การล้อม
การล้อม (อังกฤษ: siege) เป็นการปิดล้อมทางทหารของเมือง หรือป้อมปราการ โดยมีเจตนาที่จะพิชิตโดยการพร่ากำลัง หรือการจู่โจมที่เตรียมไว้เป็นอย่างดี (การล้อมในภาษาอังกฤษคือ siege ซึ่งมาจากภาษาละติน: sedere, แปลตรงตัว 'นั่ง'[1]) สงครามปิดล้อมเป็นรูปแบบหนึ่งของความขัดแย้งที่ต่อเนื่องและมีความรุนแรงต่ำ มีลักษณะเฉพาะโดยฝ่ายหนึ่งมีตำแหน่งที่แน่นหนา, อยู่กับที่ และตั้งรับ ดังนั้น โอกาสในการเจรจาระหว่างคู่ต่อสู้จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เนื่องจากความได้เปรียบในบริเวณใกล้เคียงและความผันผวนสามารถส่งเสริมให้มีการเจรจาต่อรอง ทั้งนี้ ศิลปะในการดำเนินและต่อต้านการล้อมเรียกว่าสงครามปิดล้อม, ซีจคราฟต์ (siegecraft) หรือโพลีออร์เซติกส์ (poliorcetics)
การล้อมเกิดขึ้นเมื่อผู้โจมตีพบเมืองหรือป้อมปราการที่ไม่สามารถเข้ายึดได้ง่ายจากการจู่โจมอย่างรวดเร็ว และไม่ยอมจำนน การล้อมเกี่ยวข้องกับการล้อมเป้าหมายเพื่อป้องกันการจัดหาเสบียงและการเสริมกำลังหรือหลบหนีของกองกำลัง (กลยุทธ์ที่เรียกว่า "อินเวสต์เมนต์"[2]) สิ่งนี้มักจะควบคู่ไปกับความพยายามที่จะลดป้อมปราการโดยใช้เครื่องจักรปิดล้อม, การบอมบาร์ดด้วยปืนใหญ่กองทหารปืนใหญ่, การขุด (เรียกอีกอย่างว่าการขุดสนามเพลาะ) หรือใช้การเสแสร้ง หรือการมีเล่ห์เพทุบายต่อฝ่ายตั้งรับทางอ้อม
ส่วนความล้มเหลวของผลการทหาร การล้อมสามารถตัดสินได้โดยความอดอยาก, ความกระหาย หรือโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งอาจทำให้ผู้โจมตีหรือผู้ต้านทานการรุกต้องทุกข์ทรมาน อย่างไรก็ตาม การล้อมรูปแบบนี้อาจใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของที่เก็บอาหารในตำแหน่งที่เสริมกำลังไว้
กองกำลังจู่โจมสามารถล้อมบริเวณที่ถูกปิดล้อม ซึ่งก็คือการสร้างแนวกำแพงดิน อันประกอบด้วยเชิงเทินและคูน้ำล้อมรอบ ในระหว่างกระบวนการสร้างแนวสนามเพลาะล้อม กองกำลังจู่โจมสามารถถูกกำหนดโดยกองกำลังอื่น ซึ่งเป็นพันธมิตรของสถานที่ที่ถูกปิดล้อม เนื่องจากต้องใช้เวลานานมากในการบังคับให้ยอมจำนน ส่วนวงแหวนป้องกันของป้อม ด้านนอกวงแหวนของป้อมที่สร้างแนวสนามเพลาะล้อม ที่เรียกว่าคอนทราวัลเลชัน บางครั้งก็ใช้เพื่อป้องกันผู้โจมตีจากภายนอกเช่นกัน
เมืองโบราณในตะวันออกกลางแสดงหลักฐานทางโบราณคดีของกำแพงเมืองที่มีป้อมปราการ ส่วนในช่วงยุครณรัฐของจีนโบราณ มีหลักฐานทั้งที่เป็นต้นฉบับและทางโบราณคดีของการล้อมที่ยืดเยื้อ ตลอดจนเครื่องปิดล้อมซึ่งใช้กับผู้พิทักษ์กำแพงเมือง นอกจากนี้ เครื่องปิดล้อมยังเป็นสิ่งที่ทำสืบต่อกันมาของกรีก-โรมัน ครั้นระหว่างสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสมัยใหม่ตอนต้น การทำสงครามปิดล้อมมีอิทธิพลเหนือการทำสงครามในทวีปยุโรป ส่วนเลโอนาร์โด ดา วินชี ได้มีชื่อเสียงจากการออกแบบป้อมสนามมากพอ ๆ กับงานศิลปะของเขา
โดยทั่วไปแล้ว การทัพในยุคกลางได้รับการออกแบบมาโดยมีการล้อมอย่างต่อเนื่อง ส่วนในยุคนโปเลียน การใช้ปืนใหญ่ที่มีพลังมากขึ้นทำให้ความหมายของป้อมสนามลดลง ครั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความสำคัญของการล้อมแบบคลาสสิกได้ลดลง ด้วยการถือกำเนิดของการสงครามเคลื่อนที่ ฐานที่มั่นที่มีป้อมปราการเพียงแห่งเดียวไม่ชี้ขาดอย่างที่เคยเป็นมาอีกต่อไป แม้ว่าการปิดล้อมแบบดั้งเดิมยังคงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยเหมือนเมื่อก่อนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการรบ โดยหลักแล้วเป็นความง่ายในการส่งกำลังทำลายล้างจำนวนมากไปยังเป้าหมายอยู่กับที่ การล้อมสมัยใหม่มักเป็นผลมาจากสถานการณ์การจับกุมเชลยที่มีขนาดเล็กกว่า, กลุ่มติดอาวุธ หรือสถานการณ์การขัดขืนการจับกุมอย่างสุดขั้ว
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ "Definition of SIEGE". www.merriam-webster.com.
- ↑ "Definition of INVEST". www.merriam-webster.com.
อ้างอิง
แก้- Alchon, Suzanne Austin (2003). A pest in the land: new world epidemics in a global perspective. University of New Mexico Press. p. 21. ISBN 0-8263-2871-7.
- Baldock, Thomas Stanford (1809). Cromwell as a Soldier. K. Paul, Trench, Trübner & Company. pp. 515–520.
- Beevor, Antony (2002). Berlin: The Downfall 1945. Viking-Penguin Books. ISBN 0-670-88695-5.
- Firth, C. H. (1902). Cromwell's Army: A History of the English Soldier During the Civil Wars, the Commonwealth and the Protectorate. Sussex: Methurn & Company. p. 29.
- Ebrey, Walthall, Palais (2006). East Asia: A Cultural, Social, and Political History. Boston: Houghton Mifflin Company.
- Fletcher, Banister; Cruickshank, Dan (1996). Sir Banister Fletcher's A History of Architecture (20th ed.). Architectural Press. p. 20. ISBN 0-7506-2267-9.
- Grousset, René (1970). The Empire of the Steppes: A History of Central Asia. Rutgers University Press. p. 362. ISBN 0-8135-1304-9.
- Hoskin, John, Carol Howland (2006). Vietnam. New Holland Publishers. p. 105. ISBN 978-1-84537-551-5.[ลิงก์เสีย]
- Stewart, William (1998). Dictionary of images and symbols in counselling (1st ed.). Jessica Kingsley. p. 105. ISBN 1-85302-351-5.
- Morocco, John (1984). Thunder from Above: Air War, 1941–1968. Boston: Boston Publishing Company.
- Needham, Joseph (1986). Science and Civilization in China. Vol. 4. Taipei: Caves Books Ltd.
- Needham, Joseph (1986). Science and Civilization in China. Vol. 5. Taiepi: Caves Books Ltd.
- Needham, Joseph (1986). Science and Civilization in China. Vol. 5. Taipei: Caves Books Ltd.
- Reynolds, Francis Joseph; Churchill, Allen Leon; Miller, Francis Trevelyan (1916). The story of the great war: history of the European War from official sources; complete historical records of events to date. P.F. Collier & Son. p. 406.
- Roland, Alex (1992). "Secrecy, Technology, and War: Greek Fire and the Defense of Byzantium, Technology and Culture". Technology and Culture. 33 (4): 655–679. doi:10.2307/3106585. JSTOR 3106585.
- Sellman, R. R. (1954). Castles and Fortresses. Methuen.
- Stearns, Peter N. (2001). The Encyclopedia of World History: ancient, medieval, and modern (6th ed.). Houghton Mifflin Books. p. 17. ISBN 0-395-65237-5.
- Symonds, Richard (1859). Long, Charles Edward (บ.ก.). Diary of the Marches of the Royal Army During the Great Civil War. Works of the Camden Society. Vol. 74. The Camden Society. p. 270.
- Townshend, Charles (2000). The Oxford History of Modern War. Oxford University Press. pp. 211, 212. ISBN 0-19-285373-2.
- Turnbull, Stephen R. (2002). Siege Weapons of the Far East. Oxford: Osprey Publishing Ltd.
- Wheelis, M. (2002). "Biological warfare at the 1346 siege of Caffa". Emerg Infect Dis. Center for Disease Control. 8 (9): 971–975. doi:10.3201/eid0809.010536. PMC 2732530. PMID 12194776.
- Windrow, Martin (2005). The Last Valley: Dien Bien Phu and the French defeat in Vietnam. London: Cassell.
อ่านเพิ่ม
แก้- Duffy, Christopher (1996) [1975]. Fire & Stone: The Science of Fortress Warfare (1660–1860) (2nd ed.). New York: Stackpole Books.
- Duffy, Christopher (1996). Siege Warfare: Fortress in the Early Modern World, 1494–1660. Routledge and Kegan Paul.
- Duffy, Christopher (1985). Siege Warfare, Volume II: The Fortress in the Age of Vauban and Frederick the Great. London: Routledge and Kegan Paul.
- Garlan, Yvon (1974). Recherches de poliorcétique grecque (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: De Boccard.
- Lynn, John A. (1999). The Wars of Louis XIV. Pearson. ISBN 0582056292.
- May, Timothy. (27 June 2004). "Mongol Arms". Explorations in Empire, Pre-Modern Imperialism Tutorial: the Mongols. University of Wisconsin-Madison. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2008.
- Ostwald, Jamel (2007). Vauban Under Siege: Engineering Efficiency and Martial Vigor in the War of the Spanish Succession. History of Warfare. Vol. 41 (illustrated ed.). BRILL. ISBN 978-90-04-15489-6.
ประวัติศาสตร์นิพนธ์
- Bachrach, Bernard S (1994). "Medieval siege warfare: a reconnaissance". Journal of Military History. 58 (1): 119–133. doi:10.2307/2944182. JSTOR 2944182.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Native American Siege Warfare.
- Siege Kits
- Scenes of Siege Warfare
- Three ancient Egyptian Sieges: Megiddo, Dapur, Hermopolis
- The Siege Of The City เก็บถาวร 30 กรกฎาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Biblical perspectives.
- Secrets of Lost Empires: Medieval Siege (PBS) Informative and interactive webpages about medieval siege tactics.