ตำบลลุ่มสุ่ม
ลุ่มสุ่ม เป็น 1 ใน 7 ตำบลของอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการทั้งหมดของอำเภอ และเป็นที่ตั้งของสะพานถ้ำกระแซ ในทางรถไฟสายมรณะ เป็นถ้ำประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากเป็นถ้ำที่อยู่ติดกับเส้นทางรถไฟที่เป็นช่วงหน้าผาพอดี ซึ่งเป็นจุดที่สร้างยากและอันตรายที่สุดของเส้นทางรถไฟ และเคยเป็นที่พักของเชลยศึก
ตำบลลุ่มสุ่ม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Lum Sum |
ปางช้างไทรโยคริมแม่น้ำแควน้อย | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาญจนบุรี |
อำเภอ | ไทรโยค |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 174.20 ตร.กม. (67.26 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 10,770 คน |
• ความหนาแน่น | 61.83 คน/ตร.กม. (160.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 71150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 710201 |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลลุ่มสุ่มมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลวังกระแจะ และตำบลท่าเสา
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลศรีมงคล และตำบลสิงห์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลช่องสะเดา และตำบลวังด้ง (อำเภอเมืองกาญจนบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลศรีมงคล และตำบลบ้องตี้
ประวัติ
แก้"ลุ่มสุ่ม" ชื่อเมืองที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ไทยเป็นครั้งแรก ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเป็นเมือง 1 ใน 7 ด่านของกาญจนบุรี ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์เพราะได้ตั้งให้พวกมอญอาสา มอญเชลยและกะเหรี่ยงเป็นเจ้าเมืองปกครองกันเอง เพื่อให้มีเกียรติศัพท์ดังออกไปเมืองพม่าว่ามีหัวเมืองแน่นหนาหลายชั้น และมีหน้าที่คอยตระเวน ด่านฟังข่าวคราวข้าศึกติดต่อกันโดยตลอด เมื่อสงครามว่างเว้นลงแล้ว เจ้าเมืองกรมการเหล่านี้ก็มีหน้าที่ส่งส่วย ทองคำ ดีบุกและสิ่งอื่นๆแก่รัฐบาล โดยเหตุที่ในสมัยนั้นมิได้จัดเก็บภาษีอากรจากพวกเหล่านี้แต่อย่างใด เมืองด่าน 7 เมือง ประกอบด้วยเมืองในแควน้อย 6 เมืองกับแควใหญ่ 1 เมืองคือ เมืองสิงห์ เมืองลุ่มสุ่ม เมืองท่าตะกั่ว เมืองไทรโยค เมืองท่าขนุน เมืองทองผาภูมิ เมืองท่ากระดาน เมืองต่างๆ เหล่าน้ีผู้สำเร็จราชการเมืองยังไม่มีพระนาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นภาษาสันสกฤตแก่ผู้สำเร็จเมือง ดังนี้
- เมืองลุ่มสุ่ม เป็นพระนินภูมิบดี ปัจจุบันเป็นต้นสุกล นินบดี จ่าเมืองหลวงบรรเทา
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ เมืองลุ่มสุ่มจึงได้ลดฐานะลงเป็น "ตำบลลุ่มสุ่ม" ขึ้นเมืองไทรโยค ต่อมาไทรโยคได้ลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2449 ขึ้นกับอำเภอสังขละบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอทองผาภูมิ)[1][2] ในปี พ.ศ. 2467 ได้ยุบอำเภอสังขละบุรีลงเป็นกิ่งและตั้งอำเภอวังกะขึ้นแทน จึงให้โอนกิ่งอำเภอไทรโยคไปขึ้นกับอำเภอวังกะ (ปัจจุบันคืออำเภอสังขละบุรี)[3] และให้ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยคไปที่ตำบลแม่กระบาล
จนถึงปี พ.ศ. 2479 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยค อำเภอวังกะ จากตำบลแม่กระบาล มาตั้งที่บ้านวังโพ ของตำบลลุ่มสุ่มและโอนย้ายกิ่งอำเภอไทรโยค ของอำเภอวังกะ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองกาญจนบุรี[4] ก่อนที่จะจัดตั้งกิ่งอำเภอไทรโยคขึ้นเป็น อำเภอไทรโยค ในปี พ.ศ. 2506 โดยตั้งศูนย์ราชการทั้งหมดไว้ที่ตำบลลุ่มสุ่ม
ตำบลลุ่มสุ่มมีพื้นที่ขนาดกว้างขวางมาก จึงมีการแบ่งหมู่บ้านออกเป็นตำบลต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2512 ทางราชการได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยแยกพื้นที่หมู่ 2–3, 5, 7–8, 10 ของตำบลลุ่มสุ่ม ไปตั้งขึ้นเป็นตำบลท่าเสา[5] ก่อนที่จะจัดตั้งเป็น ตำบลวังกระแจะ[6] ในภายหลัง และทางราชการได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยโดยโอนพื้นที่หมู่ 3 บ้านบ้องตี้บน ตำบลสิงห์ มาขึ้นกับตำบลลุ่มสุ่ม และตั้งเป็นหมู่ 5 บ้านบ้องตี้บน ของตำบลลุ่มสุ่ม[7] และแยกหมู่ที่ 5, 8–9 ของตำบลลุ่มสุ่ม ตั้งเป็น "ตำบลบ้องตี้" ในปี พ.ศ. 2519[8]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้ตำบลลุ่มสุ่มแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 | บ้านวังโพ | (Ban Wang Pho) | |||||||||
หมู่ที่ 2 | บ้านเขาสามชั้น | (Ban Khao Sam Chan) | |||||||||
หมู่ที่ 3 | บ้านลุ่มผึ้ง | (Ban Lum Phueng) | |||||||||
หมู่ที่ 4 | บ้านหนองขอน | (Ban Nong Khon) | |||||||||
หมู่ที่ 5 | บ้านช่องอ้ายกาง | (Ban Chong Ai Kang) | |||||||||
หมู่ที่ 6 | บ้านไทรทอง | (Ban Sai Thong) | |||||||||
หมู่ที่ 7 | บ้านพุน้อย | (Ban Phu Noi) | |||||||||
หมู่ที่ 8 | บ้านเสรีธรรม | (Ban Seri Tham) | |||||||||
หมู่ที่ 9 | บ้านไตรรัตน์ | (Ban Trai Rat) | |||||||||
หมู่ที่ 10 | บ้านลุ่มสุ่ม | (Ban Lum Sum) | |||||||||
หมู่ที่ 11 | บ้านหินงามพุพูล | (Ban Hin Ngam Phu Phun) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่ตำบลลุ่มสุ่มมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลวังโพธิ์ และองค์การบริหารส่วนตำบลลุ่มสุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุ่มสุ่มทั้งหมด
ประชากร
แก้พื้นที่ตำบลลุ่มสุ่มประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 11 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 10,770 คน แบ่งเป็นชาย 5,490 คน หญิง 5,280 คน (เดือนธันวาคม 2565)[9] เป็นตำบลที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ในอำเภอไทรโยค
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2565[10] | พ.ศ. 2564[11] | พ.ศ. 2563[12] | พ.ศ. 2562[13] | พ.ศ. 2561[14] | พ.ศ. 2560[15] | พ.ศ. 2559[16] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
*วังโพ | 1,931 | 1,964 | 1,981 | 1,981 | 1,965 | 1,958 | 1,966 |
ไตรรัตน์ | 1,799 | 1,794 | 1,762 | 1,750 | 1,731 | 1,713 | 1,676 |
เขาสามชั้น | 1,606 | 1,595 | 1,566 | 1,545 | 1,525 | 1,527 | 1,506 |
ลุ่มผึ้ง | 992 | 987 | 988 | 997 | 997 | 981 | 965 |
ไทรทอง | 768 | 768 | 763 | 745 | 755 | 748 | 726 |
พุน้อย | 729 | 725 | 721 | 721 | 721 | 723 | 723 |
ช่องอ้ายกาง | 658 | 670 | 667 | 657 | 643 | 636 | 632 |
หนองขอน | 653 | 671 | 687 | 694 | 687 | 684 | 676 |
หินงามพุพูล | 652 | 658 | 637 | 643 | 643 | 630 | 623 |
ลุ่มสุ่ม | 525 | 529 | 521 | 516 | 518 | 522 | 538 |
เสรีธรรม | 295 | 297 | 299 | 300 | 313 | 302 | 293 |
**ทะเบียนกลาง | 81 | 99 | 96 | 113 | 126 | 135 | 140 |
**ทะเบียนกลาง | 81 | 80 | 97 | 152 | 164 | 164 | 165 |
รวม | 10,770 | 10,837 | 10,785 | 10,814 | 10,788 | 10,723 | 10,629 |
*หมู่บ้านวังโพตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลวังโพธิ์ทั้งหมู่บ้าน
อ้างอิง
แก้- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์เป็นกิ่งอำเภอ และย้ายอำเภอสังขละบุรีมาตั้งที่เมืองท่าขนุน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (53): 1332. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2449
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์เป็นกิ่งอำเภอ ย้ายที่ว่าการอำเภอสังขละมาตั้งที่ท่าขนุน คงเรียงว่าอำเภอสังขละและที่ว่าการอำเภอสังขละเดิม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่ากิ่งอำเภอวังกะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (5): 92. วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2450
- ↑ "ประกาศ เรื่อง จัดการเปลี่ยนแปลงอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 75–76. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2467
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยค และเปลี่ยนแปลงเขตต์อำเภอและเขตต์ตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 1912–1913. วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2479
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (149 ง): 2524–2526. วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2515
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (207 ง): 2475–2481. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2518
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (24 ง): 343–344. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (140 ง): 3131–3133. วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.