อำเภอทองผาภูมิ

อำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย

ทองผาภูมิ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัด มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ เขื่อนวชิราลงกรณ เป็นต้น

อำเภอทองผาภูมิ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thong Pha Phum
อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
คำขวัญ: 
น้ำพุร้อนหินดาด ตลาดอีต่อง
โบอ่องเจดีย์ ราชินีปูไทย เพลินใจแควน้อย
เกินร้อยภูผา งามสุดตาเขื่อนวชิราลงกรณ
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอทองผาภูมิ
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอทองผาภูมิ
พิกัด: 14°44′45″N 98°37′30″E / 14.74583°N 98.62500°E / 14.74583; 98.62500
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด3,655.171 ตร.กม. (1,411.269 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด69,604 คน
 • ความหนาแน่น19.04 คน/ตร.กม. (49.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 71180
รหัสภูมิศาสตร์7107
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอทองผาภูมิ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 71180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ภูมิลักษณ์ในตำบลปิล็อก (เนินช้างศึก)

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอทองผาภูมิมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงเรียงทิศตามเข็มนาฬิกาดังนี้

ประวัติ

แก้

อำเภอทองผาภูมิซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านท่าขนุน ตำบลท่าขนุน มีประวัติมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเนื่องจากเคยเป็นเมืองหน้าด่าน ในสมัยโบราณเคยเป็นเส้นทางเดินทัพบกโดยปรากฏชื่อเมืองท่าขนุน ส่วนชาวกรุงเก่าเรียกชื่อเมืองทองผาภูมิว่า เมืองทองปาปุน[1]: 200 [2] และในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา มีชื่อว่า เมืองทองผาภูมิ[3]: 411  หรือ เมืองทองภาภูมิ [4]: 242  ปรากฎในเหตุการณ์พม่าเกิดศึกเมืองอังวะอันเนื่องจากกองทัพจีนฮ่อเข้าล้อมเมืองในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีรับสั่งให้มีท้องตราถึงทัพฝ่ายเหนือให้อย่าตีเมืองลำพูนและเมืองเชียงใหม่ แล้วให้ยกทัพไปตีโอบหลังทัพพม่า ณ เมืองศรีสวัสดิ์ เมืองมังคลา และเมืองทองผาภูมิ[5]: 200 

เมืองทองผาภูมิได้ชื่อว่าเป็นเมือง 1 ใน 7 หัวเมืองมอญ[6]: 109  หรือเมือง รามัญ ๗ เมือง[7]: 88  เนื่องจากสมัยสงครามสมรภูมิลาดหญ้าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหัวหน้ามอญทั้งเจ็ดรวมทั้งด่านทองผาภูมิเป็นผู้คุมทหารมอญเมืองด่านร่วมกับทหารมอญเมืองสามโคกของเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) มีหน้าที่ช่วยลาดตระเวนสืบข่าวการเคลื่อนไหวของพม่า เมื่อฝ่ายพม่าปราชัยต่อกองทัพหลวงของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ยกด่านทองผาภูมิขึ้นเป็น เมืองทองผาภูมิ และโปรดเกล้าฯ ให้หัวหน้ามอญทั้งเจ็ดขึ้นเป็นเจ้าเมือง "...เมืองทองผาภูมิ ให้เป็นพระทองผาภูมิ..."[6]: 110 

สมัยรัชกาลที่ 2 พระทองผาภูมิ เจ้าเมืองมอญในขณะนั้นเห็นว่าการตั้งบ้านเมืองอยู่ในป่าชายแดนเมืองกาญจนบุรีมีความยากลำบาก ราษฎรขัดสน ทำนาทำไร่ไม่ได้ผล[7]: 88  จึงขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขอพระบรมราชานุญาตย้ายครอบครัวมาที่โพธารามและบ้านโป่ง เมืองราชบุรีโดยตั้งบ้านเรือนอยู่ใต้วัดใหญ่นครชุมน์ริมแม่น้ำแม่กลอง แต่พระทองผาภูมิยังส่งทหารมอญไปดูแลและตระเวนเมืองทองผาภูมิเช่นเดิม[6]: 110 

สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แปลงราชทินนามเจ้าเมืองรามัญทั้งเจ็ด ทรงแปลงราชทินนาม พระทองผาภูมิ เป็น พระเสลภูมิบดี ต่อมารัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาลโดยเปลี่ยนระบบเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง เมืองทองผาภูมิ จึงถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอำเภอ ครั้งหนึ่งทางราชการยกให้ฐานะเป็น กิ่งอำเภอสังขละบุรี ขึ้นกับอำเภอวังกะ และให้พระศรีสุวรรณคีรี (ทะเจียงโปรย) ขุนนางเชื้อสายกะเหรี่ยงเป็นผู้ว่าราชการเมือง[6]: 111  จนกระทั่งในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอสังขละบุรีเป็น กิ่งอำเภอทองผาภูมิ ส่วนอำเภอวังกะที่กิ่งอำเภอขึ้นตรงนั้นได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอสังขละบุรี" แทน[8] ต่อมาจึงได้มีการยกฐานะกิ่งอำเภอนี้ขึ้นมาเป็น อำเภอทองผาภูมิ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ซึ่งในขณะเดียวกันอำเภอสังขละบุรีได้ถูกยุบลงเป็นกิ่งอำเภอสังขละบุรีอีกด้วย[9]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
ภูมิลักษณ์ในตำบลท่าขนุน

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอทองผาภูมิแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 45 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ท่าขนุน (Tha Khanun) 5 หมู่บ้าน
2. ปิล๊อก (Pilok) 4 หมู่บ้าน
3. หินดาด (Hin Dat) 8 หมู่บ้าน
4. ลิ่นถิ่น (Linthin) 7 หมู่บ้าน
5. ชะแล (Chalae) 7 หมู่บ้าน
6. ห้วยเขย่ง (Huai Khayeng) 8 หมู่บ้าน
7. สหกรณ์นิคม (Sahakon Nikhom) 6 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอทองผาภูมิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลทองผาภูมิ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าขนุน
  • เทศบาลตำบลสหกรณ์นิคม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสหกรณ์นิคมทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลท่าขนุน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าขนุน (นอกเขตเทศบาลตำบลทองผาภูมิ)
  • เทศบาลตำบลลิ่นถิ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลิ่นถิ่นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปิล๊อก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปิล๊อกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินดาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชะแล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะแลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเขย่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยเขย่งทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. คำให้การชาวกรุงเก่า คำให้การขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. พระนคร: กรมศิลปากร, 2507. 10,472 หน้า.
  2. หอพระสมุดวชิรญาณ. (2457). คำให้การชาวกรุงเก่า. พระยาเจริญราชธน (มิ้น เลาหเสรษฐี) พิมพ์แจกในงานศพอิ่ม จ. จ. ผู้มารดา พ.ศ. ๒๔๕๗.. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทย ณ สพานยศเส, 2457. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565.
  3. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน. พระนคร: คลังวิทยา, 2514. 656 หน้า.
  4. กรมวิชาการ. (2501). พระราชพงศาวดารกรุงเก่า (ตามต้นฉบับของกรมราชบัณฑิต). พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกเอก เจ้าพระยาศรีพัฒน์รัตนราโกษาธิบดี (ม.ร.ว. มูล ดารากร) ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยเขษม. 389 หน้า.
  5. คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี. (2542). ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 434 หน้า. ISBN 974-419-217-8
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2566). "นางข้าหลวงชาวกะเหรี่ยงแห่งเมืองทองผาภูมิ "คนัง ๒" แห่งราชสำนักสยาม," ใน ศิลปวัฒนธรรม 44(3), (2566, มกราคม).
  7. 7.0 7.1 สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์ และคณะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2536). "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลุ่มแม่น้ำแม่กลอง: ศึกษาจากกรณีชุมชนมอญบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี" ใน ลุ่มน้ำแม่กลอง: พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม (The Mae Klong Basin: Socio-cultural Development). กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์. 304 หน้า. ISBN 974-476-122-9
  8. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). Royal Gazette. 56 (0 ก): 354–364. April 17 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-15. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอและยุบอำเภอลงเป็นกิ่ง จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 1238. 20 พฤษภาคม 2484. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-01. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้