สุทัตตา เชื้อวู้หลิม
สุทัตตา เชื้อวู้หลิม ชื่อเล่น นุช เกิดวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงชาวไทย ผู้ทำหน้าที่ในตำแหน่งหัวเสา และเคยเป็นนักวอลเลย์บอลหลักร่วมสังกัดสโมสรเฟดเดอร์บรอย[1]
สุทัตตา เชื้อวู้หลิม | |||||
---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||
ชื่อเต็ม | สุทัตตา เชื้อวู้หลิม | ||||
ชื่อเล่น | นุช | ||||
เกิด | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2535 อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย | ||||
ส่วนสูง | 1.73 m (5 ft 8 in) | ||||
น้ำหนัก | 64 kg (141 lb) | ||||
กระโดดตบ | 292 ซม. | ||||
บล็อก | 282 ซม. | ||||
ข้อมูล | |||||
ตำแหน่ง | บอลหัวเสา | ||||
สโมสรปัจจุบัน | ไดมอนด์ฟู๊ด | ||||
หมายเลข | 9 | ||||
อาชีพ | |||||
| |||||
ทีมชาติ | |||||
|
ประวัติ
แก้เกิดเมื่อวันที่19 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นธิดาของนายสมัย นางทองหยิบ เชื้อวู้หลิม จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่6 จากโรงเรียนบ้านห้วยน้ำโจนซึ่งเธอเล่นกีฬาวอลเลย์บอลจากที่นี่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2552 สุทัตตาได้เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตเข้าแข่งขันวอลเลย์บอลในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 36 [2] และในวันที่ 4 กรกฎาคม ของปีเดียวกันนี้ เธอเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการช่วยให้ทีมชาติไทยชนะทีมชาติเยอรมนี ในการแข่งขันวอลเลย์บอลยุวชนหญิงชิงแชมป์โลก 2009 ด้วยการเสิร์ฟของเธอเพียงคนเดียวที่สามารถทำได้ถึง 11 แต้ม ส่งผลให้ทีมของเธอสามารถเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายในเวลาต่อมา[3][4]
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 สุทัตตาได้เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลสังกัดกรุงเทพมหานคร ในการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 26 [5] ต่อมา ในเดือนพฤษภาคม เธอได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในนักกีฬาวอลเลย์บอลยุวชนหญิงทีมชาติไทย เข้าร่วมแข่งขันวอลเลย์บอลยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2010 ที่จัดขึ้น ณ ประเทศมาเลเซีย[6] รวมถึงในวันที่ 14 กันยายน ของปีเดียวกัน เธอได้ทำหน้าที่ร่วมกับทีมชาติไทย ในการแข่งขันวอลเลย์บอลเยาวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2010 ที่ประเทศเวียดนาม โดยทีมของเธอสามารถชนะทีมชาติอินเดีย 3-0 เซ็ต[7] และในวันที่ 19 กันยายน ซึ่งเป็นรอบรองชนะเลิศ ทีมของเธอเป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมชาติจีนที่ 0-3 เซ็ต[8]
เดือนเมษายน พ.ศ. 2555 สุทัตตาได้เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิง ชิงชนะเลิศมหาวิทยาลัยเอเชีย ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้น ณ อูลานบาตาร์ ประเทศมองโกเลีย[9] ส่วนในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน เธอได้เป็นตัวแทนทีมมหาวิทยาลัยไทย เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลในกีฬามหาวิทยาลัยชิงแชมป์อาเซียน ที่จัดขึ้น ณ ประเทศลาว โดยทีมของเธอสามารถเป็นฝ่ายชนะทีมชาติลาวที่ 3-0 เซ็ต รวมถึงชนะทีมชาติมาเลเซียที่ 3-1 เซ็ต[10]
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 สุทัตตาได้ทำหน้าที่ร่วมกับทีมสโมสรวอลเลย์บอล สุพรีม-นครศรี ในการแข่งขันวอลเลย์บอลไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก 2013 โดยทีมของเธอเป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมสโมสรวอลเลย์บอลไอเดีย-ขอนแก่น ในรอบชิงชนะเลิศที่ 0-3 เซ็ต[11]
และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 สุทัตตาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในนักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งขันมหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งอาเซียน ครั้งที่ 17 ที่จัดขึ้น ณ ปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย[12][13]
สโมสร
แก้- เฟดเดอร์บรอย (2010)
- สุพรีม-นครศรี (2010–2014)
- บางกอกกล๊าส (2015–2018)
- ควินท์ แอร์ฟอร์ซ (2018–2019)
- เจนเนอราลี่ สุพรีม ชลบุรี (2019–2022)
- ไดมอนด์ ฟู้ด ไฟน์เชฟ-แอร์ฟอร์ซ (2023–ปัจจุบัน)
เกียรติประวัติและผลงาน
แก้สโมสร
แก้- 2013 วอลเลย์บอลหญิงไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก 2013 - รองชนะเลิศ กับ สุพรีม-นครศรี[11]
- 2014–2015 ไทยแลนด์ลีก - ชนะเลิศ กับ บางกอกกล๊าส
- 2015 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก - ชนะเลิศ กับ บางกอกกล๊าส
- 2015 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - ชนะเลิศ กับ บางกอกกล๊าส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Profil zawodniczki na stronie FIVB". สืบค้นเมื่อ 11 October 2015.
- ↑ "มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-01-26.
- ↑ สาวไทยสยบเบียร์ 3-1 เซตลิ่ว 8 ทีมตบยุวชนโลก - สยามสปอร์ต
- ↑ ตบสาวไทยคว้าชัยทะลุรอบ 2 ศึกวอลเลย์บอลยุวชนโลก - คมชัดลึก[ลิงก์เสีย]
- ↑ สุทัตตา เชื้อวู้หลิม - การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 26[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เปิดโผนักตบสาวลุ้นตั๋วลุยยูธ อลป. : ข่าวสดออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-01-26.
- ↑ ตบ ยช.สาวมั่นใจทะลุรอบรอง อช.
- ↑ วอลเลย์สาวไทยเล่นผิดฟอร์มพ่ายจีน 0-3 ชวดชิงฯลูกยางเยาวชนเอเชีย
- ↑ วอลเลย์ฯญ.ไทยพร้อมป้องกันแชมป์ ม.เอเชีย : INN News[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สาววอลเลย์ฯปัญญาชนไทยสุดแกร่ง-คว้าชัย 2 นัดติดในกีฬา ม.อาเซียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-10-02.
- ↑ 11.0 11.1 “อรอุมา” พาไอเดียขอนแก่นคว้าแชมป์ตบไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก[ลิงก์เสีย]
- ↑ ฐาปไพพรรณ นำทัพตบทีมไทย ลุยศึก ม.อาเซียน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "'ลูกยางไทย' ลั่นกวาด 4 ทอง 'ปัญญาชนอาเซียน'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-17. สืบค้นเมื่อ 2021-10-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๕ ข หน้า ๒๖, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖