ศักดิ์ เตชาชาญ
นายศักดิ์ เตชาชาญ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2484 เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ เดิมเป็นข้าราชการประจำในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
นายศักดิ์ เตชาชาญ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2544 แทนที่ นายโกเมน ภัทรภิรมย์ ที่ลาออก ทำให้นายศักดิ์ได้เข้าร่วมตัดสิน "คดีซุกหุ้น" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2544 โดยอยู่ในฝ่ายตุลาการเสียงข้างมากที่ตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นความผิดและให้เหตุผลเหมือนกับตุลาการอีก 3 คนคือ นายกระมล ทองธรรมชาติ นายจุมพล ณ สงขลา และนายผัน จันทรปาน ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขณะแสดงบัญชีทรัพย์สินได้พ้นตำแหน่งทางการเมืองแล้ว เพียงแต่ยังรักษาการในตำแหน่ง ซึ่งไม่อยู่ในข่ายต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจปกปิดบัญชีทรัพย์สินหรือไม่
นายศักดิ์ เตชาชาญ สมรสกับ นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.)
การศึกษา
แก้- ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน ในสหรัฐอเมริกา
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 37
การทำงาน
แก้- อาจารย์สอนวิชากฎหมาย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- รองอธิบดีกรมการปกครอง
- ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่, ชุมพร, กาญจนบุรี และขอนแก่น
- เลขาธิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (3 มิถุนายน พ.ศ. 2544)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[3]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[4]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒๙, ๑๒ มกราคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๙, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๔๒, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓