สะพานข้ามแม่น้ำแคว
สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่โครงสร้างเหล็กครึ่งวงกลม สลับโครงสร้างถัก ตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 ประมาณ 4 กิโลเมตร แยกซ้ายประมาณ 400 เมตร ปัจจุบันใช้เป็นทางสัญจรของรถไฟสายธนบุรี - น้ำตก หรือ ทางรถไฟสายมรณะ ในอดีต
สะพานข้ามแม่น้ำแคว | |
---|---|
สะพานข้ามแม่น้ำแคว | |
เส้นทาง | ธนบุรี - น้ำตก ทางรถไฟสายมรณะ |
ข้าม | แม่น้ำแควใหญ่ |
ที่ตั้ง | ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี ประเทศไทย |
ชื่อทางการ | สะพานข้ามแม่น้ำแคว |
ผู้ดูแล | จังหวัดกาญจนบุรี การรถไฟแห่งประเทศไทย |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานโครงสร้างเหล็กครึ่งวงกลม สลับโครงสร้างถัก ตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็ก[1] |
วัสดุ | คอนกรีตเสริมเหล็ก, เหล็ก |
ความยาว | 322.90 เมตร[2] |
ประวัติ | |
วันเริ่มสร้าง |
|
วันเปิด | พ.ศ. 2495 |
วันปิด | พ.ศ. 2488 (โดนทิ้งระเบิดทำลายโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดฝั่งสัมพันธมิตร) |
ที่ตั้ง | |
สะพานข้ามแม่น้ำแคว เดิมสร้างขึ้นโดยแรงงานของเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ภายใต้การควบคุมของกองทัพญี่ปุ่น การก่อสร้างใช้เวลาแล้วเสร็จเพียงหนึ่งปี ก่อนจะถูกระเบิดทิ้งทำลายจากกองบินสัมพันธมิตรจนสะพานช่วงกลางพังถล่มลงมา ต่อมาภายหลังสงครามโลกยุติลง รัฐบาลไทยได้ซื้อทางรถไฟนี้ต่อจากอังกฤษมาเป็นเงินจำนวน 50 ล้านบาท[5] แล้วบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2489 การซ่อมในครั้งนั้นได้ยุบตอม่อกลาง (ตัวที่ 5-6) แล้วสร้างเป็นสะพานเหล็ก 2 ช่วง แทนของเดิม กับเปลี่ยนช่วงสะพานไม้ด้านปลายทางเป็นสะพานเหล็กแทนสะพานไม้ รวมความยาวของสะพานทั้งสิ้น 322.90 เมตร[6]
ปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำแคว ได้กลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี ได้รับการยกย่องให้เป็น "สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ"[3][4] เนื้อเริ่องเกี่ยวสะพานแห่งนี้ยังได้รับการไปสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดเช่น เดอะบริดจ์ออนเดอะริเวอร์แคว (พ.ศ. 2500) ซึ่งสร้างมาจากนิยายในชื่อเดียวกัน และภาพยนตร์เรื่อง "The Railway Man แค้นสะพานข้ามแม่น้ำแคว" (พ.ศ. 2556) ซึ่งสร้างมาจากชีวประวัติของเชลยศึก ผู้ร่วมสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว นอกจากนี้ทางจังหวัดกาญจนบุรีได้มีการจัดงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว ประจำปีทุกปี ซึ่งมีการแสดงสีเสียง ย้อนรำลึกถึงสงครามโลกครั้งที่ 2[7]
ประวัติ
แก้สะพานข้ามแม่นำแควมีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน สมทบด้วยกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า และอินเดีย อีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง
สะพานข้ามแม่น้ำแควใช้เวลาสร้างเพียง 1 เดือน โดยนำเหล็กจากมลายูมาประกอบเป็นชิ้น ๆ ตอนกลางทำเป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง หัวและโครงสะพานเป็นไม้ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ได้ถูกทิ้งระเบิดหลายครั้งจนสะพานหักท่อนกลาง ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ด้วยเหล็กรูปเหลี่ยม เมื่อปี พ.ศ. 2489 จนสามารถใช้งานได้ ปัจจุบัน มีการยกย่องให้เป็น สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ
ปัญหาด้านทัศนียภาพ
แก้บริเวณโดยรอบสะพานข้ามแม่น้ำแคว ได้รับปัญหาทัศนียภาพเรื่อยมาทั้งการสร้างแพอาหารที่ล้ำไปกว่าครึ่งของแม่น้ำแคว การสร้างอาคาคารปฏิบัติธรรม 3 ชั้น ของมูลนิธิกวงอิมสุนทรธรรม โดยได้รับการต่อต้านจากชาวเมืองกาญจนบุรี หน่วยงาน สภาต่าง ๆ ของจังหวัดโดยตลอด ขณะที่ นายสุนทร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ หรือ "เสี่ยฮุก" คหบดีชื่อดังของภาคกลาง ก็ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่าที่นี่มีแต่สิ่งดีงาม และไม่เห็นว่าจะบดบังทัศนียภาพตรงไหน? สุดท้ายศาลเจ้าแห่งนี้ก็สร้างขึ้นแล้วเสร็จในเวลาต่อมา ทำให้มุมมองเมื่อมองไปทางฝั่งตะวันออกของสะพานจะเห็นรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมและศาลเจ้าเป็นฉากหลัง[8]
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ได้มีชาวบ้านเกือบร้อยคน มาถือป้ายประท้วงการนำตู้เทนเนอร์ติดแอร์มาติดตั้งเป็นห้องน้ำชั่วคราว ซึ่งเป็นการบดบังทัศนียภาพสะพานข้ามแม่น้ำแคว[9] แต่ต่อมาก็ได้มีการนำตู้นี้ออกไปแล้ว
การเดินทาง
แก้ทางรถยนต์
แก้- จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครปฐม จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี
- จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสายปิ่นเกล้า - นครชัยศรี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338) มุ่งหน้าสู่นครปฐม จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี
- ทั้งสองเส้นทางด้านบนจะต้องผ่านแยกนครชัยศรี
- จากแยกนครชัยศรี ขับตรงไป โดยจะผ่านสะพานไปบ้านแพ้ว ประมาณ 8.5 กิโลเมตร ผ่านสะพานไปตัวเมืองนครปฐม ประมาณ 0.5 กิโลเมตร ผ่านแยกไปจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 6.4 กิโลเมตร จากนั้นจะถึงสะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 9 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 24.4 กิโลเมตร
ทางรถโดยสารประจำทาง
แก้- จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ กรุงเทพฯ - กาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยสามารถนั่งรถปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี แล้วไปลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี
- จากขนส่งกาญจนบุรีนั่งรถสายกาญจนบุรี - เอราวัณ หรือรถสายกาญจนบุรี - ทองผาภูมิ - สังขละบุรี ไปลงตรงแยกซ้ายมือเข้าสะพานข้ามแม่น้ำแคว จากนั้นนั่งมอเตอร์ไซต์รับจ้างเข้าไปประมาณ 700 เมตร
ทางรถไฟ
แก้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ป้ายหยุดรถไฟสะพานแควใหญ่
สามารถโดยสารขบวนรถไฟสาย ธนบุรี - น้ำตก หรือขบวนรถนำเที่ยวพิเศษ กรุงเทพ (หัวลําโพง) - น้ำตก (เฉพาะเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ) ลงที่ สะพานแควใหญ่ ซึ่งอยู่ที่เชิงสะพานข้ามแม่น้ำแควพอดี
รูปภาพ
แก้-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 719 (C56-23) (C5623)
-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 709 (C56-11) ขณะทำขบวนรถสินค้าที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2511 ในช่วงยังไม่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 740 (C56-49) ขณะทำขบวนรถสินค้าที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว, จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2517 ในช่วงยังไม่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ สะพานข้ามแม่น้ำแคว, GEOCITIES.ws .สืบค้นเมื่อ 28/06/2561
- ↑ บันทึกข้อมูลเรื่องสะพาน, http://portal.rotfaithai.com/ .สืบค้นเมื่อ 28/06/2561
- ↑ 3.0 3.1 สะพานข้ามแม่น้ำแคว, kanchanaburi.center .สืบค้นเมื่อ 28/06/2561
- ↑ 4.0 4.1 สะพานข้ามแม่น้ำแคว กาญจนบุรี - ไปด้วยกันท่องเที่ยว, paiduaykan.com .สืบค้นเมื่อ 28/06/2561
- ↑ ภาพเก่า...เล่าตำนาน สะพานโหด ข้ามแคว ฝรั่งหาย ตายนับหมื่น, พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก, /www.matichon.co.th .สืบค้นเมื่อ 09/07/2561
- ↑ ประวัติความเป็นมา - จังหวัดกาญจนบุรี[ลิงก์เสีย], kanchanaburi.go.th .สืบค้นเมื่อ 09/07/2561
- ↑ เทศกาลและประเพณี : งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว และงานกาชาดจังหวัด เก็บถาวร 2019-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, https://thai.tourismthailand.org/ .สืบค้นเมื่อ 09/07/2561
- ↑ ชาวกาญจน์ฮือค้านสร้างตึกบังสะพานข้ามน้ำแคว, https://www.thairath.co.th/ .สืบค้นเมื่อ 09/07/2561
- ↑ เอาสมองส่วนไหนคิด!!! เมืองกาญจวกหนัก ไม่เอาส้วมติดแอร์ นายทุนต่างชาติทำ.., www.tnews.co.th/ .สืบค้นเมื่อ 09/07/2561
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สะพานข้ามแม่น้ำแคว
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
14°02′31″N 99°30′14″E / 14.041899°N 99.503822°E
สะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ในปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|
เหนือน้ำ สะพานคุณหญิงจินดา |
สะพานข้ามแม่น้ำแคว |
ท้ายน้ำ สะพานแควใหญ่ |