ความตกลงหยุดยิงนากอร์โน-คาราบัค พ.ศ. 2563
ความตกลงหยุดยิงนากอร์โน-คาราบัค พ.ศ. 2563 เป็นความตกลงสงบศึกซึ่งยุติสงครามนากอร์โน-คาราบัค พ.ศ. 2563 ได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน โดยอิลฮัม แอลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน, นีกอล พาชินยัน นายกรัฐมนตรีอาร์มีเนีย และวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย และยุติการสู้รบทั้งหมดในภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคตั้งแต่เวลา 00:00 น. ของวันที่ 10 พฤศจิกายน ตามเวลามอสโก[1][2] อารายิก ฮารุทยุนยัน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (อาร์ทซัค) ซึ่งประกาศตนเองเป็นเอกราชก็ตกลงที่จะยุติการสู้รบเช่นกัน[3]
คำแถลงของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอาร์มีเนีย และประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย | |
---|---|
ปูตินและแอลีเยฟลงนามในความตกลงผ่านการประชุมทางวีดิทัศน์ | |
ประเภท | การสงบศึก |
บริบท | สงครามนากอร์โน-คาราบัค พ.ศ. 2563 |
วันลงนาม | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 |
ที่ลงนาม | มอสโก |
วันมีผล | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 |
ผู้ไกล่เกลี่ย | |
ผู้ลงนาม |
|
ภาคี |
ตามความตกลงดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนเชลยสงครามและร่างผู้เสียชีวิต นอกจากนี้กองกำลังอาร์มีเนียจะถอนตัวออกจากดินแดนรอบนากอร์โน-คาราบัคที่กลุ่มชาติพันธุ์อาร์มีเนียยึดครองภายในวันที่ 1 ธันวาคม ทหารรักษาสันติภาพ 2,000 นายจากกองกำลังภาคพื้นดินรัสเซียจะถูกส่งไปประจำการในภูมิภาคนี้เป็นเวลาอย่างน้อยห้าปีเพื่อคุ้มครองฉนวนลาชึนซึ่งเชื่อมระหว่างอาร์มีเนียกับภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัค โดยอาเซอร์ไบจานเปิดเผยว่ากองกำลังตุรกีจะมีส่วนร่วมในกระบวนการรักษาสันติภาพด้วย นอกจากนี้ อาเซอร์ไบจานจะมีเส้นทางเข้าสู่ดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันผ่านทางดินแดนอาร์มีเนียใกล้กับชายแดนตุรกีและอิหร่าน โดยกองกำลังรัสเซียจะคุ้มครองถนนสายต่าง ๆ ที่เชื่อมระหว่างอาเซอร์ไบจานกับนาคีชีวัน[4][5][6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Путин выступил с заявлением о прекращении огня в Карабахе". RIA Novosti (ภาษารัสเซีย). 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 9 November 2020.
- ↑ "Пашинян заявил о прекращении боевых действий в Карабахе". RIA Novosti (ภาษารัสเซีย). 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 9 November 2020.
- ↑ "Президент непризнанной НКР дал согласие закончить войну". RIA Novosti (ภาษารัสเซีย). 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 9 November 2020.
- ↑ "Пашинян заявляет о подписании мирного соглашения". BBC Russian Service (ภาษารัสเซีย). 10 November 2020. สืบค้นเมื่อ 10 November 2020.
- ↑ "Armenia, Azerbaijan and Russia sign Nagorno-Karabakh peace deal". BBC News. 10 November 2020. สืบค้นเมื่อ 10 November 2020.
- ↑ "Azerbaijan, Armenia sign peace deal to end conflict". GulfToday. 2020-11-10. สืบค้นเมื่อ 2020-11-10.