องค์การบริหารส่วนตำบลลุ่มสุ่ม
ลุ่มสุ่ม เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทองค์การบริหารส่วนตำบลที่ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 2–11 ของตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลวังโพธิ์) เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลลุ่มสุ่ม ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2517[1] ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อปี พ.ศ. 2539[2] ในปี พ.ศ. 2565 ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีประชากรทั้งหมด 8,758 คน
องค์การบริหารส่วนตำบลลุ่มสุ่ม | |
---|---|
สะพานถ้ำกระแซ เคยเป็นที่พักของเชลยศึกเมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า และภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ | |
พิกัด: 14°06′03.7″N 99°08′40.0″E / 14.101028°N 99.144444°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาญจนบุรี |
อำเภอ | ไทรโยค |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 169.00 ตร.กม. (65.25 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 8,758 คน |
• ความหนาแน่น | 51.82 คน/ตร.กม. (134.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06710204 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 188 หมู่ที่ 3 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150 |
เว็บไซต์ | www |
พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไทรโยคประมาณ 2.1 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 52.8 กิโลเมตร มีพื้นที่รับผิดชอบ 169.01 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 105,625 ไร่ เป็นที่ตั้งของสะพานถ้ำกระแซ ตั้งอยู่ติดกับเส้นทางรถไฟสายมรณะอันเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และถ้ำนี้เป็นถ้ำที่เคยเป็นที่พักของเชลยศึกเมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า ตัวถ้ำติดกับเส้นทางรถไฟสายกาญจนบุรี-น้ำตก เป็นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันสิ้นสุดที่สถานีรถไฟน้ำตก ภายในถ้ำโปร่ง และมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ มองจากปากถ้ำมาที่บริเวณทางรถไฟจะเห็นทิวทัศน์ที่งดงามและมองเห็นแม่น้ำแควน้อยอยู่เบื้องล่าง บริเวณนี้เป็นจุดที่สร้างทางรถไฟยากที่สุด เนื่องจากเส้นทางโค้งเลียบเขา
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-03. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539