เอฟเอ็น พี90
เอฟเอ็น พี90 ยังเป็นที่รู้จักกันคือ เอฟเอ็น โปรเจ็กต์ 1990 พีดีดับเบิลยูเอส เป็นปืนกลมือขนาดกะทัดรัดที่ถูกออกแบบและผลิตขึ้นโดยบริษัทเอฟเอ็น เฮอร์สตอล ประเทศเบลเยียม[3] มันถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการเรียกร้องของเนโทในการเข้ามาแทนที่อาวุธปืนที่มีกระสุนขนาด 9x19 ม.ม.พาราเบลลลัม พี90 ได้รับการออกแบบให้เป็นอาวุธปืนที่มีขนาดกระทัดรัด แต่แรงยิงที่ทรงพลังสำหรับพลขับยานพาหนะ ผู้ควบคุมในฐานะพลประจำอาวุธปืน บุุคคลากรเพื่อให้การสนับสนุน หน่วยรบพิเศษ และกลุ่มต่อต้านการก่อการร้าย มักจะถูกเรียกกันว่า อาวุธป้องกันตัวขนาดกะทัดรัด[4][5]
พี90 | |
พี90 | |
---|---|
ชนิด | อาวุธป้องกันประจำบุคคล |
สัญชาติ | เบลเยียม |
สมัย | |
การใช้งาน | อาวุธป้องกันประจำบุคคล |
เป้าหมาย | บุคคล |
เริ่มใช้ | พ.ศ. 2537-ปัจจุบัน |
ช่วงผลิต | พ.ศ. 2536-ปัจจุบัน |
ช่วงการใช้งาน | พ.ศ. 2537-ปัจจุบัน |
ผู้ใช้งาน | {{{user}}} |
สงคราม | |
ขนาดลำกล้อง | |
ระยะครบรอบเกลียว | {{{Rate_of_twist}}} |
ความยาวลำกล้อง | 10.4 นิ้ว (263 ม.ม.)[1] 10.4 นิ้ว (256.5 ม.ม.) (รุ่นใหม่) |
กระสุน | 5.7x28 ม.ม.[2] |
ซองกระสุน | {{{feed}}} |
ระบบปฏิบัติการ | {{{action}}} |
อัตราการยิง | 900 นัดต่อนาที |
ความเร็วปากลำกล้อง | 715 เมตรต่อวินาที (SS190) 850 เมตรต่อวินาที (SS90) |
ระยะยิงหวังผล | {{{Effective_range}}} |
ระยะยิงไกลสุด | {{{Maximum_range}}} |
น้ำหนัก | 2.54 กิโลกรัม ไม่ใส่แมกกาซีน 3.2 กิโลกรัมพร้อมแมกกาซีน[1] |
ความยาว | 19.7 นิ้ว (500 ม.ม.) |
แบบอื่น |
ด้วยการออกแบบในการรวมตัวกันกับปืนพกรุ่นเอฟเอ็น ไฟว์-เซเว่น และกระสุน เอฟเอ็น 5.7×28มม.[6] การพัฒนาอาวุธนี้ได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1986 และเริ่มการผลิตในปี ค.ศ. 1990 (ซึ่งคำว่า "90" เป็นชื่อที่ถูกตั้งขึ้น[7]) ต่อจากนั้นมากระสนุขนาด 5.7×28มม. ที่ถูกออกแบบใหม่และสั้นลง[8] รุ่นที่ถูกดัดแปลงของพี90 ด้วยตลับกระสุนที่สามารถนำกระสุนใหม่มาใช้ได้ถูกนำเสนอในปี ค.ศ. 1993 และปืนพกรุ่นเอฟเอ็น ไฟว์-เซเว่นได้ถูกนำเสนอในภายหลังในฐานะอาวุธคู่ใจโดยใช้กระสุนขนาด 5.7×28มม. เช่นกัน[9]
ด้วยลักษณะการออกแบบบุลพัปขนาดกะทัดรัดพร้อมด้วยกล้องเล็งสะท้อนภาพและการถือควบคุมปืนที่ถนัดทั้งสองข้างได้อย่างเต็มที่ พี90 เป็นอาวุธปืนที่สุดแหวกแนวที่มีรูปลักษณ์ล้ำยุค[10] การออกแบบของมันเป็นการผสมผสานนวัตกรรมหลายอย่าง เช่น แม็กกาซีนด้านบนที่เป็นเอกลักษณ์ และกระสุนขนาดเล็กของเอฟเอ็น กระสุนความเร็วสูง ขนาด 5.7×28มม.[11] คุณสมบัตินอกเหนือจากนั้นในตัว ได้แก่ เลเซอร์ที่สามารถมองเห็นได้ง่ายหรือเลเซอร์อินฟราเรด และแหล่งกำเนิดเรืองแสงทริเธียม
ปัจจุบัน พี90 ได้เข้าประจำการในกองกำลังทหารและกองกำลังตำรวจในจำนวนกว่า 40 ประเทศ เช่น ออสเตรีย บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส กรีซ อินเดีย มาเลเซีย โปแลนด์ และสหรัฐอเมริกา[12] ในสหรัฐอเมริกา พี90 ได้ถูกใช้งานด้วยหน่วยงานบังคับใช้กฏหมายกว่า 200 หน่วย รวมทั้งหน่วยงานลับสหรัฐ (U.S. Secret Service)[13] ในขณะที่ได้มีการพัฒนาและวางตลาดขายในช่วงแรกที่เป็นพีดีดัมเบิลยู แต่ยังสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นปืนกลมือหรือปืนไรเฟิลจู่โจมขนาดกะทะรัด[14] ในสหรัฐอเมริกา พี90 ระบบเลือกยิงแบบมาตรฐานของพี90 ได้ถูกจำกัดไว้สำหรับทหาร ผู้บังคับใช้กฏหมาย หรือผู้ถือใบอนุญาตผลิตอาวุธปืนของรัฐบาลกลาง(Federal Firearms License- FFL) ประเภทผู้เสียภาษีที่ประกอบอาชีพพิเศษ (Special Occupational Tax- SOT) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ปืนรุ่นกึ่งอัตโนมัติได้ถูกนำเสนอให้กับผู้ใช้พลเรือนในชื่อว่า พีเอ็ส90[15]
การพัฒนา
แก้พี90 ถูกสร้างขึ้นระหว่างปีพ.ศ. 2529-2530 ในเฮอร์สตอลประเทศเบลเยียม เป้าหมายของมันคือการเข้ามาแทนที่ปืนพกและคาร์บินซึ่งใช้โดยทหารและผู้รักษากฎหมาย เพราะว่าอาวุธเหล่านั้นไม่มีประสิทธิภาพพอในการจัดการเป้าหมายที่สวมเสื้อเกราะกันกระสุน[16]
ปืนถูกออกแบบให้ใช้กระสุนใหม่ขนาด 5.7x28ม.ม.ซึ่งมีการทะลุทะลวงที่ดีกว่า ระยะที่ไกล และการเคลื่อนที่ที่แบนราบมากกว่าปืนพกคาลิเบอร์ที่ใช้กระสุนนาโต้ขนาด 9x19 ม.ม.พาราเบลลลัม เริ่มแรกนั้นอาวุธได้ใช้กระสุนขนาด 5.7x28 ม.ม.และกระสุนอีกหลายชนิด ต้นแบบอันแรกที่ใช้กระสุนนี้สร้างเสร็จในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2529 และปืนกลมือมากกว่า 3,000 กระบอกถูกผลิตในรูปแบบนี้จนถึงปีพ.ศ. 2536 ด้วยการผลิตระดับต่ำ
ในขณะเดียวกันเอฟเอ็นได้ทำการแก้ไขกระสุนพร้อมความตั้งใจที่จะใช้มันในปืนพกกึ่งอัตโนมัติรุ่นเอฟเอ็น ไฟว์-เซเว่น กระสุนใหม่นี้มีชื่อว่าเอสเอส190 ที่มีเหล็กและอะลูมิเนียมเป็นตัวเจาะทะลุ หัวกระสุนอื่นๆ หลายแบบยังได้ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับกระสุนใหม่ พี90 รุ่นที่ดัดแปลงแล้วได้ใช้กระสุนแบใหม่ซึ่งปราฎตัวในปีพ.ศ. 2536
ประเทศผู้ใช้งาน
แก้- ออสเตรเลีย: กองทัพและคอมมานโดของออสเตรเลีย
- อาร์เจนตินา: หน่วยยุทธวิธีและหน่วยคอมมานโด
- บังกลาเทศ: หน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้ายและกองกำลังพิเศษ
- เบลเยียม: หน่วยตำรวจกลางพิเศษ[17] และกองกำลังพิเศษ
- แคนาดา: ใช้โดยตำรวจในโนวา สโคเทียและกำลังรบเฉพาะกิจร่วมที่ 2
- ชิลี: กองทัพบกและนาวิกโยธินชิลี
- ไซปรัส: กองกำลังรักษาดินแดนไซปรัสได้ซื้อพี90 จำนวน 350 กระบอกเมื่อปีพ.ศ. 2543 เพื่อใช้กับหน่วยรบพิเศษ ในรายการสั่งซื้อรวมทั้งที่เก็บเสียง เลเซอร์ชี้เป้า และไฟฉายยุทธวิธี[18]
- ฝรั่งเศส: ใช้โดยบางหน่วยพิเศษภายในกองทัพบกของฝรั่งเศส อย่างนาวิกโยธินและนาวิกโยธินขนส่งทางอากาศ[19] นอกจากนั้นยังใช้โดยจีไอจีเอ็น[20] และหน่วยเรด (Recherche Assistance Intervention Dissuasion, RAID) ของตำรวจ
- เยอรมนี: ใช้โดยตำรวจกลางที่ทำหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญ
- กรีซ: ยามชายฝั่งและหน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้าย[21]
- อินเดีย: กลุ่มป้องกันพิเศษ[22]
- ไอร์แลนด์: กองทหารพรานไอริช
- อิตาลี: ใช้โดยหน่วยจีไอเอส (Gruppo di Intervento Speciale, GIS) เอ็นโอซีเอส (Nucleo Operativo Centrale di Sicurezza, NOCS) และคอมซูบิน (COMSUBIN)
- เลบานอน: ใช้โดยลิพับลิกันการ์ด (Republican Guard Brigade) และหน่วยรักษาความปลอดภัย[ต้องการอ้างอิง]
- มาเลเซีย: กองทัพเรือและหน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้ายของมาเลเซีย[
- เม็กซิโก: กองทัพเรือและหน่วยรบพิเศษของแมกซิโก
- โมร็อกโก: หน่วยจีไอเอสจีอาร์ (Groupement d'Intervention et de Sécurité de la Gendarmerie Royale)
- เนเธอร์แลนด์: ใช้โดยหน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้าย
- ปากีสถาน: กองทัพบก หน่วยรบพิเศษ[23] และหน่วยองครักษ์ของปากีสถาน
- ปานามา: กองทัพของปานามา
- เปรู: หน่วยรบพิเศษและกองทัพเรือเปรู
- โปแลนด์: ใช้อย่างจำกัดโดยหน่วยกรอม (GROM)[24]
- โปรตุเกส: หน่วยรบพิเศษกองทัพเรือและหน่วยรบพิเศษจีโออี (Grupo de Operações Especiais)
- ซาอุดีอาระเบีย: กองกำลังฉุกเฉินพิเศษ
- สิงคโปร์: หน่วยคอมมานโดของสิงคโปร์
- สเปน: หน่วยจีอีโอของตำรวจสเปน (Grupo Especial de Operaciones)[25] นอกจากนั้นยังใช้โดยกองกำลังติดอาวุธอย่างหน่วยอีเอดีเอ (Escuadron de Apoyo al Despliegue Aereo) และหน่วยอีซีเอพีเอซี (Escuadron de Zapadores Paracaidistas)
- ไทย: หน่วยรบพิเศษของกองทัพไทย
- บริเตนใหญ่: ใช้โดยตำรวจในเวสท์มิดแลนด์ที่สนามบินเบอร์มิงแฮมและสนามบินอื่นๆ
- สหรัฐ: ใช้โดยองค์กรลับ หน่วยป้องกัน หน่วยผู้อพยพและตรวจสัญชาติ และหน่วยงานรักษากฎหมายอื่นๆ โดยส่วนมากเป็นหน่วยสวาท
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Military Small Arms of the 20th Century, Hogg, Ian, Weeks, John, pages 101-102
- ↑ "P90 SUBMACHINE GUN — FNH USA TACTICAL SYSTEMS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2009-04-17.
- ↑ Miller, David (2001). The Illustrated Directory of 20th Century Guns. London: Salamander Books Ltd. ISBN 9781840652451.
- ↑ Miller, David (2001). The Illustrated Directory of 20th Century Guns. London: Salamander Books Ltd. ISBN 9781840652451.
- ↑ Oliver, David (2007). "In the Line of Fire". Global Defence Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2006. สืบค้นเมื่อ October 19, 2009.
- ↑ Francotte, Auguste; Claude, Gaier; Robert, Karlshausen, บ.ก. (January 2008). Ars Mechanica – The Ultimate FN Book. Vottem: Herstal Group. ISBN 9782874158773.
- ↑ Francotte, Auguste; Claude, Gaier; Robert, Karlshausen, บ.ก. (January 2008). Ars Mechanica – The Ultimate FN Book. Vottem: Herstal Group. ISBN 9782874158773.
- ↑ Díez, Octavio (2000). Armament and Technology: Handguns. Barcelona: Lema Publications, S.L. ISBN 9788484630135.
- ↑ Watters, Daniel E. "The 5.56 × 45mm Timeline: 1990–1994". The Gun Zone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2010. สืบค้นเมื่อ December 23, 2009.
- ↑ Kevin, Dockery (2007). Future Weapons. New York: Berkley Trade. ISBN 9780425217504.
- ↑ Kevin, Dockery (2007). Future Weapons. New York: Berkley Trade. ISBN 9780425217504.
- ↑ Tirans, Ivars (2009). "Baltic Defence Research and Technology 2009 Conference Proceedings". Military Review: Scientific Journal for Security and Defence (ISSN 1407-1746), Nr. 3/4 (132/133), p 103.
- ↑ White, Tim (2009). FN PS90 Product Video. FNH USA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (f4v)เมื่อ 2011-09-27.
- ↑ Kevin, Dockery (2007). Future Weapons. New York: Berkley Trade. ISBN 9780425217504.
- ↑ Detty, Mike (October 2008). "FNH 5.7×28mm Dynamic Duo". Special Weapons For Military & Police. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2010. สืบค้นเมื่อ November 21, 2009.
- ↑ Doc Random (16 March 2008). "An In-Depth Look at the FN PS90". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-28. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18.
- ↑ Vortisch, Hans Christian (2001). "Foreign Agencies". FortuneCity. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-11-24. สืบค้นเมื่อ 2008-10-28.
- ↑ Gourley, S.; Kemp, I (November 2003). "The Duellists". Jane's Defence Weekly (ISSN: 02653818), Volume 40 Issue 21, pp 26-28.
- ↑ "Terre - P90" (ภาษาฝรั่งเศส). Defense.gouv.fr. สืบค้นเมื่อ 2009-03-13.
- ↑ "Nouvelles tenues et nouveaux moyens pour le GIGN". Les Forces Speciales en Action... (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-26. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
- ↑ Milosevic, Milan (2005). "Trojan Horse for Terrorists". Kalibar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-03. สืบค้นเมื่อ 2009-04-04.
- ↑ Unnithan, Sandeep (2008-08-22). "If looks could kill". India Today. สืบค้นเมื่อ 2009-04-04.
- ↑ "The Special Services Group". Haider, Shahnam. 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-04-04.
- ↑ Wilk (REMOV), Remigiusz. "Nowe gromy GROM". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-26.
- ↑ "Web Del Grupo Especial De Operaciones (G.E.O.)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-06. สืบค้นเมื่อ 2009-04-17.