ยุงลาย
Aedes | |
---|---|
Aedes aegypti | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ชั้น: | Insecta |
อันดับ: | Diptera |
วงศ์: | Culicidae |
วงศ์ย่อย: | Culicinae |
สกุล: | Aedes Meigen, 1818 |
Species | |
|
Aedes หรือยุงลาย เป็นสกุลของยุง ซึ่งดั้งเดิมกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน แต่ปัจจุบันเพราะกิจกรรมของมนุษย์ ยุงลายบางสปีชีส์กระจายทั่วทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา
สกุลยุงลาย มีมากกว่า 700 สปีชีส์ บางสปีชีส์เป็นพาหะของปรสิตก่อโรคระบาดร้ายแรงหลายโรค โดยที่สำคัญได้แก่ ไข้เลือดออก, ไข้เหลือง, โรคเท้าช้าง, ไข้ซิกา[1], โรคชิคุนกุนยา, ไข้ไนล์ตะวันตก และ ไข้สมองอักเสบม้าตะวันออก
ลักษณะ
แก้ลักษณะเด่นประจำสกุลที่ใช้จำแนกได้ง่ายคือสังเกตได้ง่ายจาก ลายสีดำสลับขาว ตามลำตัวและขา
และอีกเอกลักษณ์ของสกุลคือ มักตื่นตัวและกัดเฉพาะในกลางวัน ซึ่งต่างจากยุงสกุลอื่น ที่มักกัดบ่อยในตอนเช้าและพลบค่ำ[2]
การค้นพบและจำแนก
แก้โยฮันน์ วิลเฮล์ม เมเกน นักกีฏวิทยาชาวเยอรมัน พรรณนาและตั้งชื่อสกุลครั้งแรกในปี ค.ศ. 1818 โดยมาจากภาษากรีกโบราณ "ἀηδής" (aēdēs) แปลว่า "ไม่พึงประสงค์"[3] หรือ "น่ารังเกียจ" สปีชีส์แรกในสกุลนี้ที่ถูกศึกษาคือ Aedes cinereus[4]
สกุลยุงลายแบ่งออกเป็นหลายสกุลย่อย เช่น Aedes, Diceromyia, Finlaya, Stegomyia ฯลฯ[5] แบ่งย่อยมากกว่า 700 สปีชีส์ การจัดประเภทถูกแก้ไขในปี ค.ศ. 2009[6]
บทบาทในการระบาดของโรค
แก้สมาชิกของสกุลยุงลาย ล้วนเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องพาหะของเชื้อไวรัสก่อโรคหลายโรค โดยสองสปีชีส์ที่โดดเด่นที่สุดของสกุล คือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และ ยุงลายสวน (Aedes albopictus) ซึ่งเป็นพาหะ ไข้เลือดออก[7], ไข้เหลือง, ไข้ซิกา[8], โรคเท้าช้าง, โรคชิคุนกุนยา, ไข้ไนล์ตะวันตก, ไข้สมองอักเสบม้าตะวันออก และโรคอื่นอีกมากที่มักไม่เป็นที่รู้จัก
ขณะที่ ยุงลายพอลินีเชีย (Aedes polynesiensis) เป็นพาหะ โรคเท้าช้าง ในพอลินีเชีย[9]
โรคติดเชื้อไวรัสเหล่านี้มักมีอาการไข้ และสมองอักเสบ ในบางกรณีเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจำนวนมาก
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันบางโรคเช่น ไข้เหลือง ฯลฯ แต่มาตรการที่ดีกว่าคือป้องกันถูกยุงกัด ได้แก่
- การลดปริมาณยุง
- ทำลายแหล่งน้ำขัง เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำที่เป็นตัวอ่อนของยุง
- ฉีดพ่นยาฆ่าแมลง บริเวณที่มียุงโตเต็มวัยมาก
- เครื่องดักยุง ระบบต่าง ๆ
- การป้องกันยุงกัด
- การติดตั้งมุ้งลวด ที่หน้าต่างและประตู
- สารขับไล่แมลง
- ดักจับลูกน้ำเพื่อสังเกตวิจัยการกำจัด
- กับดักยุงวางไข่ (Ovitrap)
อ้างอิง
แก้- ↑ "CDC Transmission of Zika virus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-20. สืบค้นเมื่อ 2017-09-08.
- ↑ "WHO | Dengue/Severe dengue frequently asked questions". WHO.
- ↑ Powell JR, Tabachnick WJ (October 2016). "History of domestication and spread of Aedes aegypti--a review". Memorias do Instituto Oswaldo Cruz. 108 Suppl 1 (10): 11–7. doi:10.3201/eid2210.ET2210. PMC 5038420.
- ↑ "Aedes". Walter Reed Biosystematics Unit. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-06. สืบค้นเมื่อ 2016-02-04..
- ↑ Reinert JF, Harbach RE, Kitching IJ (2004). "Phylogeny and classification of Aedini (Diptera: Culicidae), based on morphological characters of all life stages" (PDF). Zoological Journal of the Linnean Society. 142 (3): 289–368. doi:10.1111/j.1096-3642.2004.00144.x. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-03-13.
- ↑ Reinert JF, Harbach RE, Kitching IJ (2009). "Phylogeny and classification of tribe Aedini (Diptera: Culicidae)" (PDF). Zoological Journal of the Linnean Society. 157 (4): 700–794. doi:10.1111/j.1096-3642.2009.00570.x.
- ↑ "WHO | The mosquito". WHO.
- ↑ "PAHO Statement on Zika Virus Transmission and Prevention". Pan American Health Organization. 2 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-26. สืบค้นเมื่อ 2016-01-26.
- ↑ "WHO | The mosquito". WHO.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Singapore Government dengue site that describes the mosquito
- "Aedes". NCBI Taxonomy Browser. 7158.