อัครวัฒน์ อัศวเหม

อัครวัฒน์ อัศวเหม เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ ครั้งแรกในปี 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[1] และเป็นประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[2] รวมทั้งเขายังเป็นหลานของ วัฒนา อัศวเหม[3] อดีตรัฐมนตรีและนักการเมืองในจังหวัดสมุทรปราการ

อัครวัฒน์ อัศวเหม
ประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม
ดำรงตำแหน่ง
12 กันยายน พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25
ก่อนหน้าจตุพร เจริญเชื้อ
ถัดไปฐากร ตัณฑสิทธิ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดสมุทรปราการ เขต 1
ดำรงตำแหน่ง
24​ มีนาคม​ พ.ศ. 2562​ – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์
ถัดไปพนิดา มงคลสวัสดิ์
เขตเลือกตั้งอำเภอเมืองสมุทรปราการ (เฉพาะตำบลบางโปรง ตำบลบางด้วน ตำบลปากน้ำ ตำบลบางเมือง และตำบลท้ายบ้าน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 (59 ปี)
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ

ประวัติ แก้

อัครวัฒน์ อัศวเหม เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 เป็นบุตรของสมศักดิ์ (น้องชายของวัฒนา อัศวเหม) กับกุสุมาลัย อัศวเหม เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[1]

การทำงาน แก้

อัครวัฒน์ อัศวเหม เริ่มทำงานการเมืองในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) หลายสมัย และรับเลือกเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ในปี 2546[4] ซึ่งเป็นการเลือกโดยอ้อม

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 อัครวัฒน์ อัศวเหม ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในนามพรรคมหาชน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาปี 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคมาตุภูมิ แต่แพ้อรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ จากพรรคเพื่อไทย หลังจากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ และเคยปฏิบัติหน้าที่แทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม)[3][1][5]

อัครวัฒน์ อัศวเหม เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทั่งในปี 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[6] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 สภาผู้แทนราษฎร
  2. “อัครวัฒน์” เปิดสัมมนาบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียชุมชนฯ มุ่งนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแก้ปัญหา
  3. 3.0 3.1 ใครคือทายาทการเมืองตระกูล"อัศวเหม"รุ่นต่อไป
  4. สถาบันพระปกเกล้า. ฐานข้อมูลการเลือกตั้งนายก อบจ.. นนทบุรี:สถาบันพระปกเกล้า. 2547
  5. "ตระกูลอัศวเหม" ซบ "พปชร."
  6. ‘2 พี่น้องอัศวเหม’ลุยตลาดแนะนำตัว ขายฝันเป็นรัฐบาลแก้ปัญหา‘แผ่นดินทรุด-น้ำท่วม’
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕