ไพบูลย์ นิติตะวัน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
ไพบูลย์ นิติตะวัน นักการเมืองชาวไทย เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ[1] ประธานคณะกรรมการฝ่ายกฎหมายพรรคพลังประชารัฐ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 แบบบัญชีรายชื่อ[2] และสมาชิกวุฒิสภาสองสมัย[3][4]
ไพบูลย์ นิติตะวัน | |
---|---|
![]() ไพบูลย์ ในปี พ.ศ. 2560 | |
รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 21 ธันวาคม พ.ศ. 2562 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน พ.ศ. 2555 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 มกราคม พ.ศ. 2497 จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
เชื้อชาติ | ไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาชนปฏิรูป (2561-2562) พลังประชารัฐ (2562-ปัจจุบัน) |
เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (แก้ไขเพิ่มเติม) ฉบับที่… พ.ศ. … (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91) รัฐสภา[5] ซึ่งได้ประกาศใช้เป็น "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564" [6] ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาติดตาม ตรวจสอบ การใช้เงินตามพระราชกำหนด 3 ฉบับ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สภาผู้แทนราษฎร[7] กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558[8] ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาสภาปฏิรูปแห่งชาติ[9] สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา ที่ปรึกษาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ปรึกษาสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และเคยดำรงตำแหน่งอื่นๆทางสังคม เช่น อุปนายกสโมสรรัฐสภาคนที่ 1 นายกสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า และประธานมูลนิธิ อีพีเอ ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การศึกษา
ปริญญาบัตร
- นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกาศนียบัตร
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 5 (ปปร. 5) สถาบันพระปกเกล้า
รางวัลที่ได้รับ
- ศิษย์เก่าดีเด่น สถาบันพระปกเกล้า
- ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศิษย์เก่าดีเด่น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศิษย์เก่าดีเด่น หลักสูตร EPA มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[12]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[13]
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ 21 กรกฎาคม 2565
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เก็บถาวร 2019-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา (นายไพบูลย์ นิติตะวัน)
- ↑ รายนาม คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91)
- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564
- ↑ รายนาม คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาติดตาม ตรวจสอบ การใช้เงินตามพระราชกำหนด 3 ฉบับ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วันที่ 4 พฤษจิกายน 2557
- ↑ ข่าว ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์ กิจการพระพุทธศาสนา รับยื่นหนังสือ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๓๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๐, ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐