ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ เกิดวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2487 ที่บ้านท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นหนึ่งในนิสิตผู้เขียนหนังสือ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ในการต่อต้านการใช้อำนาจของภาครัฐจนนำมาสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ | |
---|---|
เกิด | 3 มีนาคม พ.ศ. 2487 จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (64 ปี) |
อาชีพ | นักเขียน, นักข่าว, นักหนังสือพิมพ์ |
สัญชาติ | ![]() |
ช่วงปีที่ทำงาน | พ.ศ. 2510 - 2551 |
ประวัติ แก้
- ประถมศึกษา โรงเรียนวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง
- มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
- มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประสบการณ์ด้านวิชาการ แก้
รับราชการที่ภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตั้งแต่พ.ศ. 2510 ถึงพ.ศ. 2547
มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการเพาะเห็ดชนิดต่าง ๆ นอกจากจะเป็นวิชาที่สอนให้ความรู้กับนิสิตแล้ว ยังมีการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการเพาะเห็ดให้กับเกษตรกรและประชาชนผู้สนใจทั่วประเทศ
การพัฒนาในเรื่องการปลูกขนุนในประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์ จนกระทั่งอาจารย์ดีพร้อมได้มีการเขียนบทความทางด้านการเกษตรในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ภายใต้ชื่อคอลัมน์ "ทำมาหากินบนผืนแผ่นดินไทย"
ส่งเสริมและขยายผลให้มีการใช้แพคโคลบิวทราโซลเพื่อบังคับให้มะม่วงออกและติดผลนอกฤดูกาล
การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตมะขามหวาน จังหวัดเพชรบูรณ์
ประสบการณ์ด้านการเมือง แก้
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2532
ประสบการณ์ด้านสังคม แก้
ร่วมการประท้วงศาลโลก ต่อต้านการคืนเขาพระวิหารให้กับเขมรในปี พ.ศ. 2509
ทำหนังสือประท้วงสถานทูตอเมริกาไม่ให้เครื่องบิน B52 บินผ่านแนวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รณรงค์ไม่ให้มีการซื้อสินค้าจากญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2514
อดีตนักกลอนชมรมวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ถึงแก่กรรม แก้
ถึงแก่กรรมวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ด้วยโรคมะเร็ง สิริรวมอายุได้ 64 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[1]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[2]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
อ้างอิง แก้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๕, ๙ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๔๘, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙