พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร)

พระพรหมโมลี นามเดิม วิลาศ ทองคำ ฉายา ญาณวโร เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง อดีตเจ้าอาวาสวัดยานนาวา เป็นนักเขียนวรรณกรรมศาสนาพุทธ โดยเฉพาะผลงาน 3 ชิ้น ได้แก่ ภูมิวิลาสินี วิมุตติรัตนมาลี และกรรมทีปนี ได้รับรางวัลชนะเลิศวรรณกรรมสาขาศาสนา จากธนาคารกรุงเทพ[1]

พระพรหมโมลี

(วิลาศ ญาณวโร)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด3 มิถุนายน พ.ศ. 2473 จังหวัดกาญจนบุรี (70 ปี)
มรณภาพ11 มกราคม พ.ศ. 2544 กรุงเทพมหานคร
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 9 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดยานนาวา 
อุปสมบท9 กรกฎาคม พ.ศ. 2493
พรรษา50
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดยานนาวา
เจ้าคณะภาค 1

ประวัติ แก้

พระพรหมโมลี เดิมชื่อ วิลาศ ทองคำ เกิดวันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม พ.ศ. 2473 ตรงกับวันที่ 3 เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1930 บิดาชื่อ นาย บัว มารดาชื่อ นาง ยม ทองคำ บ้านเกิดอยู่ที่ตำบลอุโลกสี่หมื่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อพ้นปฐมวัย วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2486 บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดแท่นดงรังวรวิหาร มีพระครูวรวัตตวิบูล วัดแสนตอ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบทเมื่อวันอาทิตย์แรม 11 ค่ำ เดือน 8 ปีขาล พ.ศ. 2493 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุทธิวรคุณ วัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูกัลยาณวิสุทธิ์ วัดดอน กรุงเทพมหานคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ญาณวโร มรณภาพลงเมื่อครั้งเดินทางไปยังเมืองทวาย เพื่อค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสณเถระและพระอุตรเถระ มรณภาพด้วยอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544 รวมอายุได้ 70 ปี 7 เดือน 8 วัน

สมณศักดิ์ แก้

  • พ.ศ. 2510 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีวิสุทธิโสภณ
  • พ.ศ. 2516 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวิสุทธิโสภณ อภิมณฑ์ศาสนบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[2]
  • พ.ศ. 2524 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมุนี ศรีวิสุทธินายก ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • พ.ศ. 2532 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม พระธรรมธีรราชมหามุนี คัมภีรญาณวิมล โสภณธรรมานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • พ.ศ. 2537 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพรหมโมลี ศรีสังฆโสภณ วิมลสีลาจารนิวัฐ สุจิตวรรณกรรมดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]

ผลงานในพระพุทธศาสนา แก้

  • ดำเนินงานการศึกษาของพระสงฆ์ ทั้งเป็นครูสอนพระปริยัติ และเป็นกรรมการตรวจธรรมบาลีสนามหลวง
  • ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (เมื่อ พ.ศ. 2532)
  • เป็นกรรมการศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสงฆ์สามเณร (พ.ศ. 2537)

ผลงานหนังสือ แก้

  • โลกทีปนี (กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖)
  • มุนีนาถทีปนี (ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๖)
  • วิปัสสนาทีปนี (ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๖)
  • โลกนาถทีปนี (มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗))
  • ภาวนาทีปนี (ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗)
  • โพธิธรรมทีปนี (ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗)
  • ภูมิวิลาสินี (พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๑) - ได้รับรางวัลชนะเลิศวรรณกรรมสาขาศาสนาเมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๓
  • วิมุตติรัตนมาลี (พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕) - ได้รับรางวัลชนะเลิศวรรณกรรมสาขาศาสนาเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
  • กรรมทีปนี (ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗) - ได้รับรางวัลชนะเลิศวรรณกรรมสาขาศาสนาเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๙
  • วิปัสสนาวงศ์ (พ.ศ. ๒๕๔๓)

การบริหาร ปกครองคณะสงฆ์ แก้

  • อดีตเจ้าอาวาสวัดดอน (ปัจจุบัน ชื่อ วัดบรมสถล)
  • อดีตเจ้าอาวาสวัดยานนาวา (พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2544)
  • อดีตเจ้าคณะภาค 1
  • อดีตคณะกรรมการ ศตภ.
  • อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม
ก่อนหน้า พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร) ถัดไป
พระธรรมราชานุวัตร (ไสว ฐิติธมโม)   เจ้าอาวาสวัดยานนาวา
(พ.ศ. 2531 — 2544)
  สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)

อ้างอิง แก้

  1. พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร), วิปัสสนาวงศ์[ลิงก์เสีย], หน้า 14-23
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 90 ตอนที่ 177, วันที่ 28 ธันวาคม 2516, ฉบับพิเศษ หน้า 1
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 98 ตอนที่ 206, วันที่ 17 ธันวาคม 2524, ฉบับพิเศษ หน้า 1
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 106 ตอนที่ 217, วันที่ 8 ธันวาคม 2532, ฉบับพิเศษ หน้า 1
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 111, ตอนที่ 102ง, วันที่ 22 ธันวาคม 2537, หน้า 4-7