ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์

นายดาบตำรวจ ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ (14 มิถุนายน พ.ศ. 2510 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555)[3] เป็นนักกีฬาแบดมินตันชายชาวไทยประเภทชายคู่ ผู้ซึ่งเป็นแชมป์ประเทศไทย 11 สมัย[4] นอกจากนี้ เขายังเป็นเจ้าของเหรียญทองซีเกมส์ 1999 ที่ประเทศบรูไน, เหรียญเงินเอเชียนเกมส์ 1998 ที่ประเทศไทย และเหรียญเงินเอเชียนเกมส์ 2002 ที่ประเทศเกาหลีใต้ เขามักร่วมทีมกับ พ.อ.ศักดิ์ระพี ทองสาริ และเทศนา พันธ์วิศวาส โดยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ 2 ของโลกถึง 2 ครั้ง[5][6][7]

ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์
ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ นักแบดมินตันชายทีมชาติไทย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 มิถุนายน พ.ศ. 2510
จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
เสียชีวิต4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (45 ปี 112 วัน)
โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร
ส่วนสูง1.74 m (5 ft 8 12 in)
น้ำหนัก65 กก. (143 lb)
กีฬา
กีฬาแบดมินตัน
กำลังฝึกสอนบุญศักดิ์ พลสนะ[1]
พิสิษฐ์ พูดฉลาด[1]
กุลชลา วรวิจิตรชัยกุล[1]
ดวงอนงค์ อรุณเกษร[1]
ร.อ.หญิง สราลีย์ ทุ่งทองคำ[1]
ณริฎษาพัชร แลม[1]
ทรงพล อนุกฤตยาวรรณ[1]
พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข[1]
รัชนก อินทนนท์[2]
บุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธ์[1]
มณีพงศ์ จงจิตร[1]
บดินทร์ อิสสระ[1]

นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ฝึกสอนนักแบดมินตันไทยจนสามารถติดอันดับโลกหลายราย ทั้งบุญศักดิ์ พลสนะ, พิสิษฐ์ พูดฉลาด, กุลชลา วรวิจิตรชัยกุล, ดวงอนงค์ อรุณเกษร, ร.อ.หญิง สราลีย์ ทุ่งทองคำ, ณริฎษาพัชร แลม, ทรงพล อนุกฤตยาวรรณ, พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข, รัชนก อินทนนท์, บุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธ์, มณีพงศ์ จงจิตร และบดินทร์ อิสสระ[1]

ประวัติ แก้

ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ เริ่มเล่นแบดมินตันเมื่ออายุได้ 6 ขวบเมื่อครั้งเป็นนักเรียนประถมที่โรงเรียนสิทธิศึกษา จากนั้นได้ศึกษาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี และสำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. จากวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี จากนั้น เมื่อเขาย้ายมายังกรุงเทพมหานคร ก็ได้มีโอกาสร่วมทีมกับนักแบดมินตันที่มีชื่อเสียงหลายราย และปราโมทย์เริ่มมีชื่อเสียงอย่างมาก เมื่อครั้งที่เขาจับคู่กับศักดิ์ระพี ทองสาริ โดยสามารถขึ้นไปอยู่ในอันดับ 2 ของโลกจากการแข่งขันระดับนานาชาติหลายรายการ[1] และปราโมทย์ได้เข้าแข่งขันในกีฬาแบดมินตันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ในประเภทชายคู่ร่วมกับเทศนา พันธ์วิศวาส โดยพวกเขาเป็นฝ่ายชนะแอชลีย์ เบรเฮาท์ และเทรวิส เดนนีย์ จากประเทศออสเตรเลียในรอบแรก จากนั้นทั้งคู่ก็เป็นฝ่ายแพ้ต่อจง เถิงฝู และหลี่ ว่านหัว จากประเทศมาเลเซียในรอบ 16 คนสุดท้าย

ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ปราโมทย์เข้าแข่งขันร่วมกับเทศนา พันธ์วิศวาส พวกเขาชนะในรอบ 32 คนสุดท้าย แต่เป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมมาเลเซียในรอบ 16 คนสุดท้าย หลังจากที่เขาเลิกการแข่งขันแบดมินตันแล้ว ก็ได้ผันตัวมาเป็นโค้ชให้แก่ทีมชาติไทยในเวลาต่อมา[6][7]

ด้านชีวิตส่วนตัว ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ สมรสกับ ณฐมล ธีระวิวัฒน์ และมีบุตรชายด้วยกัน 2 คน[7]

การเสียชีวิต แก้

ปราโมทย์พบว่าตนป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดในช่วงต้นปี พ.ศ. 2554 ทั้งที่ซึ่งเขาไม่ได้เป็นคนดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ จากนั้นเขาได้เข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี[1] ปราโมทย์ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ด้วยโรคมะเร็งปอด ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยญาติได้นำร่างของเขาไปประกอบพิธีที่วัดถาวรวราราม จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา และกำหนดพิธีฌาปนกิจศพในวันที่ 9 ของเดือนเดียวกันนี้[6][7] ในการจากไปนี้ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ซึ่งเป็นประธานที่ปรึกษาสมาคมแบดมินตันฯ ได้แสดงการไว้อาลัยผ่านทางเฟซบุ๊กของ ด.ต.ปราโมทย์ รวมทั้ง รัชนก อินทนนท์ ที่เคยรับการฝึกสอนจาก ด.ต.ปราโมทย์ ก็ได้แสดงความอาลัยผ่านทางอินสตาแกรมด้วยเช่นกัน[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ .... สุดยอดนักแบดฯระดับตำนาน[ลิงก์เสีย]
  2. 'เมย์'แชมป์แบด-มอบเงินช่วยบ้านปราโมทย์ : ข่าวสดออนไลน์
  3. ด.ต.ปราโมทย์ อดีตนักแบดมินตัน เสียชีวิต - Mcot.net[ลิงก์เสีย]
  4. "Cancer claims badminton great Pramote". News.asiaone.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-16. สืบค้นเมื่อ 2012-10-05.
  5. 5.0 5.1 วงการแบดฯเศร้า! "ด.ต.ปราโมทย์"อดีตนักตบลูกขนไก่ทีมชาติเสียชีวิตแล้ว
  6. 6.0 6.1 6.2 แบดฯสิ้นปราโมทย์ เจริญยันช่วยเต็มที่. เดลินิวส์. ฉบับที่ 23,004. วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555. ISSN 16860004. หน้า 18
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 คมชัดลึก. ปีที่ 11 ฉบับที่ 4003. วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555. ISSN 16851390. หน้า 24
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๔, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๙๓, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้