โรคเท้าช้าง
โรคเท้าช้าง (อังกฤษ: Elephantiasis) เป็นโรคที่มีลักษณะผิวหนังและเนื้อเยื่อข้างใต้หนาตัวขึ้น โดยเฉพาะบริเวณขาและอวัยวะเพศ ในบางครั้งอาจมีการบวมของอัณฑะ โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค
โรคเท้าช้าง (Elephantiasis) | |
---|---|
ขาของผู้ป่วยโรคเท้าช้างจากฟิลาริเอสิส (filariasis) | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | B74.0 (ILDS B74.01) I89 |
ICD-9 | 125.9, 457.1 |
DiseasesDB | 4824 |
eMedicine | derm/888 |
MeSH | D004605 |
สาเหตุ
แก้สาเหตุของโรคเท้าช้างมักมาจากหนอนพยาธิ เช่น Wuchereria bancrofti, Brugia malayi, และ B. timori ซึ่งมียุงเป็นพาหะ มักเกิดมากในเขตร้อนเช่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา โดยจะเกิดการอุดกั้นหลอดน้ำเหลือง น้ำเหลืองเกิดการคั่งและทำให้ลำตัวส่วนล่าง รวมทั้งขาและอวัยวะเพศบวม ในปัจจุบันสาเหตุของการอุดกั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเกิดจากตัวพยาธิเองหรือเกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อพยาธิ โรคเท้าช้างจากสาเหตุนี้มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฟิลาริเอสิสของระบบน้ำเหลือง (lymphatic filariasis) เพราะมีสาเหตุมาจากหนอนพยาธิขนาดเล็ก[1] โดยจะมีเฉพาะหนอนพยาธิตัวเต็มวัยเท่านั้นที่อาศัยในระบบน้ำเหลืองของมนุษย์[2]
นอกจากนี้ โรคเท้าช้างอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากพยาธิ เรียกว่าโรค Nonfilarial elephantiasis หรือ Podoconiosis ซึ่งมีรายงานการพบที่ประเทศยูกันดา แทนซาเนีย เคนยา รวันดา บุรุนดี ซูดาน และเอธิโอเปีย[3] โดยประเทศที่พบโรคนี้มากที่สุดคือประเทศเอธิโอเปีย ซึ่งมีประชากรถึงร้อยละ 6 เป็นโรคนี้ในบริเวณที่มีการระบาด[4][5] โรคนี้เชื่อว่าเกิดจากการสัมผัสดินที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินเหนียวสีแดง (red clay) ซึ่งอุดมไปด้วยโลหะอัลคาไลน์เช่นโซเดียมและโพแทสเซียม และมาจากหินภูเขาไฟ[6][7]
อ้างอิง
แก้- ↑ CDC. (2008). "Lymphatic Filariasis". Centers for Disease Control and Prevention.: http://www.cdc.gov/ncidod/dpd/parasites/lymphaticfilariasis/index.htm.
- ↑ Niwa, Seiji. "Prevalence of Vizcarrondo worms in early onset lymphatic filariasis: A case study in testicular elephantiasis". Univ Puerto Rico Med J. 22: 187–193.
- ↑ Davey G, Tekola F, Newport MJ (2007). "Podoconiosis". Trans R Soc Trop Med Hyg. 101: 1175–80. doi:10.1016/j.trstmh.2007.08.013.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Birrie H, Balcha F, Jemaneh L. "Elephantiasis in Pawe settlement area: podoconiosis or bancroftian filariasis?". Ethiop Med J. 35: 245–250.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Desta K, Ashine M, Davey G (2003). "Prevalence of podoconiosis (endemic non-filarial elephantiasis) in Wolaitta, Southern Ethiopia". Trop Doct. 32: 217–220.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Price EW (1974). "The relationship bewteen endemic elephantiasis of the lower legs and the local soils and climate. A study in Wollamo District, Southern Ethiopia". Trop Geogr Med. 26: 226–230.
- ↑ Price EW (1976). "The Association of endemic elephantiasis of the lower legs in East Africa with soil derived from volcanic rocks". Trans R Soc Trop Med Hyg. 70: 288–295. doi:10.1016/0035-9203(76)90078-X.