พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เกิด 27 มกราคม พ.ศ. 2511) ชื่อเล่น เอียน เป็นเชฟชาวไทย มีชื่อเสียงจากการเป็นเชฟกระทะเหล็กประจำรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย และเป็น Executive Chef ชาวไทยคนแรกในโรงแรม 5 ดาวในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นเชฟประจำในร้าน Issaya Siamese Club ซอยศรีอักษร
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย | |
---|---|
เกิด | 27 มกราคม พ.ศ. 2511 เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ชื่ออื่น | เชฟเอียน |
อาชีพ | เชฟ |
ตัวแทน | เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป |
มีชื่อเสียงจาก | |
ผลงานเด่น | |
คู่สมรส | ซาร่าห์ ชาง |
ประวัติ แก้
พงษ์ธวัชเกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2511 เป็นบุตรชายคนเดียวในจำนวนพี่น้องทั้ง 8 คน ในวัยเด็กเขาช่วยแม่ขายข้าวราดแกงรถเข็นที่ซอยสุขุมวิท จนใน พ.ศ. 2524 ครอบครัวได้กู้เงินให้เขาไปเรียนภาษาอังกฤษที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยต้องทำงานพิเศษควบคู่ไปกับการเรียน เริ่มต้นจากการล้างจาน ก่อนเป็นพนักงานเสิร์ฟ และเข้าช่วยเชฟใหญ่ จนเมื่อช่วงที่ผู้ช่วยเชฟขาดงาน เขาก็ได้รับชวนให้เป็นผู้ช่วยเชฟใหญ่ ผู้จัดการเสนอให้เขาไปเรียนทำอาหารมาก่อนทำหน้าที่เชฟ แต่ระหว่างเรียนเขาประสบอุบัติเหตุถูกรถมอเตอร์ไซค์เฉี่ยวชน และพักรักษาในโรงพยาบาลหลายสัปดาห์ เป็นเหตุให้หมดสิทธิ์สอบและเรียนไม่จบ จากนั้นเขาเดินทางไปช่วยพี่สาวทำร้านอาหารที่ประเทศออสเตรเลีย ช่วงนี้เขาได้มีโอกาสฝึกฝนการทำอาหาร พร้อมตระเวนเป็นเชฟตามที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ประเทศออสเตรเลียไปจนถึงประเทศฝรั่งเศส
เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ได้เป็น Demi-Chef ของโรงแรมโฟร์ซีซันส์ด้วยฐานเงินเดือน 8,000 บาท และในปี พ.ศ. 2538 เขาได้เข้าแข่งขันในรายการ International Cooking Competition และสามารถเอาชนะเชฟจากประเทศสิงคโปร์ได้ด้วยคะแนน 41.5 - 40 คะแนน[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้นเขาก็ได้แสดงฝีมือจนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Executive Chef ประจำโรงแรมโฟร์ซีซันส์ นับเป็นชาวไทยคนแรกที่ได้รับตำแหน่ง Executive Chef ในโรงแรม 5 ดาวในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] เชฟเอียนประจำอยู่ที่โรงแรมนี้เป็นเวลา 11 ปีแล้วจึงลาออก และได้เดินทางไปเปิดร้านของตัวเองที่นครนิวยอร์ก สหรัฐ ในชื่อร้าน "Kittichai Restaurant" และได้รับการยกย่องผ่านนิตยสาร Conde' Nast Traveller ให้เป็นร้านอาหารที่ดีที่สุดในนครนิวยอร์ก[ต้องการอ้างอิง] ได้รับรางวัลร้านอาหารที่ดีที่สุดในเอเชียประจำปี พ.ศ. 2548[ต้องการอ้างอิง] และปัจจุบันได้ขยายสาขาไปยังมุมไบ ประเทศอินเดีย, บาร์เซโลนา ประเทศสเปน รวมถึงกรุงเทพมหานครด้วย
ปัจจุบันเขาเปิดบริษัท Cuisine Concept ให้คำแนะนำปรึกษาด้านธุรกิจร้านอาหารและการทำอาหาร เป็นที่ปรึกษาร้านอาหารที่ประเทศพม่า และยังเปิดร้านอาหารในนิวยอร์ก 5 สาขา, ร้านอาหารภายในรีสอร์ท เวิลด์ เซ็นโตซ่า ประเทศสิงคโปร์, ร้านอาหารภายในประเทศหลายแห่ง และมีแผนจะเปิดร้านอาหารในประเทศเนเธอร์แลนด์อีกไม่ต่ำกว่า 10 สาขา[1][2]
ในปี พ.ศ. 2554 เขาได้ถูกเลือกให้เป็นเชฟกระทะเหล็กอาหารตะวันตก แนวอินโนเวทีฟ ประจำรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2560 ได้เป็นกรรมการประจำรายการมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์[3]
ด้านชีวิตส่วนตัว ได้เข้าพิธีสมรสกับนางสาวซาร่าห์ ชาง ชื่อปัจจุบันคือนางซาร่าห์ เฉลิมกิตติชัย หญิงสาวชาวฮ่องกง มีบุตรด้วยกัน 2 คน
ผลงาน แก้
รายการโทรทัศน์ แก้
- เชฟมือทอง (พ.ศ. 2553)
- เชฟกระทะเหล็กอาหารตะวันตก แนวอินโนเวทีฟ ประจำรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน)
- คณะกรรมการในรายการมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ (พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน)
- The Big Kitchen เปลี่ยนชีวิตพิชิตฝัน (พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
- คณะกรรมการในรายการมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ (พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
- คณะกรรมการในรายการศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน)
- BID COIN CHEF สุดยอดเชฟหักเหลี่ยมโหด (กรกฎาคม - กันยายน พ.ศ. 2565 , ตุลาคม - ปัจจุบัน)
ร้านอาหาร แก้
- ร้าน Issaya Siamese Club
- ร้าน Issaya Café
- ร้านน้ำซ่า สีลม
- ร้าน Spot Dessert Bar ในนครนิวยอร์ก สหรัฐ จำนวน 5 สาขา
- ร้านอาหารภายในรีสอร์ท เวิลด์ เซนโตซา ประเทศสิงคโปร์
ภาพยนตร์ แก้
- เมนูของพ่อ (พ.ศ. 2556)[4]
หนังสือ แก้
- Chef Ian's Kitchen Revealed
อ้างอิง แก้
- ↑ Smart SME (20 เมษายน 2558). "เชฟเอียน จากเด็กที่ต้องทำงานช่วยแม่อย่างหนัก สู่เจ้าของร้านอาหารดังทั่วโลก". www.smartsme.co.th. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ผู้จัดการออนไลน์ (25 พฤศจิกายน 2554). ""เชฟเอียน" เมนูชีวิตระดับโลก". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ The Momentum (2 มิถุนายน 2560). "'เชฟเอียน' พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย: เมื่อ 'Iron Chef Thailand' มีคู่แข่ง และการมาถึงของ Michelin Guide Bangkok". themomentum.co. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ beerled (21 มกราคม 2556). "เมนูของพ่อ : รสนิยมของคนไทย ? (เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ)". pantip.com. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)