เทศบาลตำบลวังโพธิ์
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
วังโพธิ์ เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 1 ของตำบลลุ่มสุ่ม ในอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลลุ่มสุ่มที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2499[2] และขยายเขตสุขาภิบาลในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งยึดเป็นเขตเทศบาลในปัจจุบัน[3] แล้วได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[4] ในวันที่ 20 ตุลาคม 2549 กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลลุ่มสุ่ม จังหวัดกาญจนบุรี เป็น "เทศบาลตำบลวังโพธิ์[5] เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงที่เทศบาลตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 1 บ้านวังโพธิ์ ของตำบลลุ่มสุ่ม ปัจจุบันในเขตเทศบาลมีประชากร 3,926 คน
เทศบาลตำบลวังโพธิ์ | |
---|---|
สถานีรถไฟวังโพ ในเส้นทางรถไฟสายใต้ เป็นสถานที่คมนาคมคอยให้บริการด้านการเดินทางกับประชาชนในพื้นที่เทศบาล | |
พิกัด: 14°06′57.0″N 99°08′52.3″E / 14.115833°N 99.147861°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาญจนบุรี |
อำเภอ | ไทรโยค |
จัดตั้ง | • 28 พฤศจิกายน 2499 (สุขาภิบาลลุ่มสุ่ม) • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.ลุ่มสุ่ม) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 5.200 ตร.กม. (2.008 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563)[1] | |
• ทั้งหมด | 2,077 คน |
• ความหนาแน่น | 399.42 คน/ตร.กม. (1,034.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05710202 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 999 หมู่ที่ 1 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150 |
เว็บไซต์ | www |
พื้นที่เทศบาลตำบลอยู่บริเวณเขตศูนย์ราชการต่าง ๆ ของอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 55 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 174 กิโลเมตรตามทางรถยนต์ และประมาณ 174 กิโลเมตรตามทางรถไฟสายใต้ ซึ่งมีสถานีรถไฟวังโพ คอยให้บริการด้านการเดินทางกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอไทรโยค ด้านตะวันตกของเขตเทศบาลมีแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านเป็นแหล่งน้ำสำคัญ มีพื้นที่รับผิดชอบ 5.200 ตารางกิโลเมตร
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชากรในเทศบาลตำบลวังโพธิ์ พ.ศ. 2563 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม กิ่งอำเภอไทรโยค อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-2. November 28, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (153 ง): 4200–4201. October 19, 1982.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-08.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (-): 1.[ลิงก์เสีย] วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2549