นพดล อินนา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพดล อินนา (เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503) สมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย[1] และอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นพดล อินนา | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา กลุ่มสิ่งแวดล้อมและพลังงาน | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2541-2549) รักษ์สันติ (2554-2561) |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนวิสุทธรังษี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ |
การศึกษา
แก้นพดล อินนา จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปริญญาโท จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และมหาวิทยาลัยนานาชาติประเทศไอร์แลนด์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) และปริญญาเอก(เกียรตินิยมยอดเยี่ยม) จาก มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ประเทศแคนาดา และ จบ Post Doctorate จากที่เดียวกันนี้อีกด้วย
การทำงาน
แก้นพดล อินนา เคยดำรงตำแหน่งรองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์, ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร และรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนพัฒนาและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Chief Information Officer (CIO) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนจะลาออกจากราชการไปทำงานภาคเอกชน และเข้าสู่วงการการเมืองในที่สุด โดยทำงานใกล้ชิดกับ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ในสังกัดพรรคไทยรักไทย จากนั้นได้ลงสมัคร สส.แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 70 ของพรรคใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 โดยได้รับเลื่อนหลังจากที่ สส.บัญชีรายชื่อลำดับต้นๆ ของพรรคได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี ทำให้สมาชิกภาพ สส. ของพวกเขาสิ้นสุดลง ต่อมาจึงได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทย พร้อมกับ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแนวทางการทำงานที่ไม่ตรงกัน
นพดล อินมา ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาองค์กร (ก.ต.ช.) กรรมการสภาประเภทผู้ทรงคุณวุฒิโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน และประธานอนุกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (อ.ก.ต.ช) ด้านการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ
ในปี พ.ศ. 2554 นพดล อินมา ได้กลับเข้ามาทำงานการเมืองอีกครั้งโดยการเข้าร่วมงานกับพรรครักษ์สันติ ซึ่งมีร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธานที่ปรึกษาพรรค[2] โดยลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในปี พ.ศ. 2567 นพดลได้ลงสมัครรับเลือกตั้งวุฒิสภา กลุ่มสิ่งแวดล้อมและพลังงาน และได้รับเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 8 ของกลุ่ม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ดร.นพดล อินนา เก็บถาวร 2004-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพรรคไทยรักไทย
- ↑ "เปิดตัวพรรครักษ์สันติอย่างเป็นทางการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-26. สืบค้นเมื่อ 2011-04-28.
- ↑ "เปิด64รายชื่อปาร์ตี้ลิสต์"พรรครักษ์สันติ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-23. สืบค้นเมื่อ 2011-05-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕