ยุง
ยุง | |
---|---|
Anopheles gambiae | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
ปลอดภัยจากการคุกคาม
| |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ชั้น: | Insecta |
อันดับ: | Diptera |
อันดับย่อย: | Nematocera |
อันดับฐาน: | Culicomorpha |
วงศ์: | Culicidae |
ความหลากหลาย | |
41 genera |
ยุง เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยปกติ ลูกน้ำมักจะกินจำพวก แบคทีเรีย โปรโตซัว ยีสต์ สาหร่าย และพืชน้ำที่มีขนาดเล็ก ยุงตัวเมียกินน้ำหวานและเลือดเป็นอาหาร ส่วนตัวผู้มักจะกินน้ำหวานจากดอกไม้ ยุงยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคอีกด้วย เช่น ไข้เลือดออก ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3,450 ชนิด แต่พบในประเทศไทยประมาณ 412 ชนิด แต่ที่คุ้นเคยกันดี คือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles) และยุงลาย (Aedes)[1][2]
Systematics
แก้- Subfamily Anophelinae
- Subfamily Culicinae
- Aedeomyia
- Aedes
- Armigeres
- Ayurakitia
- Coquillettidia
- Culex
- Culiseta
- Deinocerites
- Eretmapodites
- Ficalbia
- Galindomyia
- Haemagogus
- Heizmannia
- Hodgesia
- Isostomyia
- Johnbelkinia
- Limatus
- Lutzia
- Malaya
- Mansonia
- Maorigoeldia
- Mimomyia
- Ochlerotatus
- Onirion
- Opifex
- Orthopodomyia
- Psorophora
- Runchomyia
- Sabethes
- Shannoniana
- Topomyia
- Toxorhynchites
- Trichoprosopon
- Tripteroides
- Udaya
- Uranotaenia
- Verrallina
- Wyeomyia
- Zeugnomyia
ตุ่มคันที่เกิดจากยุงกัด
แก้เมื่อยุงดูดเลือดเหยื่อ ยุงจะปล่อยน้ำลายซึ่งมีโปรตีนบางอย่างออกมาด้วย และน้ำลายของยุงยังอยู่ในรอยเจาะ เป็นตัวการทำให้ผิวหนังหลั่งสารฮิสตามีน (histamine) ออกมา ฮิสตามีนจะกระตุ้นเส้นใยประสาทให้ส่งสัญญาณไปที่สมองแล้วทำให้เกิดอาการคัน และโปรตีนในน้ำลายของยุงยังไปกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันอีกด้วย ทำให้บริเวณที่โดนกัด (weal) จะเกิดการบวมแดง แม้ว่าในที่สุดแล้วการบวมจะหายไป แต่อาการคันยังคงอยู่จนกว่าภูมิคุ้มกันจะทำให้โปรตีนนั้นสลายไป
อ้างอิง
แก้- ยุง โดย รศ.ดร.ปรัชญา สมบูรณ์ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่