ตำบลสิงห์ (อำเภอไทรโยค)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สิงห์ เป็น 1 ใน 7 ตำบลของอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์และโบราณสถานเมืองครุฑ ที่ได้รับอิทธิพลจากขอมเพียงแห่งเดียวทางภาคตะวันตกของประเทศไทย และมีทางรถไฟสายมรณะผ่านพื้นที่โดยมีสถานีสำคัญคือ สถานีรถไฟท่ากิเลน
ตำบลสิงห์ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Sing |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาญจนบุรี |
อำเภอ | ไทรโยค |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 87.00 ตร.กม. (33.59 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 5,313 คน |
• ความหนาแน่น | 61.07 คน/ตร.กม. (158.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 71150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 710203 |
องค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ | |
---|---|
พิกัด: 14°01′21.4″N 99°15′34.2″E / 14.022611°N 99.259500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาญจนบุรี |
อำเภอ | ไทรโยค |
จัดตั้ง | • 22 พฤษภาคม 2517 (สภาตำบลสิงห์) • 30 มกราคม 2539 (อบต.สิงห์) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 87.00 ตร.กม. (33.59 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565)[1] | |
• ทั้งหมด | 5,313 คน |
• ความหนาแน่น | 61.07 คน/ตร.กม. (158.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06710209 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 15 หมู่ที่ 1 ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลสิงห์มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ และตำบลลุ่มสุ่ม
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบ้านเก่า
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบ้านเก่า ตำบลวังด้ง และตำบลลาดหญ้า (อำเภอเมืองกาญจนบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลศรีมงคล
ประวัติ
แก้เมืองสิงห์เป็นชื่อเมืองที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ไทยเป็นครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่แท้จริงชื่อเมืองสิงห์ได้ปรากฏขึ้นในศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1700-1800) แล้ว ในศิลาจารึกหลักนั้นได้กล่าวถึงชื่อเมืองต่าง ๆ ว่าเป็นที่ประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่ง ศรีชัยสิงห์บุรี คือเมืองสิงห์ อันเป็นที่ตั้งของปราสาทเมืองสิงห์[ต้องการอ้างอิง] โดยพระองค์ได้ทรงสถาปนาเมืองสิงห์ขึ้นมาใหม่ โดยมีฐานะเป็นเพียงเมืองด่านเล็กที่มีเจ้าเมืองปกครองและขึ้นอยู่กับเมืองกาญจนบุรี แต่เนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่กันดาร เจ้าเมืองจึงไม่ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่แต่ทว่าไปที่บ้านโป่งและส่งหมวดลาดตระเวนไปคอยตรวจตราเป็นประจําเจ้าเมือง จะขึ้นไปบัญชาการที่เมืองนี้กรณีฉุกเฉินบางครั้งบางคราวเท่านั้น ต่อมาเมื่อถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามแก่เจ้าเมืองที่ครองเมืองด่านเล็ก ๆ ตามลําน้ําแควน้อยใหม่ทั้งหมด เช่น พระราชทานนามเจ้าเมืองไทรโยคว่า พระนิโครธาภิโยค พระราชทานนามเจ้าเมืองตะกั่วป่าว่าพระชินดิษฐบดี ส่วนเจ้าเมืองสิงห์ได้รับพระราชทานนามว่าพระสมิงสิงห์บุรินทร์ เมืองสิงห์ดํารงฐานะเป็นเมืองด่านเรื่อยมาจนมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ เมืองสิงห์จึงได้ลดฐานะลงเป็น "ตำบลเมืองสิงห์"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2438 จากคำบลเมืองสิงห์เป็นตำบลชื่อ "ตำบลแม่กระบาล" เป็น 1 ใน 3 ตำบลที่อำเภอไทรโยค ต่อมาไทรโยคได้ลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2449 ขึ้นกับอำเภอสังขละบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอทองผาภูมิ)[2][3] ในปี พ.ศ. 2467 ได้ยุบอำเภอสังขละบุรีลงเป็นกิ่งและตั้งอำเภอวังกะขึ้นแทน จึงให้โอนกิ่งอำเภอไทรโยคไปขึ้นกับอำเภอวังกะ (ปัจจุบันคืออำเภอสังขละบุรี)[4] และให้ที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยคมาที่ตำบลแม่กระบาล
จนถึงปี พ.ศ. 2479 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยค อำเภอวังกะ จากตำบลแม่กระบาล ไปตั้งที่บ้านวังโพ ตำบลลุ่มสุ่ม ในท้องที่กิ่งเดียวกันและโอนพื้นที่ตำบลแม่กระบาล จากอำเภอเมืองกาญจนบุรี มาขึ้นกิ่งอำเภอไทรโยค และโอนย้ายกิ่งอำเภอไทรโยค ของอำเภอวังกะ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองกาญจนบุรี[5] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อตำบลแม่กระบาล เป็น "ตำบลสิงห์"[6] เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงของท้องที่
ตำบลสิงห์มีพื้นที่ขนาดกว้างขวางมาก จึงมีการแบ่งหมู่บ้านออกเป็นตำบลต่าง ๆ โดยวันที่ พ.ศ. 2518 ทางราชการได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยโดยโอนพื้นที่หมู่ 3 บ้านบ้องตี้บน ตำบลสิงห์ ไปขึ้นกับตำบลลุ่มสุ่ม และตั้งเป็นหมู่ 5 บ้านบ้องตี้บน ของตำบลลุ่มสุ่ม[7] และแยกตั้งเป็น "ตำบลบ้องตี้" ในปี พ.ศ. 2519[8] และวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ได้แยกพื้นที่หมู่ 2 บ้านท่ามะเดื่อ หมู่ 3 บ้านยางโทน หมู่ 5 บ้านหินดาด และหมู่ 10 บ้านหนองศรีมงคล (เดิม) ของตำบลสิงห์ จัดตั้งเป็น "ตำบลศรีมงคล"[9]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้ตำบลสิงห์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 | บ้านปากกิเลน | (Ban Pak Kilen) | ||||
หมู่ที่ 2 | บ้านวังสิงห์ | (Ban Wang Sing) | ||||
หมู่ที่ 3 | บ้านหนองปลาไหล | (Ban Nong Pla Lai) | ||||
หมู่ที่ 4 | บ้านหนองปรือ | (Ban Nong Pruea) | ||||
หมู่ที่ 5 | บ้านพุไม้แดง | (Ban Phu Mai Daeng) | ||||
หมู่ที่ 6 | บ้านท่าตาเสือ | (Ban Tha Ta Suea) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่ตำบลสิงห์มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสิงห์ทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลสิงห์ที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[10] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[11]
ประชากร
แก้พื้นที่ตำบลสิงห์ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 5,313 คน แบ่งเป็นชาย 2,666 คน หญิง 2,647 คน (เดือนธันวาคม 2565)[12] เป็นตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุดในอำเภอไทรโยค
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2565[13] | พ.ศ. 2564 [14] | พ.ศ. 2563[15] | พ.ศ. 2562[16] | พ.ศ. 2561[17] | พ.ศ. 2560[18] | พ.ศ. 2559[19] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปากกิเลน | 1,308 | 1,308 | 1,325 | 1,317 | 1,309 | 1,323 | 1,325 |
พุไม้แดง | 1,110 | 1,070 | 1,052 | 988 | 879 | 620 | 602 |
วังสิงห์ | 938 | 935 | 934 | 924 | 914 | 922 | 892 |
หนองปรือ | 849 | 852 | 857 | 873 | 879 | 889 | 892 |
ท่าตาเสือ | 685 | 686 | 676 | 682 | 690 | 694 | 678 |
หนองปลาไหล | 423 | 426 | 420 | 402 | 408 | 411 | 425 |
รวม | 5,313 | 5,277 | 5,264 | 5,186 | 5,079 | 4,859 | 4,814 |
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชากรในเขตอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์เป็นกิ่งอำเภอ และย้ายอำเภอสังขละบุรีมาตั้งที่เมืองท่าขนุน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (53): 1332. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2449
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์เป็นกิ่งอำเภอ ย้ายที่ว่าการอำเภอสังขละมาตั้งที่ท่าขนุน คงเรียงว่าอำเภอสังขละและที่ว่าการอำเภอสังขละเดิม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่ากิ่งอำเภอวังกะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (5): 92. วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2450
- ↑ "ประกาศ เรื่อง จัดการเปลี่ยนแปลงอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 75–76. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2467
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยค และเปลี่ยนแปลงเขตต์อำเภอและเขตต์ตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 1912–1913. วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2479
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 354–363. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (24 ง): 343–344. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (140 ง): 3131–3133. วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (207 ง): 2475–2481. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2518
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-03. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.