สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
นากอร์โน-คาราบัค (อังกฤษ: Nagorno-Karabakh) หรือ อาร์ทซัค (อาร์มีเนีย: Արցախ) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (อังกฤษ: Nagorno-Karabakh Republic) หรือ สาธารณรัฐอาร์ทซัค (อาร์มีเนีย: Արցախի Հանրապետություն)[5][6] เป็นสาธารณรัฐแห่งหนึ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ตั้งอยู่ในแถบเทือกเขาคอเคซัส สหประชาชาติถือว่าภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน แต่ในทางปฏิบัติ ภูมิภาคดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเชื้อสายอาร์มีเนีย สาธารณรัฐอาร์ทซัคปกครองดินแดนส่วนใหญ่ของอดีตแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัครวมกับพื้นที่ข้างเคียงทางทิศตะวันตก จึงมีพรมแดนจรดอาร์มีเนียทางทิศตะวันตก จรดอิหร่านทางทิศใต้ และจรดดินแดนที่ไม่มีข้อพิพาทของอาเซอร์ไบจานทางทิศเหนือและทิศตะวันออก[7]
สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค/ สาธารณรัฐอาร์ทซัค Արցախի Հանրապետություն (อาร์มีเนีย) Нагорно-Карабахская Республика (รัสเซีย) | |
---|---|
![]() ดินแดนที่ควบคุมโดยอาร์ทซัคอยู่ในสีเขียวเข้ม ดินแดนอ้างสิทธิอยู่ในสีเขียวอ่อน | |
สถานะ | รัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง ยอมรับโดยรัฐที่ไม่ใช่สมาชิกของสหประชาชาติ 3 ประเทศ |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | สเตพานาแกร์ต 39°52′N 46°43′E / 39.867°N 46.717°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 39°52′N 46°43′E / 39.867°N 46.717°E |
ภาษาราชการ | อาร์มีเนียa รัสเซียb[1] |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดีc |
Arayik Harutyunyan | |
Arthur Tovmasyan | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
เอกราช จากสหภาพโซเวียต | |
• สถานะปกครองตนเอง | 2 กันยายน ค.ศ. 1991[2] |
• ประกาศ | 10 ธันวาคม ค.ศ. 1991 |
ประชากร | |
• มีนาคม ค.ศ. 2021[3] ประมาณ | 120,000 |
• สำมะโนประชากร 2015[4] | 150,932 (อันดับที่ 191) |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 713 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไม่มีข้อมูล) |
• ต่อหัว | 4,803 ดอลลาร์สหรัฐ (ไม่มีข้อมูล) |
สกุลเงิน | (AMD) |
เขตเวลา | UTC+4 (เวลาอาร์มีเนีย) |
ขับรถด้าน | ขวามือ |
รหัสโทรศัพท์ | +374 47d |
รหัส ISO 3166 | AM |
โดเมนบนสุด | .am, .հայ |
|
ภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัค (ซึ่งมีชาวอาร์มีเนียอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ถูกอ้างกรรมสิทธิ์จากทั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจานและสาธารณรัฐอาร์มีเนียที่ 1 เมื่อทั้งสองประกาศเอกราชจากจักรวรรดิรัสเซียในปี พ.ศ. 2461 สงครามระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อแย่งชิงนากอร์โน-คาราบัคปะทุขึ้นในปี พ.ศ. 2463 ความขัดแย้งดังกล่าวถูกระงับไปหลังจากที่สหภาพโซเวียตสถาปนาอำนาจเหนือพื้นที่และจัดตั้งแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัคภายในสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจานในปี พ.ศ. 2466 แต่ในช่วงการล่มสลายของสหภาพโซเวียต นากอร์โน-คาราบัคกลับมาเป็นประเด็นพิพาทระหว่างอาร์มีเนียกับอาเซอร์ไบจานอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2534 การลงประชามติเอกราชในแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัคและภูมิภาคชาฮูเมียนที่อยู่ข้างเคียงนำไปสู่การประกาศเอกราช ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ในระดับสูงได้ก่อให้เกิดสงครามนากอร์โน-คาราบัคระหว่างปี พ.ศ. 2534–2537 ซึ่งจบลงด้วยข้อตกลงหยุดยิง ส่งผลให้พรมแดนต่าง ๆ มีสภาพอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ชาวสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคได้ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งกำหนดให้เพิ่มชื่อทางการของประเทศอีกชื่อหนึ่ง คือ "สาธารณรัฐอาร์ทซัค"[6]
สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคเป็นสาธารณรัฐระบอบประชาธิปไตยกึ่งประธานาธิบดี มีสภาเดียว การที่สาธารณรัฐนี้ต้องพึ่งพาอาร์มีเนียอย่างสูงแสดงให้เห็นว่าสาธารณรัฐนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาร์มีเนียโดยพฤตินัยในหลาย ๆ ทาง[8] พื้นที่ส่วนใหญ่ของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคเป็นภูเขา โดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับความสูง 1,097 เมตร (3,599 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล ประชากรส่วนใหญ่เป็นคริสต์ศาสนิกชนสังกัดคริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนีย อารามโบราณหลายแห่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นชาวอาร์มีเนียในต่างแดน เนื่องจากการเดินทางส่วนใหญ่สามารถกระทำได้เฉพาะระหว่างอาร์มีเนียกับสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคเท่านั้น
การเมืองการปกครองแก้ไข
สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี มีสภาเดียวคือสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก 33 คน โดย 22 คนมาจากการเลือกตั้งและมีวาระครั้งละ 5 ปี ส่วนอีก 11 คนมาจากการเลือกตั้งระบบสัดส่วน
พรรคการเมืองแก้ไข
ระบบพรรคการเมืองของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคเป็นระบบหลายพรรค ในปี พ.ศ. 2552 สมาคมฟรีดอมเฮาส์ (องค์การนอกภาครัฐจากสหรัฐอเมริกา) ได้จัดอันดับให้สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคเป็นประเทศที่ให้สิทธิทางการเมืองแก่พลเมืองของตนสูงกว่าอาร์มีเนียและอาเซอร์ไบจาน[9][10][11] ระบบการลงคะแนนเลือกตั้งของประเทศนี้ทำให้รัฐสภาประกอบด้วยสมาชิกจากหลากหลายพรรคการเมืองอยู่เสมอ พรรคการเมืองที่สำคัญของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคได้แก่ พรรคประชาธิปไตยอาร์ทซัค, มาตุภูมิเสรี, สหพันธ์ปฏิวัติอาร์มีเนีย (สาขาอาร์ทซัค), ขบวนการ 88 และพรรคคอมมิวนิสต์อาร์ทซัค และยังมีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด ๆ ได้รับเลือกอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2548 สมาชิก 8 คนในรัฐสภา (จากทั้งหมด 33 คน) ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใดอย่างเป็นทางการ
การแบ่งเขตการปกครองแก้ไข
สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 เขต และ 1 เมืองหลวง ได้แก่
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Парламент Карабаха признал русский язык официальным языком республики". www.rbc.ru (ภาษารัสเซีย). RBK Group. สืบค้นเมื่อ 4 August 2021.
- ↑ Zürcher, Christoph (2007). The Post-Soviet Wars: Rebellion, Ethnic Conflict, and Nationhood in the Caucasus ([Online-Ausg.]. ed.). New York: New York University Press. p. 168. ISBN 9780814797099.
- ↑ "Nikol Pashinyan, Arayik Harutyunyan chair meeting on ongoing and upcoming programs to be implemented in Artsakh". primeminister.am. The Office to the Prime Minister of the Republic of Armenia. 25 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2021.
...today most of the population - about 120,000 citizens - live in Artsakh...
- ↑ "ԼՂՀ 2015Թ. ՄԱՐԴԱՀԱՄԱՐԻ ՆԱԽՆԱԿԱՆ ՕՊԵՐԱՏԻՎ ՑՈՒՑԱՆԻՇՆԵՐԻ ՄԱՍԻՆ". STAF NKRE. 30 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2016. สืบค้นเมื่อ 30 March 2016.
- ↑ "Artsakh Votes for New Constitution, Officially Renames the Republic". Armenian Weekly. 21 February 2017.
- ↑ 6.0 6.1 "Constitution". Nagorno Karabakh Republic Ministry of Foreign Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-23. สืบค้นเมื่อ 23 July 2016.
- ↑ "Official website of the President of the Nagorno Karabakh Republic. General Information about NKR". President.nkr.am. 1 January 2010. สืบค้นเมื่อ 6 May 2012.
- ↑ Mulcaire, Jack (9 April 2015). "Face Off: The Coming War between Armenia and Azerbaijan". The National Interest.
The mostly Armenian population of the disputed region now lives under the control of the Nagorno-Karabakh Republic, a micronation that is supported by Armenia and is effectively part of that country.
- de Waal, Thomas (13 June 2016). "Nagorno-Karabakh: Crimea's doppelganger". openDemocracy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-09. สืบค้นเมื่อ 2017-03-29.
Following the Armenian victory in that conflict, confirmed by the 1994 ceasefire, Armenia has since carried out a de facto annexation of Karabakh.
- Cornell, Svante (2011). Azerbaijan Since Independence. New York: M.E. Sharpe. p. 135. ISBN 978-0-7656-3004-9.
Following the war, the territories that fell under Armenian control, in particular Mountainous Karabakh itself, were slowly integrated into Armenia. Officially, Karabakh and Armenia remain separate political entities, but for most practical matters the two entities are unified."
- de Waal, Thomas (13 June 2016). "Nagorno-Karabakh: Crimea's doppelganger". openDemocracy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-09. สืบค้นเมื่อ 2017-03-29.
- ↑ freedomhouse.org: Map of Freedom in the World เก็บถาวร 2010-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Freedom House, 2009
- ↑ freedomhouse.org: Map of Freedom in the World เก็บถาวร 2010-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Freedom House, 2009
- ↑ freedomhouse.org: Map of Freedom in the World เก็บถาวร 2011-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Freedom House, 2009
แหล่งข้อมูลอืนแก้ไข
วิกิท่องเที่ยว มีคำแนะนำการท่องเที่ยวสำหรับ Nagorno-Karabakh |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค |
- เว็บไซต์ทางการ
- กระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค
- สำนักงานของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค
- สำนักประธานาธิบดีของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค
- สื่อ
- Articles and Photography on Artsakh (Nagorno-Karabakh) from UK Photojournalist Russell Pollard
- Road to Artsakh เก็บถาวร 2021-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Karabakh-Open
- "Azat Artsakh", Artsakh Government's newspaper
- อื่น ๆ
บทความเกี่ยวกับประเทศ ดินแดน หรือเขตการปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |