ดาวเทียมตงฟังหง 1

ตงฟังหง 1 (จีนตัวย่อ: 东方红一号; จีนตัวเต็ม: 東方紅一號; พินอิน: Dōngfānghóng Yīhào; แปลตรงตัว: "บูรพาแดงหนึ่ง") ในโลกตะวันตกยังเป็นที่รู้จักกันคือ จีน 1 หรือ พีอาร์ซี 1 เป็นดาวเทียมอวกาศดวงแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน(PRC) ซึ่งเปิดตัวได้อย่างประสบความสำเร็จ เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1970 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดาวเทียมอวกาศตงฟังหงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ"ระเบิดสองลูก หนึ่งดาวเทียม" ด้วยน้ำหนักประมาณ 173 กิโลกรัม(381 ปอนด์) ซึ่งหนักกว่าดาวเทียมดวงแรกของประเทศอื่น ดาวเทียมได้ส่งคลื่นสัญญาณวิทยุซึ่งได้กระจายเสียงเพลงชาติของชื่อเดียวกันโดยพฤตินัย การกระจายเสียงได้กินเวลา 20 วันในขณะที่อยู่ในวงโคจร

ตงฟังหง 1
รูปแบบจำลองดาวเทียม ตงฟังหง 1
รายชื่อเก่าบูรพาแดง 1
จีน 1
พีอาร์ซี 1
ประเภทภารกิจการสาธิตเทคโนโลยี
ผู้ดำเนินการCAST
COSPAR ID1970-034A
SATCAT no.04382
ระยะภารกิจ20 วัน (ประสบความสำเร็จ)
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิตCASC
มวลขณะส่งยาน173 kg (381 lb) [1]
ขนาด1 m (3 ft 3 in) of diameter
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น24 เมษายน ค.ศ. 1970, 13:35:45 GMT[2]
จรวดนำส่งChang Zheng 1
ฐานส่งJiuquan, LA-5020
ผู้ดำเนินงานChina Academy of Launch Vehicle Technology
เริ่มปฎิบัติงาน24 เมษายน ค.ศ. 1970
สิ้นสุดภารกิจ
ติดต่อครั้งสุดท้าย14 พฤษภาคม ค.ศ. 1970
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงวงโคจรค้างฟ้า[1]
ระบบวงโคจรวงโคจรระยะปานกลาง
ระยะใกล้สุด441 km (274 mi)
ระยะไกลสุด2,286 km (1,420 mi)
ความเอียง68.42°
คาบการโคจร114.09 minutes
 

มันได้รับการพัฒนาภายใต้การดูแลของ Qian Xuesen (Tsien Hsue-shen) คณบดีแห่งสถาบันเทคโนโลยีอวกาศของจีน(CAST) ในเวลาเดียวกัน มีการสร้างดาวเทียมที่เหมือนกันทั้งหมดห้าดวง ดาวเทียมดวงแรกได้เปิดตัวอย่างประสบความสำเร็จ สถาบันศึกษาได้จัดทำ"แผนสามดาวเทียม" ซึ่งประกอบไปด้วยตงฟังหง 1 ดาวเทียมได้กลับเข้าไปใหม่ และดาวเทียมสื่อสารในวงโคจรพ้องคาบโลก Sun Jiadong มีหน้าที่รับผิดชอบในเทคโนโลยีตงฟังหง 1 ใน ค.ศ. 1967 Dang Hongxin ได้คัดเลือกเมมเบรนเสาอากาศทองแดงซึ่งได้ช่วยแก้ไขปัญหาในการกระจายเสียงบนเสาอากาศแบบคลื่นสั้นพิเศษ ระหว่าง 100 °C และ −100 °C วิศวรกรได้ติดตั้งเครื่องเล่นเพลง "ตงฟางหง"(บูรพาแดง) บนดาวเทียม


อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Display: PRC 1 (1970-034A)". NASA. 22 December 2021. สืบค้นเมื่อ 28 December 2021.   บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  2. McDowell, Jonathan (15 December 2021). "Launch Log". Jonathan's Space Report. สืบค้นเมื่อ 28 December 2021.