อำเภอไทรโยค

อำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย

ไทรโยค เป็นอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากศูนย์กลางจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร ลักษณะทั่วไปเป็นพื้นทีป่าไม้และภูเขา มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงคือ น้ำตกไทรโยค, ถ้ำละว้า, ถ้ำดาวดึงส์ และอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เป็นต้น

อำเภอไทรโยค
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sai Yok
ทางรถไฟสายมรณะช่วงที่ผ่านช่องเขาขาด
ทางรถไฟสายมรณะช่วงที่ผ่านช่องเขาขาด
คำขวัญ: 
เมืองชายแดน แคว้นประวัติศาสตร์
ธรรมชาติงดงาม นามไทรโยค
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอไทรโยค
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอไทรโยค
พิกัด: 14°6′56″N 99°8′40″E / 14.11556°N 99.14444°E / 14.11556; 99.14444
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,728.922 ตร.กม. (1,053.643 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด66,099 คน
 • ความหนาแน่น24.22 คน/ตร.กม. (62.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 71150
รหัสภูมิศาสตร์7102
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอไทรโยค หมู่ที่ 1 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ตำบลบ้องตี้

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้ไข

อำเภอไทรโยค ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ แก้ไข

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จประพาสน้ำตกไทรโยคน้อย ในวันที่ 23 มีนาคม 2431[1][2][3][4][5][6] ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีชื่อ พระองค์ได้ทอดพระเนตรและเห็นต้นไทรที่ขึ้นอยู่ริมธารน้ำจึงตั้งชื่อ "น้ำตกไทรโยคน้อย" และเมื่อได้มีการจัดตั้งอำเภอขึ้นจึงตั้งชื่ออำเภอตามชื่อน้ำตกไทรโยค

  • วันที่ 31 มีนาคม 2449 ยุบอำเภอไทรโยค เป็น กิ่งอำเภอไทรโยค[7][8] ขึ้นกับอำเภอสังขละบุรี
  • วันที่ 7 กันยายน 2467 โอนพื้นที่กิ่งอำเภอไทรโยค อำเภอสังขละบุรี ไปขึ้นกับอำเภอวังกะ[9]
  • วันที่ 25 ตุลาคม 2479 ย้ายที่ว่าการอำเภอไทรโยค ไปตั้งที่บ้านวังโพ ตำบลลุ่มสุ่ม กิ่งอำเภอไทรโยค และได้โอนพื้นที่ตำบลแม่กระบาล จากอำเภอเมืองกาญจนบุรี ไปขึ้นกิ่งอำเภอไทรโยค โอนกิ่งอำเภอไทรโยค จากอำเภอวังกะ มาขึ้นอยู่ในความปกครองอำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี รวมถึงยุบตำบลป่าพง กิ่งอำเภอไทรโยค รวมเข้ากับตำบลลุ่มสุ่ม กิ่งอำเภอไทรโยค[10]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลแม่กระบาล กิ่งอำเภอไทรโยค เป็น ตำบลสิงห์[11]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม ในท้องที่บางส่วนของตำบลลุ่มสุ่ม[12]
  • วันที่ 16 กรกฎาคม 2506 ตั้งกิ่งอำเภอไทรโยค อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็น อำเภอไทรโยค[13]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 จัดตั้งสุขาภิบาลน้ำตกไทรโยคน้อย ในท้องที่บางส่วนของตำบลลุ่มสุ่ม[14]
  • วันที่ 3 ตุลาคม 2515 ตั้งตำบลท่าเสา แยกออกจากตำบลลุ่มสุ่ม[15]
  • วันที่ 22 พฤษภาคม 2517 ตั้งสภาตำบลสิงห์[16] อำเภอไทรโยค
  • วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2518 โอนหมู่ที่ 3 ตำบลสิงห์ ไปขึ้นกับตำบลลุ่มสุ่ม แล้วตั้งเป็นหมู่ที่ 5 ตำบลลุ่มสุ่ม[17]
  • วันที่ 7 ตุลาคม 2518 ตั้งตำบลวังกระแจะ แยกออกจากตำบลท่าเสา และตั้งตำบลศรีมงคล แยกออกจากตำบลสิงห์[18]
  • วันที่ 2 พฤศจิกายน 2519 ตั้งตำบลบ้องตี้ แยกออกจากตำบลลุ่มสุ่ม[19]
  • วันที่ 19 ตุลาคม 2525 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[20]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม และสุขาภิบาลน้ำตกไทรโยคน้อย เป็น เทศบาลตำบลลุ่มสุ่ม และเทศบาลตำบลน้ำตกไทรโยคน้อย ตามลำดับ[21]
  • วันที่ 20 ตุลาคม 2549 เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเทศบาลตำบลวังโพธิ์ เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาล[22]
  • วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562 เกิดเหตุเครื่องบินเซสน่า 208 คาราวานทะเบียน 1917 ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรตก มีผู้เสียชีวิต 2 ราย นับเป็นเหตุเครื่องบินตกในประเทศไทยที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่ารายเดียวในรอบ 9 ปี[23]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้ไข

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้ไข

อำเภอไทรโยคแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 58 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ลุ่มสุ่ม (Lum Sum) 11 หมู่บ้าน 5. วังกระแจะ (Wang Krachae) 9 หมู่บ้าน
2. ท่าเสา (Tha Sao) 11 หมู่บ้าน 6. ศรีมงคล (Si Mongkhon) 8 หมู่บ้าน
3. สิงห์ (Sing) 6 หมู่บ้าน 7. บ้องตี้ (Bongti) 4 หมู่บ้าน
4. ไทรโยค (Sai Yok) 9 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้ไข

ท้องที่อำเภอประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลวังโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลุ่มสุ่ม
  • เทศบาลตำบลน้ำตกไทรโยคน้อย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าเสา
  • เทศบาลตำบลไทรโยค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรโยคทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลุ่มสุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุ่มสุ่ม (นอกเขตเทศบาลตำบลวังโพธิ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเสา (นอกเขตเทศบาลตำบลน้ำตกไทรโยคน้อย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสิงห์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังกระแจะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีมงคลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้องตี้ทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว แก้ไข

 
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค

สถานพยาบาล แก้ไข

  • โรงพยาบาล มีทั้งหมด 2 แห่ง[24] ได้แก่
    • โรงพยาบาลไทรโยค เป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอไทรโยค ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 22/1 หมู่ที่ 1 บ้านวังโพธิ์ ถนนสุขาภิบาล ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง (F2) จำนวนเตียง 60 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
    • โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 237 หมู่ที่ 7 บ้านวังนกแก้ว ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง (F2) จำนวนเตียง 30 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีทั้งหมด 12 แห่ง ได้แก่
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขสภาพตำบล บ้านช่องอ้ายกาง ตำบลลุ่มสุ่ม
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขสภาพตำบล บ้านท่าเสา ตำบลท่าเสา
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขสภาพตำบล บ้านพุเตย ตำบลท่าเสา
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขสภาพตำบล บ้านหนองปลา ตำบลวังกระแจะ
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขสภาพตำบล บ้านแก่งระเบิด ตำบลวังกระแจะ
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขสภาพตำบล บ้านแม่น้ำน้อย ตำบลไทรโยค
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขสภาพตำบล บ้านท่าทุ่งนา ตำบลไทรโยค
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขสภาพตำบล บ้านทุ่งก้างย่าง ตำบลไทรโยค
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขสภาพตำบล บ้านดาวดึงส์ ตำบลไทรโยค
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขสภาพตำบล บ้านทุ่งเรือโกลน ตำบลศรีมงคล
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขสภาพตำบล บ้านท่ากิเลน ตำบลสิงห์
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขสภาพตำบล บ้านบ้องตี้ ตำบลสิงห์

สถานศึกษา แก้ไข

อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีการจัดการศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียน มีหน่วยงานของรัฐและเอกชน รับผิดชอบประกอบด้วย ระดับก่อนประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วยสถานศึกษา[24] ดังนี้

  • มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
  • ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไทรโยค
  • เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 3 จำนวนโรงเรียน 40 โรงเรียน
  • ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่
    • โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค
    • โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค
    • โรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยา ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค
  • โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่
    • โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านต้นมะม่วง ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค
    • โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฮงเค็ลไทย ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค หรือชื่อเดิมคือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านมะเซอย่อ
    • โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวัดสุธาสินีวนาราม ตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค
    • โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่น้ำน้อย ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค

ข้อมูลด้านชายแดน แก้ไข

อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนประเทศสหภาพพม่า ระยะทางยาวประมาณ 80 กิโลเมตร โดยมีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นแนวเขตแดน ตำบลในอำเภอไทรโยคที่ติดกับชายแดน มี 4 ตำบล คือ ตำบลไทรโยค ตำบลวังกระแจะ ตำบลบ้องตี้ และตำบลศรีมงคล มีช่องทางเข้าออกชายแดนถึง 5 ช่องทาง[24] ได้แก่

  • ช่องทางห้วยโมง หมู่ที่ 3 บ้านท้ายเหมือง ตำบลบ้องตี้ ห่างจากอำเภอไทรโยคประมาณ 33 กิโลเมตร
  • ช่องทางเขาปลาน้อย หมู่ที่ 7 บ้านพุหว้า ตำบลวังกระแจะ ห่างจากอำเภอไทรโยคประมาณ 45 กิโลเมตร
  • ช่องทางกระรอกดง หมู่ที่ 4 บ้านหนองศรีมงคล ตำบลศรีมงคล ห่างจากอำเภอไทรโยคประมาณ 35 กิโลเมตร
  • ช่องทางด่านบ้องตี้ หมู่ที่ 3 บ้านท้ายเหมือง ตำบลบ้องตี้ ห่างจากอำเภอไทรโยคประมาณ 29 กิโลเมตร
  • ช่องทางเหมืองเต่าดำ หมู่ที่ 8 บ้านบ้องตี้น้อย ตำบลวังกระแจะ ห่างจากอำเภอไทรโยคประมาณ 55 กิโลเมตร

หน่วยงานที่ควบคุมสถานการณ์ชายแดน ได้แก่ กองร้อย ตชด.ที่ 136 จัดกำลัง จำนวน 1 หมวด ประจำอยู่ที่ บก.หมวดบ้านบ้องตี้บน หมู่ที่ 1 ตำบลบ้องตี้ และหมวด 1 ประจำอยู่ที่ บก.หมวดเขาปลาน้อย หมู่ที่ 8 ตำบลวังกระแจะ กับ กองร้อย อส.อ.ไทรโยค ที่ 7 จัดชุด อส.ระวังเหตุ จำนวน 3 ชุด ประจำจุดเฝ้าตรวจชายแดนบ้านท้ายเหมือง หมู่ที่ 3 ตำบลบ้องตี้ บ้านทุ่งฉาง (หนองศรีมงคล) หมู่ที่ 4 ตำบลศรีมงคล และบ้านพุหว้า หมู่ที่ 7 ตำบลวังกระแจะ

อ้างอิง แก้ไข

  1. "กำหนดวันเสด็จไทรโยค" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 (41): 353–356. 21 กุมภาพันธ์ 2431.
  2. "กำหนดวันเสด็จไทรโยค" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 (42): 360–362. 28 กุมภาพันธ์ 2431.
  3. "กำหนดวันเสด็จไทรโยค" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 (43): 369–370. 8 มีนาคม 2431.
  4. "กำหนดวันเสด็จทางไทรโยค" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 (44): 378–379. 15 มีนาคม 2431.
  5. "เสด็จพระราชดำเนินลำน้ำน้อยแควไทรโยค" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 (45): 382–387. 23 มีนาคม 2431.
  6. "กำหนดวันตามระยะทางเสด็จกลับไทรโยค" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 (45): 388–389. 23 มีนาคม 2431.
  7. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์เป็นกิ่งอำเภอ และย้ายอำเภอสังขละบุรีมาตั้งที่เมืองท่าขนุน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (53): 1332. 31 มีนาคม 2449.
  8. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์เป็นกิ่งอำเภอ ย้ายที่ว่าการอำเภอสังขละมาตั้งที่ท่าขนุน คงเรียงว่าอำเภอสังขละและที่ว่าการอำเภอสังขละเดิม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่ากิ่งอำเภอวังกะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (5): 92. 5 พฤษภาคม 2450.
  9. "ประกาศ เรื่อง จัดการเปลี่ยนแปลงอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 75–76. 7 กันยายน 2467.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยค และเปลี่ยนแปลงเขตต์อำเภอและเขตต์ตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 1912–1913. 25 ตุลาคม 2479.
  11. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. 17 เมษายน 2482. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม กิ่งอำเภอไทรโยค อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-2. 28 พฤศจิกายน 2499.
  13. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดุง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (72 ก): 362–366. 16 กรกฎาคม 2506. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2019-07-06.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลน้ำตกไทรโยคน้อย อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (123 ง): 3213–3214. 16 พฤศจิกายน 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2019-07-06.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (149 ง): 2524–2526. 3 ตุลาคม 2515.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. 22 พฤษภาคม 2517.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (24 ง): 343–344. 4 กุมภาพันธ์ 2518.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (207 ง): 2475–2481. 7 ตุลาคม 2517.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (140 ง): 3131–3133. 2 พฤศจิกายน 2519.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (153 ง): 4200–4201. 19 ตุลาคม 2525.
  21. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-08.
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 1. 20 ตุลาคม 2549.
  23. กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
  24. 24.0 24.1 24.2 [1] เก็บถาวร 2020-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนข้อมูลอำเภอไทรโยค