อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศไทยภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แวดล้อมด้วยทิวเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ เดิมปราสาทแห่งนี้มีชื่อปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์ว่า ศรีชัยสิงห์ปุระ ลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง กว้างประมาณ 800 เมตร หมายถึงส่วนกว้างของเมือง ยาวประมาณ 850 เมตร และกำแพงสูง 7 เมตร มีประตูเข้าออก 4 ด้าน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ภายในเมืองมีสระน้ำ 6 สระ

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
Mueang Sing Historical Park
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทปราสาทหิน
สถาปัตยกรรมเขมรศิลปะแบบบายน
เมืองอำเภอเมืองกาญจนบุรี, จังหวัดกาญจนบุรี
ประเทศประเทศไทย
เริ่มสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 17
ปรับปรุง2478
ผู้สร้างพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ปรางค์ประธาน โบราณสถานหมายเลข 1

ประวัติ แก้

ปราสาทเมืองสิงห์ มีจุดมุ่งหมายสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา นิกายมหายาน จากการขุดตกแต่งของกรมศิลปากรที่ค่อยทำค่อยไปตั้งแต่ พ.ศ. 2478 แต่มาเริ่มบุกเบิกกันจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2517 แล้วเสร็จเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. 2530 จึงสวยงามดังที่เห็นอยู่ในวันนี้ ปราสาทเมืองสิงห์นี้กล่าวว่าสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม คล้ายคลึงกับของสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1720 - 1780) กษัตริย์นักสร้างปราสาทแห่งขอม จากการขุดแต่งของกรมศิลปากร พบศิลปกรรมที่สำคัญยิ่งคือพระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และ นางปรัชญาปารมิตา และยังพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีอีกองค์หนึ่ง รูปลักษณ์คล้ายกับที่พบในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แล้ว คงเหลือแต่องค์จำลองไว้

จากศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ซึ่งจารึกโดย พระวีรกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7[ต้องการอ้างอิง] จารึกชื่อเมือง 23 เมือง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างไว้ มีเมืองชื่อ ศรีชัยสิงห์บุรี ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือเมือง ปราสาทเมืองสิงห์ นี่เอง[ต้องการอ้างอิง] และยังมีชื่อของเมือง ละโวธยปุระ หรือ ละโว้ หรือลพบุรี ที่มีพระปรางค์สามยอด เป็นโบราณวัตถุร่วมสมัย

แต่ในเรื่องดังกล่าวรองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เห็นว่าการที่นำเอาชื่อเมืองที่คล้ายคลึงกันในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไปเปรียบเทียบกับบรรดาเมืองในเส้นทางคมนาคมในจารึกปราสาทพระขรรค์อย่างง่ายๆ โดยไม่คำนึงถึงหลักภูมิศาสตร์ เท่ากับเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างมักง่าย[1] เพราะบรรดาปราสาทขอมที่เรียกว่าอโรคยาศาลนั้นมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มีพบบ้างในบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี[1] ซึ่งปัจจุบันได้แยกเป็นจังหวัดสระแก้ว) และมีรูปแบบแตกต่างจากปราสาทขอมที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างสิ้นเชิง[1] ตรงข้ามกับบรรดาปราสาทของที่พบบนเส้นทางคมนาคมจากละโว้ถึงเพชรบุรีและปราสาทเมืองสิงห์ แต่ละแห่งก็มีรูปแบบที่แตกต่างออกไป จะมีความคล้ายคลึงกันแต่รูปเคารพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตาที่บ่งชี้ว่าน่าจะแพร่หลายมาจากเมืองละโว้ และพระโพธิสัตว์บางองค์นำมาจากเมืองพระนครก็มี[1] แต่หลักฐานทั้งหมดก็มิได้ปฏิเสธความสัมพันธ์ทั้งสังคมและวัฒนธรรมระหว่างละโว้กับเมืองพระนครในกัมพูชา[1]

ในสมัย รัชกาลที่ 1 เมืองสิงห์ได้มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้เจ้าเมืองสิงห์เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ดังนั้นจึงยุบเมืองสิงห์ให้เหลือเป็นฐานะเพียงตำบลหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี

โบราณสถาน แก้

ปราสาทเมืองสิงห์ตั้งอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำแควน้อย พื้นที่โดยรอบโอบรอบด้วยภูเขาขนาดไม่สูงมากนัก บริเวณโบราณสถานจะมีกำแพงและคูคันดินเป็นชั้นๆ แนวกำแพงดังกล่าวมีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม คือแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านด้านทิศใต้ ด้งนั้นพื้นที่ด้านนี้จึงขยายออกไปตามแนวแม่น้ำ สำหรับด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ แนวกำแพงต่อกันเป็นรูปสีเหลี่ยม รอบนอกกำแพงจะเป็นคูคันดินล้อมรอบอยู่ โดยเฉพาะด้านตะวันตกปรากฏซากคันดินอยู่ถึง 7 ชั้น กำแพงและคูดินนี้จะล้อมรอบกลุ่มโบราณสถานสำคัญ ซึ่งประกอบด้วยโบราณสถานหมายเลข 1 - 4 กำแพงและประตู คูคันดิน สระน้ำ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ

โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ สามารถแบ่งได้เป็นเช่นนี้

 
โบราณสถานหมายเลข 2

โบราณสถานหมายเลข 1 แก้

โบราณสถานหมายเลข 1 โบราณสถานหมายเลข 1 ตั้งอยู่บริเวณใจกลางกลุ่มโบราณสถาน องค์โบราณสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออกและประกอบด้วยสิงห์สำคัญคือ ปรางค์ประธาน ระเบียงคด โคปุระ บรรณศาลาหรือบรรณาลัย และกำแพงแก้ว

ปรางค์ประธานเป็นศูนย์กลางของโบราณสถานมีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวทรงหอสูงคล้ายฝักข้าวโพด องค์ประธานตั้งอยู่บนฐานย่อมุมไม้ 20 ขนาดกว้างและยาวด้านละ 13.20 เมตร มีมุขยื่นออกไปรับกับมุขด้านในของโคปุระทั้งสี่ทิศ โดยมุขด้านตะวันออกยาวกว่าด้านอื่นๆ และระหว่างปรางค์ประธานกับโคปุระด้านตะวันออกมีลานศิลาแลงเชื่อมเป็นลานกว้าง ระเบียนคดเป็นอาคารที่ล้อมรอบองค์ปรางค์ประธาน ด้านเหนือและด้านใต้ยาวด้านละ 42.50 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาวด้านละ 36.40เมตร ตามมุมของระเบียนคดจะมีซุ้มทิศอยู่สี่มุม

โคปุระหรือซุ้มประตูเข้าเป็นอาคารอยู่ระหว่างระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน ซึ่งอยู่ในแนวเดียวกับซุ้มขององค์ปรางค์ และมีทางเข้าเฉพาะซุ้มด้านทิศตะวันออกเท่านั้น

บรรณศาลาหรือบรรณาลัยเป็นอาคารเล็กๆ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 4.50เมตร ยาว 5.50 เมตร ตั้งอยู่ที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์ปรางค์ประธาน ประตูบรรณศาลามีประตูเดียวอยู่ทางตะวันตก สันนิษฐานว่าบรรณลัยนี้เป็นที่เก็บตำราหรือคัมภีร์ต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา กำแพงแก้วเป็นส่วนที่ล้อมรอบตัวปราสาทมีประตูเข้าทางตะวันออก กำแพงแก้วประกอบด้วยฐานกว้าง 2.40 เมตร มีด้านกว้าง 81.20 เมตร และยาว 97.60เมตร

โบราณสถานหมายเลข 2 แก้

โบราณสถานหมายเลข 2 ยังมีปรางค์ประธาน โคปุระ 4 ด้าน แต่พังลงมามาก บูรณะได้น้อย
โบราณสถานหมายเลข 2 โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถานหมายเลข1 และมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

เมตร ยาว 54.20 เมตร และสูง 80 เมตร โบราณสถานหมายเลข 2 ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และประกอบด้วยปรางค์ประธาน ระเบียงคดโคปุระ และกำแพงแก้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโบราณสถานหมายเลข 1 แต่มีขนาดเล็กกว่า โบราณสถานกลุ่มนี้ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย

โบราณสถานหมายเลข 1 และโบราณสถานหมายเลข 2 เป็นอาคารที่สันนิษฐานว่า เป็นศาสนสถานที่สำคัญ มีองค์ปรางค์ประธานตั้งอยู่กลางอาคารและเป็นที่ตั้งของรูปเคารพที่สำคัญอีกด้วย การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นส่วนวัสดุสำคัญ วัสดุอืนๆที่ใช่ ประกอบอาคารคือ กระเบื้องดินเผา ไม้ ศิลาทราย เหล็ก และอิฐ เป็นต้น การตกแต่งตัวอาคารใช้ปูนฉาบและประดับด้วยลายปูนปั้นตามปรางค์ประธานและซุ้มทิศ ปูนปั้นใช้หินปูนและเปลือกหอยเผาบดแล้วผสมด้วยกาวหนังสัตว์หรือส่วนผสมที่มีความข้นเหนียวและคลุกเคล้ากับน้ำอ้อยเพื่อให้ปูนแข็งตัวช้าทำให้ง่ายต่อการปั้นแต่งเป็นลวดลาย เทคนิคในการก่อสร้าง การก่อสร้างปรางค์ประธาน ซุ้มทิศ ระเบียง ล้วนใช้สิลาแลงและเรียงซ้อนขึ้นไปโดยมิได้ใช้ปูนสอ แต่บางแห่งก็ใช้เหล็กรูป ตัวไอ หรือ ตัวที ช่วยยึดระหว่างก้อนศิลา

โบราณสถานหมายเลข 3 แก้

โบราณสถานหมายเลข 3 ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว เป็นโบราณสถานขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาแลง
โบราณสถานหมายเลข3 โบราณสถานแห่งนี้อยู่บริเวณนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโบราณสถานหมายเลข 1 องค์โบราณสถานมีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กสร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ซึ่งอาจจะเป็นฐานของเจดี ดังที่กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า สิ่งก่อสร้างสันนิษฐานว่าเป็นเจดี 2 องค์ ฐานแรกมีขนาด 5.20 คูณ 5.20 เมตร เป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสสูง 1.43 เมตร ลักษณะเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม ก่อขึ้นไปเป็นฐานปัทม์(บัวคว่ำหงาย) ทั้งหมดนี้ก่อสร้างด้วยอิฐโดยใช้เทคนิคการเรียงอิฐแบบ Header Bond คือใช้ด้านสันของอิฐโผล่ออกมาด้านนอก ชั้นบนของฐานปัทม์ขึ้นไปใช้ศิลาแลงก่อเป็นฐานเขียงอีกชั้นหนึ่ง...ฐานเจดีอีกองค์หนึ่งทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือใช้แลงก่อเป็นฐาน...ฐานเจดีอีกองค์นี้สภาพชำรุดมากจึงไม่สามารถบอกขนนาดและลักษณะที่แน่นอนได้

โบราณสถานหมายเลข 4 แก้

โบราณสถานหมายเลข 4 อยู่ใกล้หมายเลข 3 ยังบูรณะอยู่ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโบราณสถานหมายเลข4โบราณสถานแห่งนี้เป็นอาคารรูปสี่เหลียมผืนผ้าแบ่งเป็นส่วนเรียงเป็นแถวแนวเหนือใต้ แต่ละส่วนมีขนาดกว้าง 3.90 เมตร และยาว 6.65 เมตร โดยเว้นระยะห่าง กัน 0.50 เมตรในแต่ล่ะส่วนทำเป็นขอบสูงขึ้นมาประมาณ 40 เซนติเมตร บนฐานส่วนที่สองจากทิศของประติมากรรมตั้งอยู่ การก่อสร้างอาคารใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุสำคัญ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 ศรีศักร วัลลิโภคม รองศาสตราจารย์. พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ, 2554. หน้า76

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°2′9″N 99°14′23″E / 14.03583°N 99.23972°E / 14.03583; 99.23972