเดียตะวันออก ไคลฟ์จึงออกเดินทางไปยังอินเดียในปี ค.ศ. 1743 และไปแวะพักอยู่ที่บราซิลเป็นเวลาเก้าเดือน ทำให้เขาพอรู้ภาษาโปรตุเกส[1] ในขณะนั้น บริษัทอินเดียตะวันออกมีเพียงนิคมขนาดเล็กๆชื่อว่าป้อมเซนต์จอร์จ (เมืองเจนไนในปัจจุบัน)[2] ตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกในอินเดียใต้ เขาเดินทางถึงป้อมเซนต์จอร์จในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1744 และเริ่มรับราชการที่นั่น อาทิ เป็นเสมียนร้านค้า, ผู้นับสต็อคสินค้าของบริษัทฯ ต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ. 1746 ป้อมเซนต์จอร์จถูกโจมตีโดยกองทหารฝรั่งเศส (เนื่องจากอังกฤษ-ฝรั่งเศสขัดแย้งกันอยู่ในสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย) หลังถูกปิดล้อมได้หลายวันป้อมเซนต์จอร์จก็ถูกฝรั่งเศสเข้ายึดครอง[3]

ไคลฟ์และพลเรือนอังกฤษบางส่วนไม่ยอมจำนนต่อฝรั่งเศส เขาและพวกเดินทางไปยังป้อมเซนต์เดวิด (หนึ่งในป้อมของอังกฤษ) ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ราว 80 กิโลเมตร และขอเข้าสมัครเป็นทหาร ซึ่งถือเป็นตำแหน่งราชการที่ต่ำกว่าผู้แทนค้าต่าง[4] ไคลฟ์ได้รับการบรรจุเป็นนายธงในปี ค.ศ. 1747[5] ต่อมา ความกล้าหาญของไคลฟ์เป็นที่เข้าตาของพันตรีลอว์เรนต์ ซึ่งเดินทางมาเป็นผบ.ป้อมเซนต์เดวิด[5] ตั้งแต่นั้น ไคลฟ์ได้เจริญก้าวหน้าในราชการทหารเรื่อยมา

อ้างอิง แก้

  1. Harvey (1998), pp. 18–21
  2. Harvey (1998), pp. 23–24
  3. (Malleson 1893, p. 35)
  4. Harvey (1998), p. 39
  5. 5.0 5.1 Harvey (1998), p. 41