กลุ่มในและกลุ่มนอก

ในสาขาสังคมศาสตร์และจิตวิทยาสังคม กลุ่มใน (อังกฤษ: ingroup) เป็นกลุ่มสังคมที่บุคคลนับว่าตนเป็นสมาชิก โดยเปรียบเทียบกัน กลุ่มนอก (อังกฤษ: outgroup) ซึ่งเป็นกลุ่มสังคมที่บุคคลไม่นับว่าตนเป็นสมาชิก ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะเห็นว่าตนเป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ ที่จำแนกโดยเชื้อชาติ วัฒนธรรม เพศ อายุ หรือศาสนา และมีการพบว่า ความรู้สึกทางจิตใจว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคม มีบทบาทในปรากฏการณ์ทางสังคมต่าง ๆ มากมาย

คำภาษาอังกฤษว่า ingroup และ outgroup เกิดความนิยมเพราะงานของเฮ็นรี่ ทัชเฟ็ล และเพื่อนร่วมงาน เมื่อกำลังสร้างทฤษฎีเอกลักษณ์ทางสังคม (social identity theory) และได้ศึกษาความแตกต่างของกลุ่มในกลุ่มนอก โดยวิธีที่เรียกว่า minimal group paradigm พวกเขาพบว่า เราสามารถสร้างกลุ่มในตามความชอบใจของตน ภายในไม่กี่นาที และกลุ่มเช่นนี้อาจจะมีเอกลักษณ์อะไรบางอย่างที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ความชอบใจในภาพศิลป์บางอย่าง[1][2][3]

ปรากฏการณ์ที่สัมพันธ์กัน แก้

การจำแนกประเภทบุคคลในใจ ออกเป็นกลุ่มในและกลุ่มนอก สัมพันธ์กับปรากฏการณ์ทางสังคมหลายอย่าง ตัวอย่างต่อไปนี้ ล้วนแต่เป็นเรื่องที่นักวิชาการได้ให้ความสนใจ

ความลำเอียงกับกลุ่มใน แก้

ในสถานการณ์บางอย่าง เราจะชอบใจและผูกพันกับกลุ่มในเหนือกลุ่มนอก หรือเหนือบุคคลใดก็ได้ที่ไม่ใช่คนในกลุ่มใน ซึ่งสามารถเห็นได้ในการประเมินคนอื่น การเชื่อมต่อสัมพันธ์ การแบ่งของที่มี และเรื่องอื่น ๆ[4]

การดูถูกกลุ่มนอก แก้

การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มในต่างจากกลุ่มนอก เป็นเรื่องของความลำเอียงที่ให้กับคนในกลุ่มใน ที่ไม่ให้กับกลุ่มนอก[5] การดูถูกกลุ่มนอก (Outgroup derogation) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเรารู้สึกว่าสมาชิกกลุ่มนอก เป็นภัยต่อสมาชิกกลุ่มใน[6][7] ซึ่งมักจะประกอบด้วยความลำเอียงต่อกลุ่มใน (แต่ไม่เสมอไป) เพราะว่า เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอาศัยความสนิทสนมคุ้นเคยกับสมาชิกกลุ่มใน มีงานวิจัยที่เสนอว่า การดูถูกกลุ่มนอก เกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกว่า กลุ่มนอกหยุดยั้งหรือขัดขวางเป้าหมายของกลุ่มใน และว่า การดูถูกกลุ่มนอก เป็นผลตามธรรมชาติของการจัดประเภทตน (และผู้อื่น)[8]

อิทธิพลทางสังคม แก้

เรามักจะได้รับอิทธิพลจากคนในกลุ่มในมากกว่า คือ ในสถานการณ์ที่การแบ่งกลุ่ม เป็นสิ่งที่ชัดเจนในใจ เราจะเปลี่ยนความคิดของเราให้เข้ากับคนในกลุ่ม

การเพิ่มความรุนแรงของกลุ่ม แก้

การเพิ่มความรุนแรงของกลุ่ม (group polarization) หมายถึงความโน้มเอียงของกลุ่ม ที่จะตัดสินใจไปในทางที่รุนแรงกว่าความปรารถนาในเบื้องต้นของสมาชิก แต่ว่า การตัดสินใจที่น้อมไปในความเชื่อหลักของกลุ่ม ก็มีด้วยเหมือนกัน มีหลักฐานที่แสดงว่า ปรากฏการณ์นี้สัมพันธ์กับสถานการณ์ที่มีการแบ่งกลุ่มในกลุ่มนอกที่ชัดเจนทางใจ

ความเหมือนกันของสมาชิก แก้

การแบ่งเป็นกลุ่มสังคม ทำให้เรารู้สึกมากขึ้นว่า สมาชิกในแต่ละกลุ่มเหมือนกัน ซึ่งมีผลเป็นปรากฏการณ์ "เอกพรรณของกลุ่มนอก" (outgroup homogeneity) ซึ่งหมายถึงความรู้สึกว่า สมาชิกของคนกลุ่มนอกเหมือน ๆ กัน คือเป็น "เอกพรรณ" ในขณะที่รู้สึกว่า สมาชิกกลุ่มใน มีความหลากหลายมากกว่า[9][10] เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าเมื่อเป็นเรื่องไม่ดี แต่ในบางสถานการณ์ เราจะรู้สึกว่า สมาชิกกลุ่มในเหมือน ๆ กันเมื่อกล่าวถึงเรื่องที่ดี ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "เอกพรรณของกลุ่มใน" (ingroup homogeneity)[11]

บทบาทตามทฤษฎี ในวิวัฒนาการมนุษย์ แก้

ในจิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ ความลำเอียงกับกลุ่มใน อาจเป็นกลไกทางจิตใจที่ได้การคัดเลือก เพราะมีประโยชน์ในการสร้างพวกหรือแนวร่วม[12] จนถึงกับอ้างว่า คุณสมบัติบางอย่างเช่นเพศหรือผิวพันธุ์ เป็นเรื่องที่ยืดหยุ่นไม่ได้ หรืออาจเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ในระบบที่ได้วิวัฒนาการมาเช่นนี้[13][14] แต่ว่า ก็มีหลักฐานแล้วว่า องค์ประกอบบางอย่างเกี่ยวกับความลำเอียง เป็นเรื่องที่ยืดหยุ่นได้ เพราะสามารถกำจัดได้โดยเปลี่ยนการจัดประเภททางสังคมใหม่[15] งานวิจัยหนึ่งในสาขาพันธุศาสตร์เชิงพฤติกรรม (behavioural genetics) เสนอว่า อาจมีกลไกทางชีวภาพ ที่กำหนดให้มีทั้งระบบที่ยืดหยุ่นได้ และยืดหยุ่นไม่ได้แต่ขาดไม่ได้[16]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Tajfel, H. (1970). "Experiments in Intergroup Discrimination" (PDF).
  2. Tajfel, H.; Billig, M. G.; Bundy, R. P.; Flament, C. (เมษายน–มิถุนายน 1971). "Social categorization and intergroup behaviour" (PDF). European Journal of Social Psychology. 1 (2): 149–178. doi:10.1002/ejsp.2420010202. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2022.
  3. Tajfel, H. (1974). "Social Identity and Intergroup Behavior" (PDF).
  4. Aronson, E.; Wilson, T. D.; Akert, R. D. (2009). Social psychology (7th ed.). Upper Saddle River: Prentice Hall. ISBN 0-13814478-8.
  5. Brewers, Marilynn B. (1999). "The Psychology of Prejudice: Ingroup Love and Outgroup Hate?" (PDF). Journal of Social Issues. 55 (3): 429–444. doi:10.1111/0022-4537.00126. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2015.
  6. Hewstone, Miles; Rubin, Mark; Willis, Hazel (2002). "Intergroup Bias". ใน Richard J. Crisp (บ.ก.). Social Psychology. Vol. 3. New York, NY: Routledge. pp. 323–344.
  7. Smith, Eliot R; Mackie, Diane M, "Chapter 6: Me, you, and them: Effects of social categorization", Social Psychology (3 ed.), Psychology Press, สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2015
  8. Zhong, Chen-Bo; Phillips, Katherine W.; Leonardelli, Geoffrey J.; Galinsky, Adam D. (2008). "Negational categorization and intergroup behavior" (PDF). Personality and Social Psychology Bulletin. 34 (6): 793–806. doi:10.1177/0146167208315457. PMID 18391025.
  9. Leyens, Jacques-Philippe; Yzerbyt, Vincent; Schadron, Georges (1994). Stereotypes and Social Cognition. London: Sage Publications. pp. 104–107. ISBN 0-80398584-3.
  10. Quattrone, George A.; Jones, Edward E. (1980). "The perception of variability within in-groups and out-groups: Implications for the law of small numbers". Journal of Personality and Social Psychology. 38 (1): 141–152. doi:10.1037/0022-3514.38.1.141. ISSN 0022-3514.
  11. Jackson, Lynne M. (2011). The Psychology of Prejudice: From Attitudes to Social Action. Washington, DC: American Psychological Association. pp. 110–112. ISBN 1-43380920-6.
  12. L. Cosmides; J. Tooby; R. Kurzban (1 เมษายน 2003). "Perceptions of race". Trends in Cognitive Sciences. 7 (4): 173–179. doi:10.1016/S1364-6613(03)00057-3. PMID 12691766. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012.
  13. L. A. Hirschfeld (1996). Race in the Making: Cognition, Culture, and the Child's Construction of Human Kinds. Cambridge, Massachusetts: Mit Press. ISBN 0-26208247-0.
  14. F. J. Gil-White (สิงหาคม–ตุลาคม 2001). "Are Ethnic Groups Biological "Species" to the Human Brain? Essentialism in Our Cognition of Some Social Categories". Current Anthropology. The University of Chicago Press. 42 (4): 515–553. doi:10.1086/321802. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012.
  15. R. Kurzban; J. Tooby; L. Cosmides (18 ธันวาคม 2001). "Can race be erased? Coalitional computation and social categorization". Proceedings of the National Academy of Science USA. 98 (26): 15387–15392. doi:10.1073/pnas.251541498. PMC 65039. PMID 11742078. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012.
  16. G. J. Lewis; T. C. Bates (พฤศจิกายน 2010). "Genetic Evidence for Multiple Biological Mechanisms Underlying In-Group Favoritism". Psychological Science. 21 (11): 1623–1628. doi:10.1177/0956797610387439. PMID 20974715. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้