สาธารณรัฐไครเมีย
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
สาธารณรัฐไครเมีย (อังกฤษ: Republic of Crimea; รัสเซีย: Респýблика Крым; ยูเครน: Республіка Крим; ตาตาร์ไครเมีย: Qırım Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐที่ประกาศตนเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย ถือครองดินแดนส่วนใหญ่ของคาบสมุทรไครเมียในทะเลดำ ทางใต้ของประเทศยูเครน อธิปไตยเหนือดินแดนดังกล่าวยังพิพาทกันระหว่างประเทศยูเครนกับรัสเซีย
สาธารณรัฐไครเมีย | |
---|---|
Республика Крым | |
การถอดเสียงอื่น | |
• ยูเครน | Республіка Крим, Respublika Krym |
• ตาตาร์ไครเมีย | Къырым Джумхуриети, Qırım Cumhuriyeti |
เพลง: Нивы и горы твои волшебны, Родина (รัสเซีย) | |
ที่ตั้งของ สาธารณรัฐไครเมีย (แดง) ในรัสเซีย (เหลืองอ่อน) | |
ที่ตั้งของ สาธารณรัฐไครเมีย (เหลืองอ่อน) ในคาบสมุทรไครเมีย (ไม่มี) | |
พิกัด: 45°24′N 35°18′E / 45.400°N 35.300°E | |
ประเทศ | รัสเซีย |
เขตสหพันธ์ | ตอนใต้[1][2] |
เขตเศรษฐกิจ | คอเคซัสเหนือ[3] |
สถาปนา | 18 มีนาคม ค.ศ. 2014[4] |
เมืองหลัก | ซิมเฟโรปอล |
การปกครอง | |
• องค์กร | สภาแห่งรัฐ |
• หัวหน้า | เซียร์เกย์ อัคซิโอนอฟ [5] |
พื้นที่[6] | |
• ทั้งหมด | 26,100 ตร.กม. (10,100 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ประมาณ (2018)[7] | 1,913,731 คน |
เขตเวลา | UTC+3 (เวลามอสโก [8]) |
ทะเบียนรถ | 82[9][10] |
รหัส OKTMO | 35000000 |
ภาษาราชการ | รัสเซีย;[12] ยูเครน;[11] ตาตาร์ไครเมีย[11] |
เว็บไซต์ | rk |
สาธารณรัฐไครเมียก่อตั้งขึ้นจากผลแห่งการลงประชามติไครเมีย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2557 โดยรัสเซียรับรองเอกราชของสาธารณรัฐไครเมียในวันเดียวกับที่ก่อตั้ง[13] ในวันรุ่งขึ้น ประเทศดังกล่าวขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย[14] และมีการลงนามร่างกฎหมายเพื่อเปิดทางให้ดำเนินการได้[15] ซึ่งการรวมไครเมียเข้ากับรัสเซียดังกล่าวไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติโดยทั่วไป การขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียได้รับสิทธิแยกกัน โดยสิทธิหนึ่งแก่อดีตสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย และอีกสิทธิหนึ่งแก่เซวัสโตปอล[16]
วันที่ 18 มีนาคม 2557 รัสเซียและไครเมียได้ลงนามสนธิสัญญาการเข้าร่วมของสาธารณรัฐไครเมียและเซวัสโตปอลในสหพันธรัฐรัสเซียหลังการปราศรัยต่อรัฐสภาของประธานาธิบดีปูติน ในช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่งจะมีถึงวันที่ 1 มกราคม 2558 ทั้งสองฝ่ายจะระงับประเด็นการรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของไครเมียและเซวัสโตปอล "ในระบบเศรษฐกิจ การเงิน สินเชื่อ และกฎหมายของสหพันธรัฐรัสเซีย"[17]
จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2557 มีเพียงสี่ประเทศเท่านั้นที่รับรองเอกราชของสาธารณรัฐไครเมีย โดยมีหนึ่งประเทศที่เป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ คือ รัสเซีย อับฮาเซีย นากอร์โน-คาราบัค และเซาท์ออสซีเชีย
ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 11 มีนาคม 2557 ทั้งสองเขตเคยอนุมัติมติร่วมแสดงเจตจำนงประกาศอิสรภาพ[18] ตลอดจนมติแสดงเจตนารวมกับรัสเซีย รัฐบาลทั้งสองเรียกร้องให้มีการลงประชามติเพื่อจุดประสงค์นี้ แม้ว่าเสียงส่วนใหญ่ที่ไปออกเสียงลงคะแนนในการลงประชามตินี้ออกเสียงสนับสนุนเอกราชจากยูเครน แต่นานาชาติไม่รับรองความชอบธรรมและความเป็นธรรมของการออกเสียงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะการลงประชามตินี้เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่รัสเซียกำลังยึดครองคาบสมุทรไครเมียอยู่
ประวัติศาสตร์
แก้เอกราชและกลับสู่รัสเซีย
แก้วันที่ 17 มีนาคม 2557 เกิดการลงประชามติ ผลปรากฏว่า ไครเมียประกาศเอกราชจากยูเครน และเข้าสู่การเป็นสาธารณรัฐของรัสเซีย รัฐสภาไครเมียประกาศอิสรภาพจากยูเครนอย่างเป็นทางการ และขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเต็มตัว รัสเซียรับรองเอกราชของไครเมียในวันเดียวกัน
การปกครอง
แก้ไครเมียมีการปกครองโดยมีรัฐสภาไครเมียเป็นนิติบัญญัติ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ส่วนประมุขขึ้นตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Crimea becomes part of vast Southern federal district of Russia" (ภาษาอังกฤษ). Ukraine Today. 28 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
- ↑ Президент Российской Федерации. Указ №849 от 13 мая 2000 г. «О полномочном представителе Президента Российской Федерации в федеральном округе». Вступил в силу 13 мая 2000 г. Опубликован: "Собрание законодательства РФ", No. 20, ст. 2112, 15 мая 2000 г. (President of the Russian Federation. Decree #849 of May 13, 2000 On the Plenipotentiary Representative of the President of the Russian Federation in a Federal District. Effective as of May 13, 2000.).
- ↑ Госстандарт Российской Федерации. №ОК 024-95 27 декабря 1995 г. «Общероссийский классификатор экономических регионов. 2. Экономические районы», в ред. Изменения №5/2001 ОКЭР. (Gosstandart of the Russian Federation. #OK 024-95 December 27, 1995 Russian Classification of Economic Regions. 2. Economic Regions, as amended by the Amendment #5/2001 OKER. ).
- ↑ "Putin reveals secrets of Russia's Crimea takeover plot" (ภาษาอังกฤษ). BBC. 9 March 2015. สืบค้นเมื่อ 3 August 2016.
Crimea was formally absorbed into Russia on 18 March, to international condemnation, after unidentified gunmen took over the peninsula.
- ↑ "Crimea Deputies Back Acting Leader Sergei Aksyonov to Head Republic – News". The Moscow Times.
- ↑ Федеральная служба государственной статистики (Federal State Statistics Service) (2004-05-21). "Территория, число районов, населённых пунктов и сельских администраций по субъектам Российской Федерации (Territory, Number of Districts, Inhabited Localities, and Rural Administration by Federal Subjects of the Russian Federation)". Всероссийская перепись населения 2002 года (All-Russia Population Census of 2002) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
- ↑ "26. Численность постоянного населения Российской Федерации по муниципальным образованиям на 1 января 2018 года". สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2019.
- ↑ "Об исчислении времени". Официальный интернет-портал правовой информации (ภาษารัสเซีย). 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 19 January 2019.
- ↑ "Order of Interior Ministry of Russia №316". Interior Ministry of Russia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-06. สืบค้นเมื่อ 11 April 2014.
- ↑ Для крымских автомобилистов приготовили новые номера. Segodnya (ภาษารัสเซีย). 2 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2015. สืบค้นเมื่อ 6 July 2015.
- ↑ 11.0 11.1 "Putin addresses Russia's parliament in Crimea". al Jazeera.
- ↑ ภาษาอย่างเป็นทางการของสหพันธ์ตามมาตรา 68.1 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
- ↑ http://en.ria.ru/russia/20140317/188525924/Russia-Recognizes-Crimeas-Independence.html
- ↑ "Ukraine 'will never accept' Crimea annexation, President says". CNN. สืบค้นเมื่อ 17 March 2014.
- ↑ "Ukraine crisis: Putin signs Russia-Crimea treaty". BBC News. สืบค้นเมื่อ 18 March 2014.
- ↑ "Kremlin: Crimea and Sevastopol are now part of Russia, not Ukraine". CNN. 18 March 2014. สืบค้นเมื่อ 18 March 2014.
- ↑ "Treaty to accept Crimea, Sevastopol to Russian Federation signed". Russia Today. March 18, 2014.
- ↑ "Парламент Крыма принял Декларацию о независимости АРК и г. Севастополя". Государственный Совет Республики Крым. 11 March 2014. สืบค้นเมื่อ 18 March 2014.