อำเภอบ้านไร่

อำเภอในจังหวัดอุทัยธานี ประเทศไทย

บ้านไร่ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุทัยธานี และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัด เดิมมีพื้นที่ถึง 5,126.07 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 76.16 ของพื้นที่จังหวัด) ครอบคลุมท้องที่ทั้งหมดของอำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก[1][2]อำเภอห้วยคต[3][4] พื้นที่ของอำเภอส่วนใหญ่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทย

อำเภอบ้านไร่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ban Rai
วัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตำบลแก่นมะกรูด เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของผืนป่าตะวันตกของประเทศไทย และเป็นผืนป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตำบลแก่นมะกรูด เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของผืนป่าตะวันตกของประเทศไทย และเป็นผืนป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คำขวัญ: 
ห้วยขาแข้ง แหล่งผ้าทอ หน่อไม้สด
สับปะรดฉ่ำ ถ้ำหลายแห่ง แหล่งชาวเขา
แผนที่จังหวัดอุทัยธานี เน้นอำเภอบ้านไร่
แผนที่จังหวัดอุทัยธานี เน้นอำเภอบ้านไร่
พิกัด: 15°5′2″N 99°31′16″E / 15.08389°N 99.52111°E / 15.08389; 99.52111
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุทัยธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด3,621.5 ตร.กม. (1,398.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด68,017 คน
 • ความหนาแน่น18.78 คน/ตร.กม. (48.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 61140,
61180 (เฉพาะตำบลวังหิน เมืองการุ้ง หูช้าง หนองจอก บ้านใหม่คลองเคียน และหนองบ่มกล้วย)
รหัสภูมิศาสตร์6106
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบ้านไร่ หมู่ที่ 1 ถนนเทศบาล 4 ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี 61140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
วัดถ้ำเขาวงศ์
ตัวอำเภอบ้านไร่ เขตเทศบาลตำบลบ้านไร่
ช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอบ้านไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

แก้

อำเภอบ้านไร่ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นพื้นที่ที่มีผลกระวาน มูลค้างคาว และช้างป่า และได้จัดส่งไปยังเมืองหลวงมาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ท้องที่อำเภอบ้านไร่เดิมเป็นด่านสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีนายด่านชื่อพระอินทร์ ด่านหนองหลวง ได้ปรากฏในพงศาวดารว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกกองทัพติดตามกองทัพพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ไปจนถึงด่านหนองหลวงแล้วกลับคืนพระนคร

  • วันที่ 24 กันยายน 2454 แยกพื้นตำบลแม่ละมุ้ง ตำบลโมโกร ตำบลอุ้มผาง ตำบลหนองหลวง อำเภอหนองหลวง และตำบลแม่จัน ตำบลแม่กลอง อำเภอแม่กลอง จังหวัดอุทัยธานี รวมหกตำบลและจัดตั้งเป็น อำเภอแม่กลอง และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนอีกสามตำบลของอำเภอแม่กลองที่เหลืออยู่ คือ ตำบลคอกควายเหนือ ตำบลคอกควายใต้ ตำบลแก่นมะกรูด ให้โอนมาขึ้นกับอำเภอหนองหลวง จังหวัดอุทัยธานี รวมกับท้องที่ตำบลลานสัก อำเภอหนองหลวง และตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลคอกควายใต้[5]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอหนองหลวง จังหวัดอุทัยธานี เป็น อำเภอคอกควาย[6]
  • วันที่ 17 มกราคม 2468 โอนพื้นที่กิ่งอำเภอห้วยแห้ง อำเภอบ้านเชี่ยน จังหวัดชัยนาท มารวมกับอำเภอคอกควาย จังหวัดอุทัยธานี และย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลบ้านไร่ และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอคอกควาย จังหวัดอุทัยธานี เป็น อำเภอบ้านไร่[7] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับจังหวัดอุทัยธานี
  • วันที่ 30 กันยายน 2490 ตั้งตำบลบ้านไร่ แยกออกจากตำบลทัพหลวง และตำบลห้วยแห้ง ตั้งตำบลห้วยคต แยกออกจากตำบลวังหิน[8]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านไร่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านไร่[9]
  • วันที่ 17 สิงหาคม 2514 ตั้งตำบลประดู่ยืน แยกออกจากตำบลลานสัก[10]
  • วันที่ 14 ตุลาคม 2518 แยกพื้นที่ตำบลลานสัก และตำบลประดู่ยืน จากอำเภอบ้านไร่ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอลานสัก[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบ้านไร่
  • วันที่ 31 ตุลาคม 2521 ตั้งตำบลป่าอ้อ แยกออกจากตำบลลานสัก และตำบลประดู่ยืน[11]
  • วันที่ 25 กันยายน 2522 ตั้งตำบลสุขฤทัย แยกออกจากตำบลห้วยคต[12]
  • วันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอลานสัก อำเภอบ้านไร่ เป็น อำเภอลานสัก[2]
  • วันที่ 27 กรกฎาคม 2525 ตั้งตำบลหนองจอก แยกออกจากตำบลทัพหลวง[13]
  • วันที่ 12 กรกฎาคม 2526 ตั้งตำบลเมืองการุ้ง แยกออกจากตำบลวังหิน[14]
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2527 ตั้งตำบลทองหลาง แยกออกจากตำบลคอกควาย และตำบลห้วยคต[15]
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2527 แยกพื้นที่ตำบลห้วยคต ตำบลสุขฤทัย และตำบลทองหลาง อำเภอบ้านไร่ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอห้วยคต[3] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบ้านไร่
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองการุ้ง ในท้องที่หมู่ 4 ของตำบลวังหิน[16]
  • วันที่ 12 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลหูช้าง แยกออกจากตำบลทัพหลวง[17]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลบ้านบึง แยกออกจากตำบลบ้านไร่[18]
  • วันที่ 18 ตุลาคม 2532 ตั้งตำบลบ้านใหม่คลองเคียน แยกออกจากตำบลวังหิน[19]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลหนองบ่มกล้วย แยกออกจากตำบลหนองจอก[20]
  • วันที่ 27 ตุลาคม 2536 ตั้งตำบลเจ้าวัด แยกออกจากตำบลห้วยแห้ง[21]
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอห้วยคต อำเภอบ้านไร่ เป็น อำเภอห้วยคต[4]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบ้านไร่ และสุขาภิบาลเมืองการุ้ง เป็น เทศบาลตำบลบ้านไร่ และเทศบาลตำบลเมืองการุ้ง ตามลำดับ[22] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลแก่นมะกรูด รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่[23]
 
กวางป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอบ้านไร่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 136 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[24]
1. บ้านไร่ Ban Rai
11
8,961
2. ทัพหลวง Thap Luang
15
7,818
3. ห้วยแห้ง Huai Haeng
9
4,848
4. คอกควาย Khok Khwai
16
7,629
5. วังหิน Wang Hin
6
3,271
6. เมืองการุ้ง Mueang Ka Rung
13
6,951
7. แก่นมะกรูด Kaen Makrut
4
2,338
8. หนองจอก Nong Chok
16
5,289
9. หูช้าง Hu Chang
13
6,557
10. บ้านบึง Ban Bueng
7
3,575
11. บ้านใหม่คลองเคียน Ban Mai Khlong Khian
8
3,359
12. หนองบ่มกล้วย Nong Bom Kluai
11
3,402
13. เจ้าวัด Chao Wat
7
4,017

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอบ้านไร่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไร่ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 4 และตำบลบ้านบึง เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1
  • เทศบาลตำบลเมืองการุ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองการุ้ง เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 4–5, 9–10
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่นมะกรูดทั้งตำบลและตำบลบ้านไร่ เฉพาะหมู่ที่ 2–3, 5–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 4
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทัพหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทัพหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแห้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยแห้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคอกควาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคอกควายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองการุ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองการุ้ง เฉพาะหมู่ที่ 1–3, 6–8, 11–13 และบางส่วนของหมู่ที่ 4–5, 9–10
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองจอกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหูช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหูช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านบึง เฉพาะหมู่ที่ 2–7 และบางส่วนของหมู่ที่ 1
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่คลองเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่คลองเคียนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่มกล้วย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบ่มกล้วยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเจ้าวัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจ้าวัดทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอลานสัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (213 ง): 2624. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2019-08-25. วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2518
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาวง อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอนตาล อำเภอชาติตระการ อำเภอภูเรือ อำเภอเคียนซา อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ และอำเภอน้ำยืน พ.ศ. ๒๕๑๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (54 ง): (ฉบับพิเศษ) 30-33. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2022-04-05. วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอห้วยคต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (110 ง): 2766. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2527
  4. 4.0 4.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (179 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2019-08-25. วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
  5. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 1347–1348. วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2454
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-04-05. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบแยกและตั้งอำเภอในมณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 260–262. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30. วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2468
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2490
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 95-96. วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2500
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (87 ง): 2223–2225. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2514
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอลานสัก อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (121 ง): 3709–3712. วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2524
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองฉาง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (167 ง): 3262–3269. วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2522
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลภายในท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (102 ง): 3040–3043. วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2525
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (114 ง): 2230–2232. วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2526
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (71 ง): 1644–1648. วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2527
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองการุ้ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (69 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-3. วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2528
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (219 ง): (ฉบับพิเศษ) 87-90. วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2529
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 214-218. วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2531
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (178 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-7. วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2532
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 61-66. วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (173 ง): (ฉบับพิเศษ) 14-16. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2536
  22. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-05 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 108 ง): 1–3. 29 กันยายน 2004.
  24. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.